เมนู

ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล สวยอย่างไทยไม่รั่วซึม

หลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล

บ้านสไตล์โคโลเนียลกับวิถีความเป็นไทย เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ยุคสมัยนั้นชาวยุโรปเริ่มเข้ามาทำการค้าขาย  เราจึงเห็นชัดได้ว่าประเทศแถบเอเชียหลาย ๆ ประเทศได้รับอิทธิพลในงานสถาปัตยกรรมจากยุโรป และปัจจุบันสถาปัตยกรรมเก่าแก่เหล่านี้ ยังมีให้เห็นตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย กลายเป็นอีกหนึ่งสไตล์บ้านที่ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

สนับสนุนโดย : SCG Roof Service
ผู้เขียน : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์

หลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล

ลักษณะบ้านสไตล์โคโลเนียลในไทย มีการผสมผสานงานสถาปัตยกรรมร่วมกันเพื่อให้สไตล์ของบ้านสามารถเข้ากับชีวิตความเป็นอยู่และสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างไทยได้ เป็นสไตล์ที่ให้ความคลาสสิกอย่างโรแมนติก โดยซ่อนความอ่อนโยนไว้อย่างประณีตผ่านการเลือกโทนสีอ่อนหรือพาสเทล การตกแต่งภายในจะมุ่งเน้นเฟอร์นิเจอร์เก่า งานไม้ ของโบราณ ผนังภายนอกกรุด้วยงานไม้ซ้อนเกล็ดดูอบอุ่นเป็นธรรมชาติ และส่วนที่ยากที่สุดคืองานหลังคา โดยสไตล์โคโลเนียลจะให้ความสำคัญกับงานหลังคามากเป็นพิเศษ อีกทั้งหากไม่ติดตั้งด้วยวิธีการที่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดปัญหาภายหลังได้ครับ

เอกลักษณ์หลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล

1.รูปทรงหลังคาสไตล์โคโลเนียล

นี่อาจจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้บ้านสไตล์โคโลเนียลได้รับความนิยมในประเทศไทย เนื่องด้วยรูปทรงหลังคาเป็นรูปทรงปั้นหยาและหลังคาจั่วเช่นเดียวกับบ้านเรือนไทย หรือบางหลังนำหลังคาปั้นหยาและหลังคาจั่วมาผสมกัน โดยรูปทรงหลังคาดังกล่าวมีโถงหลังคาที่สูงโปร่ง จึงเหมาะสมกับลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้นแบบไทย แต่จำเป็นต้องประยุกต์ให้มีชายคายื่นยาวกว่าโซนยุโรป เนื่องด้วยประเทศไทยมีฝนตกชุกและลมกระโชกแรงกว่ายุโรป หากชายคาสั้นจะส่งผลให้ฝนสาดเข้าบ้านได้ครับ

2.กระเบื้องหลังคา

งานกระเบื้องที่เหมาะกับสไตล์โคโลเนียลแบ่งเป็น 2 แนวทาง หากเป็นสไตล์โคโลเนียลย้อนยุคสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมใช้กระเบื้องว่าว “สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด” สีขาวหรือเทาอ่อน แต่หากเป็นโคโลเนียลประยุกต์สมัยใหม่ มีการผสมผสานความโมเดิร์นที่เรียบง่ายเพิ่มเข้ามา สามารถใช้กระเบื้องคอนกรีต รุ่นซีแพคแบบลอน หรือรุ่นแผ่นเรียบได้เช่นกันครับ ด้านสีสันของกระเบื้องจะขึ้นอยู่กับโทนสีหลักของบ้านหลังนั้น ๆ ดังนั้น การเลือกวัสดุลายกระเบื้องหลังคาจึงต้องพิจารณาก่อนว่า อยากได้โคโลเนียลในรูปแบบหรือยุคสมัยใด

บ้านสไตล์โคโลเนียล

หลังคา Colonial

หลังคา Colonial

3.เพิ่มเอกลักษณ์ด้วยหลังคามุก

บ้านเรือนโซนยุโรปนิยมสร้างห้องใต้หลังคา สังเกตได้จากภายนอก บนหลังคาจะออกแบบให้มีหน้าต่างหลังคา (Dormer) ช่วยให้ห้องใต้หลังคาไม่อุดอู้จนเกินไป แต่ฟังก์ชันนี้ในประเทศไทยอาจไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ร้อน ห้องใต้หลังคาจึงไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย บางบ้านจึงใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นห้องเก็บของใต้หลังคาแทน ซึ่งพบได้บ่อยในอาคารประเภทรีสอร์ทและบ้านพักตากอากาศในพื้นที่ที่มีฤดูหนาวอย่างเขาใหญ่และทางภาคเหนือของไทย

dormer window หลังคาหน้าต่าง

4.ลายฉลุชายคาบ้าน

เอกลักษณ์เฉพาะที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับบ้านสไตล์โคโลเนียล คือลวดลายงานฉลุไม้ติดประดับบริเวณชายคาบ้าน รวมทั้งงานเสา บัวหน้าต่าง ลายฉลุนี้ช่วยให้บ้านมีความประณีตอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น บางบ้านก็นำลวดลายดังกล่าวมาตกแต่งบริเวณหน้าจั่วหลังคา ลวดลายเล็ก ๆ เหล่านี้ช่วยเพิ่มกิมมิคบ่งบอกถึงความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น

งานฉลุ ชายคา จั่ว

บ้านสไตล์โคโลเนียล

3 จุดต้องระวัง เมื่อต้องทำหลังคาโคโลเนียล

ด้วยลักษณะของหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียลมีเอกลักษณ์ที่เป็นเฉพาะ ผสมผสานกับความประณีตอย่างอ่อนช้อย ในกระบวนการติดตั้งจึงต้องมีความพิถีพิถันและใส่ใจในทุก ๆ ขั้นตอน เพื่อให้ได้หลังคาที่สวยงามตามใจคิด โดยมีจุดเสี่ยงรั่วที่ควรระมัดระวังในการติดตั้ง ดังนี้

การติดตั้งหลังคาโคโลเนียล

หลังคารอบล่าง ต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา (Roof Sarking)

หลังคารอบล่าง (หลังคาผืนล่าง) มีความเสี่ยงที่น้ำจะรั่วได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝน อีกทั้งยังรองรับน้ำที่ไหลลงมาจากหลังคารอบบน (หลังคาผืนบน) อีกด้วย ในกรณีที่หลังคารอบบนและรอบล่าง มีความต่างองศาหลังคามากกว่า 20 องศาขึ้นไป ต้องป้องกันการรั่วซึมโดยการติดตั้งแผ่นรองใต้หลังคา (Roof Sarking) บริเวณหลังคารอบล่างใต้แปเท่านั้น ซึ่งการติดตั้งจะต้องติดตั้งให้ถึงขอบนอกไม้บัวเชิงชายเสมอ โดยวางอยู่บนแผ่นรองเชิงชาย นอกจากนั้นยังต้องติดจนถึงแนวผนังทั้งด้านหัวและด้านข้างกระเบื้อง ที่สำคัญคือ ปลายแผ่นรองใต้หลังคาต้องติดบนหลังจันทัน ห้ามทิ้งหรือต่อแผ่นระหว่างจันทันโดยเด็ดขาด

หน้าต่างมุก

มุกยื่น ต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา

ด้วยเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของบ้านสไตล์โคโลเนียล คือการมีมุกยื่นออกมาบริเวณผืนหลังคา ซึ่งการมีมุกหลังคาทำให้โครงสร้างบ้านมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นำมาซึ่งโอกาสเสี่ยงรั่วที่สูงขึ้น เนื่องจากน้ำที่ตกกระทบบริเวณหลังคามุกก่อนไหลสู่ตัวหลังคามีทิศทางน้ำต่างกัน ดังนั้นบริเวณหลังคามุกที่ยื่นออกมาจากผืนหลังคาผืนหลักควรมีการป้องกันการรั่วซึม โดยการติดตั้งแผ่นรองใต้หลังคาบริเวณปลายรางน้ำระบายของหลังคามุกที่ระบายน้ำลงหลังคาผืนหลัก ซึ่งการติดตั้งแผ่นรองใต้หลังคา ความกว้างของแผ่นจะต้องมีข้อกำหนดดังนี้ คือ ปลายด้านบนสูงจากปลายรางน้ำขึ้นไป 60 เซ็นติเมตร และปลายด้านล่างต้องติดตั้งให้ถึงขอบนอกไม้บัวเชิงชายเสมอ โดยวางอยู่บนแผ่นรองเชิงชาย ส่วนความกว้างของแผ่นรองใต้หลังคาจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร หรือ 1 ช่วงจันทัน นับจากจุดตกกระทบของน้ำ

ระวังรอยต่อหน้าต่างมุก

สันหลังคาชนผืนหลังคา ต้องใส่แผ่นปิดรอยต่อ

และอีกหนึ่งจุดที่สำคัญ คือ บริเวณสันหลังคามุกด้านบนชนกับผืนหลังคาผืนหลัก จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันรั่ว 2 จุด คือ บริเวณที่กระเบื้องหลังคามุกบรรจบกับหลังคาผืนหลัก ต้องติดตั้งแผ่นปิดรอยต่อปลายครอบสันหลังคา และอีกหนึ่งจุดคือ บริเวณหัวรางน้ำขากางเกง (ตะเข้รางทั้ง 2 ด้าน ที่มาบรรจบกัน) ซึ่งอยู่ใต้ครอบสันหลังคา ต้องติดตั้งแผ่นปิดหัวรางบริเวณจุดต่อชนของรางน้ำ


มั่นใจกว่า ได้หลังคาสวยตามแบบ ไม่รั่ว

ผู้อ่านท่านใดที่ชื่นชอบบ้านสไตล์โคโลเนียล และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลังคาโดยเฉพาะ ปัจจุบันเอสซีจีมีบริการเหมามุงครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนให้คำปรึกษา การเลือกวัสดุ ตลอดจนบริการติดตั้งหลังคาด้วยวัสดุคุณภาพ เรียกได้ว่าควบคุมมาตรฐานตั้งแต่เริ่มจนส่งมอบงาน เพื่อให้บ้านมีหลังคาที่สวยและทนใช้งานได้ยาวนาน

Roof Service Roof Service

เจ้าของบ้านสามารถนำแบบบ้านเข้ามาขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญฟรี ได้ที่ เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์, เอสซีจี โฮมโซลูชั่น และ เอสซีจี รูฟฟิ่งเซ็นเตอร์ ทุกสาขา หรือลงทะเบียนปรึกษา ฟรี! 

บริการให้คำปรึกษา Roof Service

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SCG Home Contact Center โทร. 025862222

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี  :  http://bit.ly/2nGtGYT
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :  http://bit.ly/2PXD5Vg  http://credit-n.ru/zaymyi-v-ukraine.html http://www.tb-credit.ru/kredit.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด