เมนู

Early Yuyen คาเฟ่ที่ให้ชีวิตใหม่กับวัสดุเหลือทิ้งผ่านงานดีไซน์

ออกแบบคาเฟ่

คาเฟ่จากวัสดุรีไซเคิล

Early Yuyen เป็นคาเฟ่เท่ๆ ในซอยอยู่เย็น เขตบางเขน กรุงเทพฯ นี่เอง จุดเริ่มมาจากความสำเร็จและบทเรียนที่ได้รับจากคาเฟ่แแห่งแรก คือ Early BKK ที่เน้นการคืนคุณค่าให้กับสิ่งของเหลือใช้หรือถูกทิ้ง ดังนั้นในโครงการนี้ จึงยังคงทำงานร่วมกับ space+craft และนำแนวทางการออกแบบที่นั้นมาใช้กับที่นี่ด้วย โดยในช่วงแรก มีการจัดเวิร์กช็อปเพื่อวางแผนงานการออกแบบที่เน้นกระบวนการ 4Rs ได้แก่ ลดการใช้ นำกลับมาใช้ใหม่ ปรับปรุงใหม่ และรีไซเคิล นำมาสู่การใส่โครงสร้างแบบถอดประกอบ เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุจะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในระยะยาว

ออกแบบ : Spacecraft
ภาพถ่าย : Panoramic studio
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

ตกแต่งคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ตกแต่งคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คาเฟ่นี้รีโนเวทมาจากอาคารเก่า ในโครงการ My Paws Backyard Dog Park จึงมีเป้าหมายที่จะสร้างพื้นที่ส่วนกลางใหม่ๆ สำหรับครอบครัวและคนรักสัตว์เลี้ยงได้มาแวะพักทักทายกันแบบชิลๆ จากด้านหน้าจะเห็นแนวหลังคาเดิมที่เป็นจั่วสีขาว และคลุม facade ด้านหน้าด้วยองค์ประกอบของประตู-หน้าต่าง ที่ทำจากไม้ โครงเหล็ก เหล็กดัด ซึ่งเป็นของเก่าที่นำมาจัดเรียงใหม่เป็นประตูทางเข้า แต่ยังคงใช้งานได้ดีในฟังก์ชันที่ต่างไป

ตกแต่งคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

คอนเซ็ปที่สถาปนิกใส่ใจยึดเป็นหลักในการออกแบบและตกแต่ง อันดับแรก คือ ลดการใช้ โดยมุ่งเน้นรักษาส่วนประกอบที่สามารถใช้งานได้ เพื่อลดการผลิตวัตถุดิบใหม่ให้น้อยที่สุด จึงต้องเรียงลำดับความสำคัญระหว่างความสวยงามและการอนุรักษ์ไว้ เนื่องจากสถานที่นี้เคยเป็นโรงอาหารของพนักงาน ปัจจุบันเป็นอาคารชั้นเดียวกึ่งตกแต่งพร้อมเฟอร์นิเจอร์ร้านอาหาร มีการตัดสินใจคงโครงสร้างไว้ ในขณะที่นำเฟอร์นิเจอร์กลับมาใช้ใหม่ สิ่งที่ไม่ได้ใช้จะถูกแยกส่วนและคัดแยก  เช่น อลูมิเนียมนำไปรีไซเคิล และเก็บกระเบื้องปูพื้นบางส่วนไว้เพื่อใช้ในการออกแบบในอนาคต

ตกแต่งคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

ตกแต่งคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

บรรยากาศของร้านที่โปร่งตา ร่มรื่น ดีไซน์เหมือนบ้าน ต้อนรับแขกที่มาที่ร้าน Early Yuyen ด้วยคำว่า Yuyen หรือ “อยู่สบาย” เมื่อแปลตรงตัวจากภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

ตกแต่งภายในคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

ตกแต่งภายในคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

ภายในตกแต่งด้วยวัสดุรีไซเคิล/ออกแบบเพื่อถอดประกอบ เช่น องค์ประกอบที่เคยมีอยู่แต่ถูกถอดออกไปก็ไม่ได้ทิ้ง แต่นำมาใช้ในรูปแบบอื่นๆ อย่างกระเบื้องหลังคาเก่าสีเขียวจากอาคารใกล้เคียง ก็ถูกนำมาติดตั้งในท็อปเคาน์เตอร์บาร์ ในขณะที่กระเบื้องพื้นเก่าถูกนำไปใช้ใหม่เป็นหินขัด พื้นผิวสีขาวและสีน้ำตาลของพื้นได้รับการเสริมด้วยพื้นผิวหยาบของกล่องนมฉีกของ Reboard ซึ่งเป็นวัสดุกั้นห้องที่ทำจากกล่องนมรีไซเคิลอัดแน่นด้วยแรงดันสูง บนผนังและเพดานโครงสร้างวาฟเฟิลแบบแยกส่วน โดยติดตั้งด้วยตัวยึดเพื่อให้ถอดประกอบได้ง่าย โทนสีเอิร์ธโทนทำให้คาเฟ่แห่งนี้ดูอบอุ่นและเป็นกันเอง ซึ่งเข้ากันได้ดีกับกรอบหน้าต่างและเฟอร์นิเจอร์ไม้

ตกแต่งภายในคาเฟ่ด้วยวัสดุรีไซเคิล

ตกแต่งเคาน์เตอร์คาเฟ่ด้วยขวดเก่า

บาร์กาแฟ เป็นจุดศูนย์กลางของคาเฟ่ที่สะดุดตากับขวดแก้วที่นำกลับมาใช้ใหม่ แม้แต่เศษแก้วแตกก็ยังรวบรวมนำมาติดตั้งบนเคาน์เตอร์หินขัด ซึ่งถือเป็นการสานต่อความมุ่งมั่นของ Early ในการสร้างความตระหนักรู้ในการลดขยะ นอกจากนี้ยังมี Ecobrick เป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิลอีกชนิดหนึ่งที่นำเสนอที่ Early Yuyen โดย Ecobrick นี้ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลที่หั่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยทั้งหมด วัสดุที่ว่านี้ใช้ตกแต่งอยู่ที่ผนังด้านนอกของคาเฟ่นั่นเอง

ตกแต่งเคาน์เตอร์คาเฟ่ด้วยขวดเก่า

แปลนอาคาร

early-yuyen-facade-1

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบร้านกาแฟ เบเกอรี่


โพสต์ล่าสุด