เมนู

3 ตัวเลขบนแผ่นเมทัลชีท ที่จะบอกว่า แผ่นไหนแกร่ง แผ่นไหนทน

ฉลาดเลือก ฉลาดใช้เมทัลชีท 

ควรศึกษาข้อมูลสินค้า ก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ” คำเตือนดังกล่าวจำเป็นอย่างมากกับการเลือกวัสดุสร้างบ้าน เพราะหากตัดสินใจผิด ผลลัพธ์ที่ตามมาอาจบานปลายมากกว่าที่คิด ยิ่งในยุคปัจจุบันวัสดุก่อสร้างมีมากมาย หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองด้านการออกแบบและการใช้งาน อย่างเมทัลชีทเองก็เช่นกัน ตามท้องตลาดมีให้เลือกหลายเกรด หลายสีสัน หากมองแค่ผิวเผินอาจดูคล้าย ๆ กันไปหมด แต่เราจะทราบได้อย่างไร ว่าเมทัลชีทแบบไหนแกร่ง แบบไหนทน

เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จึงนำวิธีการเช็คสเปกเมทัลชีทมาบอกเล่า เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานไว้สอบถามกับทางร้านหรือผู้จำหน่าย เจ้าของบ้านจะได้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม แข็งแรงและทนทานอย่างที่ต้องการครับ

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand

ชนิดของชั้นเคลือบโลหะ

หลายคนยังคงสับสนระหว่างเมทัลชีทกับสังกะสี หากต้องการให้หลังคาบ้านคงทน จำเป็นต้องแยกสองวัสดุนี้ให้ได้ก่อน ซึ่งความแตกต่างอยู่ที่การเคลือบผิวด้วยโลหะที่ต่างกัน สังกะสี คือแผ่นเหล็กที่นำมาเคลือบสังกะสี ซึ่งสารเคลือบสังกะสีไม่ได้มีคุณสมบัติในการป้องกันสนิมได้ดีมากนัก จะเห็นได้ว่าแผ่นสังกะสีเป็นสนิมง่ายและเร็ว

ส่วนเมทัลชีท คือแผ่นเหล็กที่เคลือบด้วยอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี ซึ่งสารเคลือบตัวนี้ ช่วยป้องกันสนิม มีความทนทานต่อการผุกร่อนได้ดีกว่าสารเคลือบสังกะสีถึง 4 เท่า ฉะนั้นขั้นต้นในการเลือกซื้อเมทัลชีท จึงต้องเลือกแผ่นเหล็กที่เคลือบด้วยอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี หากเลือกสังกะสีมาใช้งาน แน่นอนว่าจะไม่ได้ความทนทานอย่างที่ต้องการครับ

เมทัลชีท

ภาพประกอบ : Maguire Devine

ความหนาของชั้นเคลือบ

สำหรับการเลือกค่าความหนาของสารเคลือบนั้น แนะนำว่าให้พิจารณาจากสภาพภูมิอากาศของสถานที่ตั้งและการใช้งานเป็นหลัก สำหรับหลังคาบ้านทั่วไปแนะนำ สินค้าที่มี มอก. เพราะ มอก. ระบุขั้นต่ำอย่างน้อยต้อง AZ70 ขึ้นไป และควรจะมีการเคลือบที่เท่ากันทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อช่วยป้องกันการกัดกร่อนให้เสมอกันทั้งแผ่น แต่หากเป็นโครงการ โรงงานอุตสาหกรรม โกดัง ห้างสรรพสินค้า หรือพื้นที่ใกล้กับทะเล ที่มีความเสี่ยงต่อการผุกร่อนสูง ควรเลือกใช้เมทัลชีทที่มีชั้นความหนาของชั้นเคลือบที่สูง เช่น AZ150 หรือ A200 รวมถึงพิจารณาถึงชั้นเคลือบสี เพิ่มขึ้นอีกชั้น เพื่อป้องกันการกัดกร่อนและช่วยยืดระยะเวลาการใช้งาน

เลือกใช้หลังคาเมทัลชีท

ค่าความหนารวมของเมทัลชีท หนามาก แกร่งมาก

ค่าความหนารวมชั้นเคลือบ หรือ TCT (Total Coated Thickness) เป็นตัวเลขที่บอกความหนาของแผ่นเมทัลชีทหลังเคลือบอลูซิงค์แล้ว หรือค่าความหนารวมชั้นเคลือบและชั้นเคลือบสี APT (After Painted Thickness) ซึ่งความหนารวมที่ใช้ส่วนใหญ่กับงานหลังคามีให้เลือกตั้งแต่ 0.3 -0.7 มิลลิเมตร ข้อแนะนำในการเลือกใช้งาน สำหรับหลังคาบ้านควรใช้เมทัลชีทที่มีความหนารวม 0.4- 0.5 มิลลิเมตร (0.4-0.5 TCT) ขึ้นไป เพราะเมทัลชีทที่มีความหนามาก จะช่วยลดเสียงดังขณะฝนตกได้ดี

ส่วนพื้นที่ใช้งานกลางแจ้งอย่าง หลังคาโรงจอดรถยนต์, ครัวไทย, เฉลียง, กันสาด เป็นพื้นที่โปร่งและมักใช้งานแบบชั่วคราว เจ้าของบ้านสามารถประหยัดงบก่อสร้างได้ด้วยการเลือกเมทัลชีทไม่หนามากประมาณ 0.35-0.4 มิลลิเมตร ก็เพียงพอแล้ว ระวังอย่าลืมระบุความหนารวมเคลือบให้ถูกต้องนะครับ เพราะถ้าตัวเลขผิดนิดเดียวความแข็งแรงก็จะต่างกันเลยครับ

ค่าความแข็งแรงของเหล็ก 

ค่าความแข็งแรงของเหล็กหรือค่ากำลังของวัสดุเหล็กรีดเย็น เป็นการทดสอบแรงดึงเพื่อหาค่าความแข็งแรง (Strength) ของวัสดุ มีหน่วยเป็น Mpa ต้องอธิบายก่อนสักเล็กน้อยว่า วิธีการหาค่านี้จะทำด้วยการใช้แรงที่กระทำต่อเหล็กทีละน้อยจนกว่าจะเกิดการแตกหัก เหล็กนั้นยิ่งดึงแรงก็จะค่อย ๆ แข็งขึ้น จนถึงค่าหนึ่งเหล็กจะแข็งที่สุดถ้าดึงต่อก็จะขาด โดยค่าที่มักพบในสเปกเมทัลชีทจะมี G300, G550 หมายถึงมีค่าความแข็งแรงอยู่ที่ 550 Mpa (550 MPa, High strength of steel) ซึ่งแน่นอนว่าแข็งแรงมากกว่าเหล็ก G300

โรงงานบลูสโคป

มาตรฐานรองรับทั้งในประเทศและระดับสากล

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานเป็นสิ่งที่ช่วยการันตีถึงคุณภาพของเมทัลชีทได้ดีเลยครับ เมทัลชีทแบรนด์ชั้นนำที่มีความน่าเชื่อถือ ต้องเป็นที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานทั้งในประเทศและมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผ่านการควบคุมการผลิต ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัย มีการทดสอบที่ระบุชัดเจน โดยมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมทัลชีท สังเกตได้จากตัวย่อ ดังนี้

  • TIS (Thai Industrial Standard) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย มีเครื่องหมาย มอก. 2228-2559 และมอก.2753-2559 ที่ตัวผลิตภัณฑ์
  • JIS (Japanese Industrial Standards) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ประเทศญี่ปุ่นและเป็นมาตรฐานต้นแบบของมาตรฐาน มอก.
  • AS (Australian Standards) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของประเทศออสเตรเลีย ที่มีข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดเรียบ
  • ASTM   (American Society for Testing and Materials) มาตรฐานที่ผ่านการรับรองจากสมาคมการทดสอบและวัสดุแห่งอเมริกา

แผ่นหลังคาเมทัลชีท

สัญลักษณ์เหล่านี้ โดยปกติหากเป็นแบรนด์มาตรฐานอย่าง บลสูโคป แซคส์ จะมีการระบุสเปคไว้บนแผ่นอยู่แล้ว สามารถสอบถามหรือขอดูตัวอย่างจากพนักงานขายก่อนตัดสินใจสั่งผลิตได้ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการเช็คค่าที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เจ้าของบ้านควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่กันด้วย เช่น คุณสมบัติพิเศษและการรับประกันของสินค้านั้น ๆ

บลูสโคป แซคส์ มาตรฐานระดับโลก

เมทัลชีท บลูสโคป แซคส์ สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้งานว่าผืนหลังคาจะไม่ผุกร่อนง่าย ด้วยการรับประกันไม่ผุกร่อนยาวนานถึง 10 ปี ส่วน เมทัลชีท บลูสโคป แซคส์ คูล  รับประกันไม่ผุกร่อนยาวนานถึง 12 ปีและรับประกันสีไม่ซีดจาง 5 ปี ทั้งยังมีเทคโนโลยี Cool Coating Technology นวัตกรรมโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษ ช่วยสะท้อนความร้อนให้บ้านเย็น ทำให้เจ้าของบ้านมั่นใจได้อย่างหมดห่วง สำหรับผู้อ่านท่านใดที่กำลังมองหาเมทัลชีทคุณภาพดี แข็ง แกร่ง ทน สามารถศึกษาข้อมูลวัสดุหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก บลูสโคป ได้โดยตรงที่

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ zacsroof.nsbluescope.com  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด