เมนู

รวมทริคการจัดตู้เย็น เก็บได้เยอะ ทานได้นาน

วิธีการจัดตู้เย็น

วิธีจัดตู้เย็นให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ

ซื้อของมาเยอะ ตู้เย็นเลยรกไม่เป็นระเบียบ ไม่น่าดู แถมยังหาของยากอีกด้วย  เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” ชวนผู้อ่านมาเคลียร์ตู้เย็นให้พร้อมกักตุนอาหารจัดเก็บสไตล์เกาหลี และรวบรวมเคล็ดลับต่าง ๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อบ้านแม่บ้าน ให้สามารถมีอาหารทานได้อย่างมีคุณภาพกันครับ

เนื้อหาบ้านไอเดีย
ภาพจากThailandLetsEat

จัดตู้เย็นให้เป็นระเบียบ

ก่อนอื่นสิ่งที่เราต้องมาดูเป็นอันดับแรกคือ การสำรวจของในตู้เย็นมีอะไรหมดอายุหรือไม่ใช่แล้วบ้าง ถ้ามีต้องจัดการนำออกไปทิ้ง แล้วทำความสะอาดให้หมดจดเตรียมพร้อมสำหรับการจัดใหม่ให้เก็บของได้มากขึ้น จากนั้นต้องมาพิจารณาว่าอาหารแบบไหนที่เหมาะกับเก็บในตู้เย็น เพราะบางอย่างสามารถเก็บนอกตู้เย็นได้ไม่ต้องนำมาเก็บให้เปลืองพื้นที่ เช่น น้ำผึ้ง มันฝรั่ง ขนมปัง ส้ม เครื่องประป๋องต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับตู้เย็นปกติในบ้านเราจะแบ่งเป็นช่องฟรีซ (แช่แข็ง) ชั้นวางบริเวณประตู ชั้นวางในตู้ ซึ่งจะเหมาะกับการเก็บอาหารต่าง ๆ กัน ดังนี้

1. ช่องฟรีซหรือช่องแช่แข็ง

จะเหมาะกับอาหารที่ต้องการเก็บไว้กินนาน   ๆ อาจจะเป็นอาหารที่แช่แข็งมาอยู่แล้ว เช่น ผลไม้ หรือ หมู เนื้อ ไก่ กุ้งสด, น้ำซุป,  แผ่นแป้งหรือขนมปัง สำหรับขนมปังหากยังไม่สไลด์สามารถห่อด้วยพลาสติกแรป (plastic wrap) เก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน หากจะนำมารับประทานค่อยนำออกจากช่องฟรีซมาเข้าไมโครเวฟหรืออบในเตาอบอุณหภูมิ 60 องศาก็จะนุ่มน่าทานเหมือนเดิม

2. ช่องธรรมดาใต้ช่องแช่แข็ง

ส่วนนี้ใกล้ช่องแช่แข็งที่สุด อุณหภูมิประมาณ 0-2 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการเก็บอาหารที่เน่าเสียเร็ว เช่น เนื้อสัตว์ เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีแบคทีเรียและสามารถเติบโตในอุณหภูมิสูงได้รวดเร็ว ความเย็นจะช่วยยับยั้งการเจิรญเติบโตของแบคทีเรียได้ดี

จัดตู้เย็นเก็บผักผลไม้

3. ช่วงกลางของตู้เย็น

บริเวณช่วงกลางของตู้เย็นจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 5-7 องศาเซลเซียส เป็นช่วงอุณหภูมิที่ช่วยยืดอายุและรักษาคุณค่าทางสารอาหารได้ เหมาะกับการเก็บอาหารเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น อาหารปรุงสุกแล้ว เครื่องปรุง น้ำดื่ม นม อาหารหมักดอง แยม

4. ประตูของตู้เย็น

โซนประตูของตู้เย็นอุณหภูมิจะประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการเก็บน้ำดื่ม เครื่องปรุงขวดเล็ก ๆ อย่างไรก็ตามเป็นบริเวณที่ถูกใช้บ่อยที่สุดจึงมีความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแต่ละครั้งที่เปิด  จึงไม่เหมาะกับการเก็บอาหารหรือของใช้ที่ต้องการอุณหภูมิคงที่ เช่น ยา ต้องเก็บที่ช่องธรรมดาได้ที่อุณหภูมิอยู่ในช่วง 2-8 องศาเซลเซียส ในตู้เย็นบางรุ่นที่มีชั้นวางไข่อยู่บนสุดของประตูก็จัดเรียงตามนั้น

เก็บผักในตู้เย็น

ภาพจาก : www.epicurious.com

5. ชั้นวางด้านล่าง

ปกติชั้นล่างสุดของตู้เย็นจะดีไซน์ให้เป็นกล่องใส่ของมีฝาเลื่อนปิด-เปิดได้ (ยกเว้นบางรุ่นที่ออกแบบไม่เหมือนกัน)  ซึ่งเหมาะกับการแช่ผักและผลไม้ เนื่องจากอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 7-10 องศาเซลเซียสและลักษณะที่เป็นกล่องแบบปิดจะช่วยรักษาความชื้นในผัก ผลไม้คงคุณค่าทางโภชนาการ วิตามิน แร่ธาตุให้อยู่อย่างครบถ้วน

ข้อควรระวัง: ไม่ควรนำอาหารมาแช่มากเกินไปจนแน่นชิดชนผนังตู้ เพราะต้องมีช่องว่างให้ลมเย็นสามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงด้วย และต้องรอให้อาหารปรุงสุกเย็นสนิทจึงจะนำเข้าตู้เย็น ห้ามนำเข้าตู้ตอนที่ยังร้อน เนื่องจากความเย็นภายในจะไม่สม่ำเสมอ อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้อาหารบูดได้ง่าย

Trick เก็บของให้สดได้นาน

เนื้อสัตว์แช่แข็ง

ภาพจาก : www.seriouseats.com

วิธีเก็บเนื้อสัตว์

ในช่องแช่แข็งและช่องธรรมดา ควรล้างให้สะอาดซับให้แห้ง แล้วนำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ บรรจุในถุงซิปล็อคหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีฝาปิดแน่นหนา ในปริมาณที่พอดีสำหรับใช้ในแต่ละครั้ง ส่วนอาหารทะเลจะใส่ใส่ถุงพลาสติกแช่ช่องแข็งก็ได้ หากใส่ในช่องชั้นวางธรรมดาควรใส่ในถุงแล้ววางลงในภาชนะที่มีในน้ำแข็งตลอดเวลา สำหรับของที่เอาออกมาละลายใช้แล้ว อย่าเก็บกลับเข้าช่องแข็งอีกควรให้ให้หมดในคราวเดียว ภาชนะที่เป็นแก้วหรือของแตกง่ายไม่แนะนำให้ใส่ในช่องฟรีซ

วิธีเก็บผัก

วิธีเก็บผักสดและผลไม้

ผักและผลไม้บางอย่างไม่ต้องก่อนแช่ตู้เย็น เพราะการล้างจะทำให้มีความชื้นหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะเป็นตัวเร่งทำให้ผักผลไม้เน่าเสียเร็วขึ้น เช่น พริก มะนาว ให้ห่อกระดาษหรือห่อพลาสติก แล้วนำไปชั้นเก็บผักในตู้เย็น

สำหรับคนที่ต้องการล้างผักให้สะอาดก่อนเก็บ อาทิ ขิง ข่า ตระไคร้ ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกระเพรา ต้องผึ่งทิ้งไว้ให้แห้งก่อนเช่นกัน อาจจะใส่กล่องพลาสติกเป็นกล่อง หรือใส่ถุงซิปล็อคที่ห่อด้านในด้วยกระดาษทิชชูแบบหนา กระดาษจะช่วยเก็บความชื้นไม่ให้ระเหยออกไป คงความสดให้นานขึ้นหรือจะใส่กล่อง super lock แล้วเก็บเข้าช่องผักก็ได้ ผักบางชนิดหากมาเป็นลูกยังไม่ได้ผ่าสามารถเก็บไว้ในที่โล่งปกติได้ ไม่จำเป็นต้องแช่เย็น เช่น ฟักทอง ฟักเขียว กระเทียม หอมหัวใหญ่

วิธีเก็บผักแช่แข็ง

วิธีเก็บผัก ด้วยการการลวกแล้วแช่แข็ง หรือ blanching เริ่มจากการล้างผักให้สะอาด หั่น หรือเด็ดตามขนาดที่ต้องการ เสร็จแล้วนำไปลวกในน้ำเดือดที่ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย เวลาที่ใช้ลวกประมาณ 15 วินาที- 2 นาที (แล้วแต่ชนิดผัก) จากนั้นใช้กระชอนตักผักลงในกาละมังน้ำเย็นจัด (ใส่น้ำแข็ง) แล้วก็ตักผักออกมาวางบนถาดที่มีกระดาษรองซับน้ำ สำหรับผักใบให้ใช้มือบีบน้ำให้เป็นก้อน ๆ วางบนถาด แล้วนำไปแช่ช่องแข็งประมาณ 1-2 ชม. ก็เอาผักออกมาใส่ในถุงซิปล็อค เขียนชื่อผักและวันที่ก่อนนำแช่ช่องแข็ง วิธีนี้จะเก็บได้นานหลายเดือน

ข้อควรระวัง: ไม่ควรเก็บผักไว้รวมกัน หรือเก็บผักรวมกับผลไม้ ควรเก็บในภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์แยกกันเป็นสัดส่วน เพราะในผลไม้สุกจะมีก๊าซเอธิลีนทำให้ผักที่อยู่อยู่ใกล้ๆ เสียเร็วขึ้น และการหยิบจับนำมาใช้งานทำได้ยาก

ช่องเก็บไข่

ไข่

เป็นอาหารที่ทุกบ้านต้องมีไว้ให้อุ่นใจ ในยุคโควิดที่ไข่แพงขึ้นมาก็ต้องเก็บรักษาให้ดี ไข่นั้นมีอายุ 7-10 วัน วิธีเก็บไข่ให้สดนานหลายเดือน คือ ควรเก็บไว้ในกล่องไข่หรือชั้นวางไข่ในที่มีให้ในตู้เย็น ด้านล่างกล่องวางด้วยกระดาษทิชชูหนาๆ เพื่อกันการกระแทกแล้วปิดทับหน้าด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง ควรวางไข่ให้ด้านแหลมลงให้ด้านป้านหงายขึ้น จะทำให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางฟองพอดี ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากไข่ ทำให้เก็บไข่ได้นานขึ้น สำหรับใครที่ตู้เย็นเต็มแล้วสามารถเก็บไข่นอกตู้ด้วยการทาน้ำมันที่เปลือกแล้วเอาใส่กล่องเก็บได้เป็นเดือน

เต้าหู้

หลายคนชอบทานเต้าหู้ แต่พบว่าหากเก็บไว้หลายวันจะมีความเหนียวเหนอะ รสเปรี้ยวเสียง่าย ให้เก็บด้วยการใส่ในกล่องที่เติมน้ำจนท่วมก้อนเต้าหู้แล้วปิดฝาให้สนิท น้ำจะช่วยกระจายความเย็นและรักษาเนื้อเต้าหู้ให้สดได้นานยิ่งขึ้น

ภาชนะที่ควรมี

• กล่องใส่อาหาร กล่องแบบมีฝาบิดขนาดต่าง ๆ สำหรับแยกใส่อาหารปรุงสุก, เครื่องเคียง, ผักและผลไม้ ควรเป็นแบบ Lock & Lock หรือ Super Lock  สำหรับผักควรใช้กล่องแบบมีตะแกรงรองที่พื้นช่วยให้ผักไม่ชื้น เลือกแบบสี่เหลี่ยมที่สามารถเรียงต่อ ๆ กันได้โดยไม่กินพื้นที่

ขวดโหลใส่เมล็ดถั่ว

• ขวดโหล สำหรับใส่ของแห้ง ประเภท เมล็ดธัญพืช, ผงปรุงรส หรือเส้นสปาเก็ตตี

เก็บผักสดในซิปล็อค

• ถุงซิปล็อค ถุงที่มีซิปปิดเหมาะสำหรับแบ่งใส่ของสด เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทำให้เป็นซองแบน ๆ เพื่อให้รับความเย็นได้อย่างทั่วถึงและจัดวางได้อย่างเป็นระเบียบ มองเห็นง่าย หยิบใช้ได้สะดวก ลดการใช้พื้นที่ตู้เย็นไปได้มาก

ตะกร้าใส่ของในตู้เย็น

• ตะกร้า สำหรับใส่อาหารหรือวัตถุดิบที่เป็นซองหรือขวดให้เป็นหมวดหมู่ จำกัดขอบเขตการวางขวดป้องกันการกลิ้งตกเสียหาย

หากจัดการได้ตามนี้อาหารที่ซื้อมาก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีสติ๊กเกอร์เขียนวันที่นำของสดแต่ละชนิดเข้าตู้เย็น เพื่อให้ง่ายต่อการสำรวจวันหมดอายุ ไม่มีของตกค้างเน่าเสียลืมทานค่ะ http://credit-n.ru/offers-zaim/ekapusta-besplatniy-zaim.html http://www.tb-credit.ru/microzaim.html

เผยเทคนิคการเลือกสุขภัณฑ์ในห้องน้ำhttps://www.banidea.com/choose-sanitary-ware/

เลือกสุขภัณฑ์

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ความรู้ คู่บ้าน


โพสต์ล่าสุด