เมนู

บ้าน | งาน | ศิลป์ รวม Art และสถาปัตยกรรมเป็นหนึ่งเดียว

บ้านแนวศิลปะ

บ้านสไตล์หอศิลป์

ปกติแล้วเราจะชมงานแสดงศิลปะได้ที่ไหนบ้าง อาจเป็นลานแสดงที่จัดเฉพาะ แกลเลอรี หรือพิพิธภัณฑ์ไช่ไหมครับ แม้เราจะเริ่มเห็นการใช้รเ่นกาแฟสวย ๆ หรือบ้านเป็นศูนย์โชว์งานศิลปะบ้างแล้วแต่ก็ยังมีสัดส่วนที่แยกออกจากที่พักส่วนตัว แต่ปัจจุบันนี้มีแนวความคิดที่ว่า “ศิลปะก้าวไปไกลกว่าการแสดงออกทางวัฒนธรรม และกลายเป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรม” จึงลองผสมผสานงานศิลปะลงในพื้นที่บ้าน การตกแต่งภายในเป็นมากกว่าการตกแต่งทางสถาปัตยกรรม เหมือนเช่นบ้านนี้ที่เต็มไปด้วยงานศิลป์แบบนีโอบาโรกดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับบ้าน

ออกแบบ : Kavellaris Urban Design
ภาพถ่าย : Peter Bennetts
เนื้อหาบ้านไอเดีย

ตกแต่งฟาซาดด้วยกระจกพิมพ์ลาย

Kavellaris Urban Design (KUD) ในเมลเบิร์น เพิ่งสร้างบ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยวชื่อโครงการ ”JARTB House” ที่ตั้งอยู่ในเมืองทูรัก เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย  concept ในการออกแบบคือ เชื่อมโยงศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ถุกมองว่าเป็นคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน ให้มารวมอยู่ด้วยกันได้ นี่คือที่มาของบ้านสองชั้นที่มีผนังบนชั้นสองเป็นลวดลายสวยงามเหมือนงานศิลปะชิ้นใหญ่ตั้งเด่นอยู่บนที่ดินเป็นเนินขึ้นไป เป็นสถาปัตยกรรมที่มีชีวิตชีวา ทำให้ใครหลายคนต้องเหลียวมองในทุกครั้งที่ผ่าน

ประตูทางเข้าช่องวงกลม

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

โถงประตูทางเข้ากลมๆ

ช่องแสง skylight ตรงทางเดิน

บทสรุปของบ้านกลายเป็นอาคารแบบไฮบริด ออกแบบให้หอศิลป์แสดงงานบางส่วนอยู่ในตัวบ้าน มีองค์ประกอบที่โดดเด่นและแปลกใหม่หลายอย่าง เช่น จิตรกรรมฝาผนังกระจกหลากสีสันที่โอบล้อมห้องชั้นบนของบ้าน ทางเข้าเป็นแบบฟันเลื่อยเจาะซุ้มประตูคอนกรีตทรงกลมเข้าไปที่ชั้น 1 จะพบทางเดินลึกยาวมี skylight ตลอดแนว บนผนังคอนกรีตดิบ ๆ ติดตั้งงานศิลปะแสดงเรียงรายช่วยให้โฟกัสสายตาเหมือนแกลเลอรี

บ้านแบบ open plan

จากทางเดินนำมาสู่ภายในจะเห็นว่าช่วงว่างทางเดินเชื่อมต่อกับโถงนั่งเล่น โต๊ะทานข้าว ห้องครัวแบบเปิดโล่งและพื้นที่รับประทานอาหารและนั่งเล่นที่มีความสูงสองเท่าที่ใช้ชีวิตประจำวัน  พื้นที่นี้เปิดออกสู่สระว่ายน้ำกลางแจ้งที่หรูหราและพื้นที่รับประทานอาหารนอกบ้าน เียงจุดนี้จุดเดียวก็พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า Art (ศิลปะ) เป็นส่วนหนึ่งของ Architect (สถาปัตยกรรม) ได้ ไม่ต้องแยกอยู่ชั้นบน ชั้นล่าง ด้านหน้าหรือด้านหลัง เป็นการแสดงออกที่ไม่ซ้ำใคร

บ้านแบบ open plan โล่งโปร่ง

ช่องแสงรูปทรงเรขาคณิต

ไม่เพียงแต่ภาพวาดเท่านั้นที่กลายเป็นองค์ประกอบของบ้าน ยังมีงานประติมากรรม และงานศิลปะอื่นๆ ที่จัดแสดงอยู่นับไม่ถ้วน การออกแบบยังผสมผสานความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะยุคต่างๆ ที่น่าตื่นตาภายในอาคาร เช่น รูรับแสงทรงกลม การเล่น Texture คอนกรีตเปลือย หัวเสา แก้วเป่า กระจกสี  ยีราฟเหล็ก ทำให้รู้สึกเหมือนเดินอยู่ท่ามกลางกงล้อเวลาที่นำพาไปรู้จักกับงานที่ต่างยุคสมัย ในขณะที่ต้องไม่ลืมว่านี่คือบ้าน

บ้านโทนสีขาวดำตัดด้วยไม้

บ้านแบบ open plan โล่งโปร่งมีโถงสูง

อย่าคิดว่างานศิลป์จะเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเท่านั้น เพราะหากเลือกสรรเฟอร์นิเจอร์และวัสดุแต่งบ้านดี ๆ สิ่งเหล่านี้ก็จะกลับกลายชิ้นงานศิลปะเสียเอง อย่างเช่น ชุดโต๊ะทานข้าวกระจกเข้าคู่กับ เก้าอี้คริสตัลอะคริลิกที่มองเห็นได้ทะลุปรุโปร่ง ดูสวยงามเข้ากันได้กับงานประติมกรรมที่วางกระจายตัวแวดล้อมอยู่

บันไดวนทำจากเหล็ก

บันไดวนรูปก้นหอย

ช่องแสงสกายไลท์วงกลม

ความน่าตื่นตาที่ยังไม่หมดไป จากชั้นบนสู่ชั้นใต้ดินที่เชื่อมต่อผ่านบันไดวนเหมือนก้นหอย เป็นห้องนั่งเล่น โฮมเธียเตอร์ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถผ่อนคลายในห้องอันอบอุ่นสบาย สามารถมองเชื่อมต่อระหว่างชั้นผ่านช่องวงกลมที่เจาะบนพื้นเพดาน

ห้องนอนตกแต่งผนังหัวนอนสวยๆ

อ่างอาบน้ำ

ตกแต่งห้องน้ำ

ผนังกระจกใสพิมพ์ลวดลายสวยๆ

“นี่เป็นศิลปะสาธารณะที่ปลอมตัวเป็นอาคารในที่พักอาศัย” สถาปนิกกล่าวถึงโครงการนี้ ซึ่งไม่ใช่คำกล่าวที่เกินไป เพราะตั้งแต่ชั้นใต้ดินถึงชั้นสามบนสุด ไม่มีส่วนไหนเลยที่ไม่คิดว่ามันคืองานศิลปะ รูปแบบทางเรขาคณิตที่ประสานกันสร้างฟาซาดอาคารที่กำหนดนิยามใหม่ของบ้าน ให้ภายนอกอาคารเป็นเหมือนจิตรกรรมฝาผนังที่โปร่งแสงภายใน กลายเป็นบ้านที่มองได้สองทาง

บ้านทรงกล่องผนังกระจกพพิมพ์ลายสวย

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การจัดงานแสดงศิลปะในแกลเลอรี จะมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลายประการ เช่น การจัดแสง การจัดการความชื้น การป้องกันงานแสดงเสียหายจากการจับต้องของผู้เข้าชมงาน ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ ๆ ที่ศิลปินโชว์งานของตนเองในสถานที่จัดแสดงที่ออกแบบโดยเฉพาะ แต่ยุคนี้จึงมีการลดสเกลงานลงโดยการสร้างแกลเลอรีส่วนตัวในบ้าน แต่ก็ยังแยกออกส่วนงานศิลป์จากพื้นที่อยู่อาศัย หากจัดโฮมแกลเลอรีที่ผสานตัวบ้านเข้ากับงานแบบนี้ต้องพิจารณาสัดส่วนให้ดี ไม่ให้รบกวนความเป็นส่วนตัว และออกแบบเพื่อป้องกันชิ้นงาน ลดความเสี่ยงในการแตกหักเสียหายของชิ้นงานเอาไว้ด้วย

แปลนบ้าน

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด