
Modern Japanese House
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบแสงธรรมชาติ ความสงบเรียบของสวนหินและงานไม้ ผสมผสานไปกับเส้นสายและฟังก์ชันในการใช้ชีวิตที่ทันสมัย นั่นอาจจะหมายความว่าสไตล์บ้านที่เหมาะกับคุณ คือ บ้านแบบญี่ปุ่นสมัยใหม่ (modern Japanese) ที่มีกลิ่นอายความเนิบช้าแต่ไม่ได้เป็นญี่ปุ่นจ๋าครอบคลุมทุกพื้นที่ ถ้าภาพฝันที่มองไว้ยังไม่ค่อยชัด “บ้านไอเดีย” ขอแนะนำให้แวะมาชมบ้านหลังนี้ที่อยู่ท่ามกลางเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากภายในภายนอกจะเรียบง่ายสวยงามแล้ว สถาปนิกยังมีจัดการกับความท้าทายของไซต์อย่างชาญฉลาด และปรับแสงธรรมชาติและการระบายอากาศให้เหมาะสมกับความเป็นเมืองร้อนชื้นได้อย่างยอดเยี่ยม
ออกแบบ : AOMO (Architecture of My Own)
ภาพถ่าย : DOF Sky Ground
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่
บ้านสองชั้นหลังนี้มีทั้งหมด 5 ห้องนอน ตั้งอยู่ในซอยส่วนบุคคล ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยรอบจึงค่อนข้างปลอดภัยและสงบไม่พลุกพล่าน ภายนอกออกแบบเป็นอาคารโมเดิร์นหลังคาแบนขนาดใหญ่ โทนสีขาวทันสมัย ตกแต่งไม้ในช่วงประตูเน้นกรอบสายตาที่เป็นมิตร ด้านขวามือสร้างโรงรถที่จดได้หลายคัน ทั้งสองปริมตารนี้จะโอบล้อมลานสนามหญ้ากว้าง ๆ อยู่ ซึ่งสีเขียวจะเติมความมีชีวิตชีวาให้บ้านสีขาวนิ่ง ๆ ได้เป็นอย่างดี
บทสรุปการออกแบบจากเจ้าของ ชอบลานหินแบบญี่ปุ่นที่วัด Ryoanji ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของสวนหิน เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น จึงอยากให้มีสวนหินแบบเดียวกันนี้ไว้ที่บ้าน นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ บ้านยังมีปัญหาเกี่ยวกับเสียงจากมัสยิดสองสามแห่งที่อยู่ใกล้ ๆ และกลิ่นเหม็นจากที่ทิ้งขยะเมื่อฝนตก ทำให้สถาปนิกตัดสินใจยกลานสวนเข้ามาเก็บไว้ในตัวบ้านแทนที่จะอยู่ด้านนอก เมื่อเปิดประตูเข้าสู่ตัวบ้าน ทุกสายตาจะมองตรงไปที่ลานสวนหินสีดำตรงหน้าที่มีขนาด 4×6 ม.
ในการจำลองสวนกลางแจ้งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ แสงธรรมชาติ ทีมงานจึงทำหลังคาสูงหลายเมตรบริเวณนี้แล้วใส่ SKYLIGHT ขนาดเท่า ๆ สวน เพื่อดึงแสงแสงให้ส่องลงมาตรงจุดนี้ได้พอดี สร้างบรรยากาศเหมือนกำลังอยู่ในสวนแบบ out door ให้สมาชิกในบ้านเพลิดเพลินกับสวนแบบส่วนตัว ซึ่งนับเป็นหนึ่งความท้าทาย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ที่มีแสงแดดจัดและอากาศร้อน การจัดตำแหน่งรับแสงลดชื้น ลดอับ แบบไม่ทำให้บ้านร้อนจึงสำคัญ แต่ในบริเวณนี้จะอยู่ตรงกลางระหว่างบ้าน 2 ฝั่งจึงไม่กระทบบริเวณที่ใช้ชีวิตประจำวัน
ด้านหนึ่งของสวนจะเป็นพื้นที่ห้องสมุด มีชั้นหนังสือบิลท์อินติดผนังขนาดใหญ่ ที่สามารถวางของสะสมโชว์ และเก็บของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยที่ตู้ด้านล่าง ส่วนอีกฝั่งคชตรงข้ามจะเป็นมุมครัว ห้องนั่งเล่น ทานอาหาร และบรรเลงเปียโน เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนในครอบครัวจะมารวมตัวกันที่นี่
สุดปลายสวนหินเป็นห้องนั่งเล่นสไตล์ญี่ปุ่น วางเบาะกับโต๊ะญี่ปุ่นกับพื้นให้ใช้เวลาส่วนตัวอย่างสงบ โดยมีบานเลื่อนไม้ระแนงกั้นส่วนนี้อออกจาโซนอื่นๆ ของบ้านแแบบหลวมๆ ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย อบอุ่นที่สัมผัสได้จากบริเวณนี้ ทำให้บ้านกลายเป็นชิ้นงานมาสเตอร์คลาสที่สื่อถึงสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
สถาปนิกพยายามให้มีประตูและหน้าต่างทางทิศเหนือและทิศใต้ให้มากที่สุด เพื่อสร้างการถ่ายเทอากาศแบบข้าม (cross ventilation) ให้อากาศไหลผ่านช่องว่างออกทางช่องเปิดที่ฝั่งตรงข้าม เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดกั้นการระบายความร้อนภายในบ้าน เมื่อเปิดประตูและหน้าต่างบ้าน เจ้าของบ้านจะสัมผัสได้ถึงลมธรรมชาติที่พัดผ่านเข้ามาในบ้านได้ตลอดเวลา จึงแทบไม่จำเป็นต้องมีเครื่องปรับอากาศ
อีกจุดหนึ่งที่เป็นเสมือนไฮไลท์ในชั้นบน อยู่ที่ผนังชั้นบนรอบคอร์ทยาร์ดที่มีส่วนข้างบนถูกยกออกจากเพดาน ทำให้มีช่องว่างเล็กน้อยเพื่อระบายความร้อนจากทางเดินและนำแสงธรรมชาติเข้ามายังทางเดินนี้ จึงไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฟ้าส่องสว่างในเวลากลางวัน ช่องว่างนี้ยังสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงเงาและภาพคล้ายโคมกระดาษญี่ปุ่นสีขาขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่ในอากาศอีกด้วย
ทุกห้องของบ้านจะได้รับแสงในปริมาณที่พอดีกับการใช้งาน และต้องมีมุมมองเปิดออกไปชมทัศนียภาพที่สร้างไว้อย่างสวยงามข้างนอกได้ โดยที่ยังไม่ต้องก้าวออกไปจากบ้าน แต่ในวันที่อากาศดี เสียงเงียบ ไม่มีกลิ่นรบกวน สมาชิกในบ้านก็เลือกที่จะออกมาใช้ชีวิตบริเวณสวนกลางแจ้งข้างนอกได้เช่นกัน
แปลนบ้าน