เมนู

7 จุดเสี่ยงหลังคารั่ว ต้องตรวจเช็คก่อนรับบ้าน

หลังคารั่วซึม ป้องกัน

เช็คหลังคา ให้ดีก่อนรับบ้าน

สร้างบ้านทั้งที ใคร ๆ ก็อยากได้บ้านที่สวยงามอยู่ได้นานปี โดยไม่มีปัญหากวนใจ แต่กระบวนการก่อสร้างมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ถ้าพลาดแม้จุดเล็ก ๆ เพียงจุดเดียว อาจจะสร้างปัญหาใหญ่ตามมาได้ ดังนั้นก่อนสร้างบ้านใหม่ เจ้าของบ้านจำเป็นต้องหาความรู้ด้านงานก่อสร้างติดตัวเอาไว้บ้าง เพื่อสามารถตรวจเช็คงานพื้นฐานด้วยตนเองได้

สำหรับงานหลังคา เป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงที่มักเกิดปัญหารั่วซึมภายหลัง หากไม่ได้ให้ความสำคัญในรายละเอียดตั้งแต่จุดเริ่มต้น เจ้าของบ้านอาจมารู้ปัญหาอีกทีเมื่อถึงฤดูฝน ซึ่งหากเจอปัญหาหลังจากเข้าอยู่เรียบร้อยแล้ว การซ่อมแซมอาจดำเนินการได้ยาก และอาจส่งผลให้ของใช้ภายในบ้านได้รับความเสียหายได้ เนื้อหาชุดนี้ ทาง SCG Roof Expert ผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคา นำ 7 จุดเสี่ยงหลังคารั่วมาแนะนำ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถตรวจเช็คก่อนรับบ้านได้ครับ

สนับสนุนโดยSCG Building Materials

ป้องกันหลังคารั่ว

การสร้างบ้านหลังแรก เรามักจะตื่นเต้นกับการเลือกหาดีไซน์บ้านสวย ๆ  เพลิดเพลินกับการตกแต่งบ้าน อาจทำให้ลืมตรวจเช็คองค์ประกอบสำคัญอย่าง “หลังคา” ซึ่งเป็นปราการด่านแรกที่ต้องเผชิญทั้งแดดและสัมผัสกับฝนโดยตรง บางคนคิดว่าหลังคาอยู่จุดสูงสุดที่ยากต่อการตรวจสอบ จึงผลักภาระไปให้ช่าง ซึ่งความไว้วางใจช่างนี่เอง มักก่อให้เกิดปัญหามาแล้วนักต่อนัก

อันที่จริงปัญหาหลังคารั่ว เป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านใหม่ หรือแม้ระหว่างการอยู่อาศัย หากเพียงหมั่นตรวจสอบและใส่ใจหาสาเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดหลังคารั่วอยู่เป็นประจำ ก็จะไม่ส่งผลให้เกิดเรื่องบานปลายภายหลัง ซึ่งโดยปกติแล้วปัญหาของหลังคารั่ว มาจากจุดเสี่ยงหลาย ๆ จุด มีอะไรบ้างเรามาดูกันครับ

อย่ามองข้ามปัญหาหลังคารั่ว

7 จุดเสี่ยงที่ต้องตรวจเช็คบนหลังคา

5 จุดตรวจเช็ครอยรั่วบนหลังคา

1. สันหลังคาและตะเข้สัน 

สันหลังคาและตะเข้สัน อยู่ส่วนบนเป็นแนวที่ยึดระหว่างหลังคาแต่ละผืนที่มาชนกัน ซึ่งจะต้องมีตัวครอบปิดรอยต่อเอาไว้ การรั่วซึมบริเวณนี้อาจเกิดจากปูนยึดครอบเสื่อมสภาพ  กระเบื้องหลังคาที่ติดตั้งห่างกันเกินไป หรือติดตั้งโดยตัวครอบที่ไม่ได้มาตรฐาน วัสดุไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดช่องโหว่มีโอกาสทำให้น้ำฝนไหลซึมเข้าไปได้

2. ตะเข้ราง 

เป็นรางน้ำที่มีไว้เพื่อรองรับและระบายน้ำฝนจากหลังคา ซึ่งเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำขังสะสม การเลือกใช้รางน้ำที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้อย่างเหมาะสม วัสดุคุณภาพไม่ดี จะเกิดสนิมได้ง่าย สามารถนำมาสู่ปัญหาหลังคารั่วซึมได้

3. ช่วงรอยต่อบริเวณรางน้ำเชิงชาย

นอกจากจะต้องติดตั้งให้ได้มาตรฐานตามคู่มือแล้ว ข้อสำคัญคือ จะต้องเลือกรางน้ำที่มีขนาดเหมาะสม ไม่แคบเล็กจนเกินไปและมีรูปทรงที่ระบายน้ำได้ง่าย เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นรางไหลย้อนเข้าไปในช่วงรอยต่อใต้กระเบื้องหลังคา จนไหลย้อนเข้าไปในตัวบ้านได้

4. แป 

ส่วนที่รับน้ำหนักของหลังคา ส่งสัญญาณด้วยการแอ่นตัวโก่ง เกิดเป็นช่องว่างให้น้ำฝนกระเซ็นย้อนเข้ามาใต้หลังคา ปัญหานี้มักเกิดจากการใช้แปที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือติดตั้งจันทันห่างเกินไป การติดตั้งแปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตั้งตามระยะห่างที่ทางวิศวกรได้คำนวณไว้

5. ชั้นเชิงการหักมุมหลังคาเพื่อความสวยงาม 

บ้านที่มีหลังคารูปทรงซับซ้อนและรอยต่อเยอะเพราะใช้วัสดุมุงแผ่นเล็ก ๆ สั้น ๆ ต่อกันจำนวนมาก อาจต้องยอมรับกับผลที่ตามมาคือ มีจุดเสี่ยงต่อหลังคารั่วมาก ควรตรวจสอบจุดรั่วบริเวณรอยต่อและระหว่างระยะซ้อนเหลื่อมของวัสดุมุง เพราะอาจเป็นจุดที่จะเปิดทางให้น้ำฝนรั่วซึมหลั่งไหลเข้ามาข้างใต้ อีกจุดหนึ่งคือ ปีกนก  ค.ส.ล หรือแนวรอยต่อที่กระเบื้องหลังคาชนกับผนังที่ต้องมีวัสดุครอบปิดไว้ บางบ้านใช้ปูนปั้นเป็นตัวยึดปิดรอยต่อซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วซึมมากที่สุด หากเนื้อคอนกรีตเกิดการเสื่อมสภาพ ติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน เสียบเหล็กยึดผิดวิธี ขนาดของปีก ค.ส.ล. สั้นกว่ามาตรฐาน ติดตั้งสูงหรือต่ำเกินไป จะเกิดการแตกร้าวรั่วซึมได้ง่ายมาก

6. ความชันของหลังคา

องศาลาดเอียงของหลังคาโดยวัดจากอเสขึ้นไปถึงใต้จันทัน ซึ่งวัสดุมุงหลังคาแต่ละประเภทมีองศาความชันที่เหมาะสมต่างกัน โดยปกติหากเป็นงานกระเบื้องจะมีระยะความชัน ประมาณ 15-45 องศา เจ้าของบ้านจำเป็นต้องตรวจเช็คคุณสมบัติของวัสดุหลังคานั้น ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แบบบ้านที่นำมาใช้จะเหมาะสมกับหลังคาที่เลือก เพราะหากออกแบบผิดหรือติดตั้งไม่ได้ระดับ จะทำให้สัดส่วนไม่ลงตัว เช่น ความชันหลังคาน้อยเกินไป ส่งผลให้เวลาฝนตกทั้งน้ำฝนและแรงลมจะตีย้อน เกิดการไหลย้อนของน้ำเข้าสู่ซอกหลังคา เป็นสาเหตุของการรั่วซึมได้

7. ช่างประสบการณ์น้อย

ปัญหาใหญ่ที่สุดอีกเรื่อง คือ ความไม่รอบรู้ในงานช่าง ปัจจุบันผู้รับเหมาหลาย ๆ บริษัท พยายามลดต้นทุนในการจ้างแรงงาน จึงหาช่างค่าแรงต่ำที่ขาดประสบการณ์งานก่อสร้างมาร่วมงาน จึงอาจขาดความรู้ ความรอบคอบในการดำเนินงาน แม้วัสดุที่เจ้าของบ้านเลือกมาใช้จะดีแค่ไหน แต่หากช่างติดตั้งทำผิดวิธี ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับบ้านของเราได้

รอยรั่วน้ำซึมบนหลังคา

ทั้ง 7 ข้อที่ผ่านมา เป็นจุดที่ต้องระมัดระวัง เพราะแต่ละจุดล้วนเป็นจุดอ่อนที่เสี่ยงต่อหลังคารั่วซึมภายหลัง แต่หากบ้านไหนที่เข้าอยู่อาศัยแล้ว ติดตั้งหลังคาเสร็จเรียบร้อย ให้หมั่นสังเกตฝ้าเพดาน หากมีจุดด่าง จุดดำหรือเชื้อรา ให้รีบตรวจเช็คทันที เพราะจุดเหล่านี้มักเกิดจากน้ำหยดลงฝ้าเพดาน หรือหากมีช่องเปิดฝ้าเพดาน ให้หาบันไดปีนขึ้นไปดูใต้ฝ้า เพื่อสอดส่องหาช่องแสงที่เห็นได้ชัด ช่องแสงเหล่านี้อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้น้ำไหลย้อนหรือรั่วซึมได้ครับ

หลังคารั่วเพดานเสียหาย

หลังคาบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ต้องได้รับการคำนวณและออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงต้องตรวจสอบกันตั้งแต่แบบก่อสร้าง ตรวจเช็คสเปคของวัสดุมุงหลังคา เพื่อให้การรับน้ำหนักและองศาเหมาะสมกับวัสดุ รวมทั้งดำเนินการติดตั้งโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ที่ผ่านการอบรมหรือเรียนรู้มาโดยเฉพาะ เพราะหากคำนวณผิดพลาด หรือติดตั้งผิดวิธี อาจเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ส่งความเสียหายให้กับบ้านของเราภายหลังได้ครับ


ด้วยปัญหาเหล่านี้เอง ทางเอสซีจี  จึงมีบริการ SCG ROOF EXPERT ผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาจาก เอสซีจี สามารถขจัดทุกปัญหาหลังคาที่กล่าวมาได้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่การติดตั้งหลังคาสำหรับบ้านสร้างใหม่ให้สวยงาม ปลอดภัย ไม่รั่วซึม ด้วยสินค้าหลังคาและอุปกรณ์การติดตั้งหลังคาที่ได้มาตรฐานสูง อาทิ ชุดอุปกรณ์ยึดครอบระบบแห้ง เอสซีจี ที่ช่วยป้องกันปัญหาหลังคารั่วบริเวณสันหลังคาและตะเข้สัน แผ่นปิดรอยต่อ เอสซีจี ที่ถูกนำมาแก้ไขปัญหาตรงจุดรอยต่อหลังคา สามารถดัดขึ้นรูปตามลอนกระเบื้อง ติดแนบแน่นกับพื้นผิวหลังคาได้ดี หรือจะการแก้ไขปัญหาหลังคาบ้านเก่าที่สร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของบ้าน โดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาของ เอสซีจี รับประกันด้วยประสบการณ์การติดตั้งหลังคาระดับมืออาชีพ จึงมั่นใจตลอดอายุการใช้งานว่าจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศประเทศไทยได้ดี ต่อให้ออกแบบหลังคาให้สวยงามสลับซับซ้อนแค่ไหนก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วซึม

หลังคาไม่ใช่แค่อะไรก็ได้ เพราะหลังคามีส่วนประกอบมากมายที่ควรรู้ ถ้าไม่อยากยุ่งยากเรื่องหลังคา ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาจาก SCG ได้ที่ SCG Experience, SCG Home Solution และ SCG Roofing Center

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCG Contact Center: 02-586-2222 หรือ http://roofexpert.scgbuildingmaterials.com http://credit-n.ru/electronica.html http://www.tb-credit.ru/news.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด