เมนู

บอกลาบ้าน 22 ปีที่เคยเก่า ตกแต่งสดใสสไตล์ญี่ปุ่น

ไอเดียรีโนเวทห้องเก่า

รีโนเวทห้องเก่า 22 ปี

เคสนี้เป็นการรีโนเวทอพาร์ทมเนต์เก่ามากว่า 20 ปี ที่ดูทรุดโทรมเต็มไปด้วยความผุพังและคราบเชื้อรา เจ้าของใหม่เป็นหมอจึงต้องการบ้านที่ดูสะอาดและผ่อนคลายหลังจากการทำงานหนัก นักออกแบบกำหนดสไตล์ให้เป็นธรรมชาติและเรียบง่ายแบบโมเดิร์นมินิมอลตามความชอบของเจ้าของ เพียงเวลาไม่นานจากห้องเก่าคร่ำคร่าไร้ชีวิตชีวาก็กลายมาเป็นบ้านหลังเล็กที่ออกแบบใหม่สไตล์ญี่ปุ่นให้ความสะดวกสบายและอบอุ่น พร้อมต้อนรับกลับมาในทุก ๆ วัน

ที่มาzhuanlan.zhihu.com
เนื้อหาบ้านไอเดีย

ภายนอกก่อนปรับปรุง

ก่อนปรับปรุง : ปัญหาของบ้านเดิมมีทั้งภายในภายนอก คือ ภายนอกเต็มไปด้วยราดำ มีพื้นที่ระเบียงที่เต็มไปด้วยข้างของจิปาถะ และไม่เป็นส่วนตัวด้านหน้า ภายในโครงสร้างของบ้านเต็มไปด้วยผนังรับน้ำหนักซึ่งเป็นปัญหาที่ยากที่สุด เพราะผนังเป็นตัวกั้นทางเดินของแสงและลม การรื้อต้องทำอย่างระมัดระวัง บ้านไม่มีช่องทางรับแสงมากนักเพราะผนังด้านข้าง 2 ด้านที่ติดกับบ้านหลังอื่น บ้านจึงมืด ชื้น และอับ

หลังปรับปรุง : ส่วนหน้าบ้านโซนระเบียงส่วนฐานที่ดูเก่าใช้สีขาวทาทับง่ายๆ ตั้งแต่ราวระเบียงขึ้นมาปรับปรุงใหม่ใส่ผนังกระจกใส หน้าต่าง และหลังคาสกายไลท์ ทำให้จุดนี้ดูสะอาดตาทันสมัยขึ้น รับแสงได้มากจากด้านหน้าแต่มีความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องกังวลเรื่องฝนทำให้เกิความชื้น

ระเบียงหลังปรับปรุง


ระเบียงทางเข้าบ้านหลังปรับปรุง

เมื่อเข้ามาดูด้านในส่วนระเบียง เหมือนเข้าสู่โลกอีกใบที่เต็มไปด้วยความน่ารักปนโรแมนติก ด้วยการจัดให้เหมือนที่นั่งในสวน ปูพื้นด้วยไม้ มีกระถางต้นไม้ กระถางแขวนผนัง ผ้าม่านโปร่ง ๆ สีขาว และเสาที่พันด้วยเชื่อกป่านเอาไว้ให้แมวฝนเล็บเล่น บริเวณบ้านได้รับแสงจากระเบียงที่โปร่งใสขึ้น ผนังระเบียงด้านนอกทำให้บ้านเหมือนมีปราการปกป้องเพิ่มความปลอดภัยกับพื้นที่ใช้ชีวิตภายในบ้านอีกชั้น

ก่อนปรับปรุง : ถัดจากระเบียงทางเดินเดิมจะเป็นทางเข้าบ้าน ภายในทาผนังสีขาวปูพื้นด้วยกระเบื้องสีหม่น ๆ ขนาดใหญ่ ซึ่งยิ่งทำให้ห้องดูเล็กลงไปอีก

ห้องนั่งเล่นหน้าบ้านหลังปรับปรุง

หลังปรับปรุง :  เปลี่ยนโฉมมุมนั่งเล่นใหม่หมดแม้ว่าสีจะเน้นสีขาวเหมือนเดิม แต่องค์ประกอบอื่น ๆ ทำให้ห้องดูกว้างขึ้นและน่าอยู่ สำหรับห้องเล็ก ๆ การบริหารพื้นที่เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก สถาปนิกจึงเพิ่มการใช้งานพื้นที่แยวตั้งด้วยการบิลท์ด้านหนึ่งของผนังเป็นชั้นวางของเป็นช่อง ๆ เพื่อลดการใช้พื้นที่แนวนอน ส่วนแอร์เดิมย้ายไปอยู่อีกด้านของผนังเหนือมุมนั่งเล่น ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับชั้นวาง เหลือพื้นที่ว่างตรงกลางให้ใช้งานอิสระค่อนข้างมาก

มุมนั่งเล่นเล็ก ๆ

โซฟาดึงออกมาเป็นเตียงได้

พื้นปูด้วยวัสดุลายไม้เข้าชุดกับชั้นวางและโต๊ะทานข้าว ทำให้บ้านเต็มไปด้วยความอบอุ่นนุ่มนวล เมื่อเดินเข้ามาแล้วรู้สึกถึงความผ่อนคลายได้ทันที บ้านเหมือนมีผนังหน้าบ้าน 2 ชั้นจึงสะดวกใจที่จะเปิดประตูบ้านออกรับแสงรับลมสบาย ๆ เป็นบางครั้ง ส่วนมุมนั่งเล่นในช่วงกลางวันสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันของโซฟาดึงออกมาเป็นเตียงนอนเล่นหรือเป็นห้องนอนแขกได้ ยิ่งประหยัดพื้นที่ได้อีกและทำให้บ้านนี้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมาก

ก่อนปรับปรุง : โซนรับประทานอาหารที่มีประตูเปิดต่อเนื่องเข้าไปยังครัว ยังคงมืดทึมและดูชื้น

มุมทานอาหารเล็ก ๆ

หลังปรับปรุง : โซนทานอาหารที่บิลท์เป็นม้านั่งยาวต่อเนื่องมาจากโซฟานั่งเล่น แต่ลดขนาดเบาะลงหักมุมเล็กน้อย เพื่อให้สามารถวางชุดโต๊ะอาหารเล็ก ๆ ได้พอดี จากที่ต้องวางโต๊ะใหญ่ ๆ กีดขวางทางสัญจรในบ้าน หากจัดการดี ๆ ก็สามารถนั่งได้สบายและจุคนเพิ่มได้หลายคนโดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่

ห้องครัวก่อนปรับปรุง

ก่อนปรับปรุง : ห้องครัวแคบ ๆ เดิมวางเป็นรูปตัว U ไม่มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งการล้าง การเตรียมอาหาร และเตาปรุง

ครัวโมเดิร์นมินิมอล 2 สเตชัน

หลังปรับปรุง : เปลี่ยนพื้นใหม่เป็นกระเบื้องสีเทาพื้นผิวด้านที่ทำความสะอาดง่าย รื้อเคาน์เตอร์เตาเดิมออกเพื่อเพิ่มพื้นที่แนวลึก จากครัวรูปตัว U เปลี่ยนเป็นผังครัวแบบ Galley คือมีเคาน์เตอร์สองแถววางขนานกัน เว้นพื้นที่ว่างตรงกลาง ทำให้สามารถหมุนตัวสลับไปมาได้ง่าย ส่วนบานตู้จากเดิมเป็นบานเปิดเปลี่ยนมาเป็นบานลิ้นชักสลับบานเปิด เพื่อไม่ให้กันพื้นที่และบานเปิดชนกัน ช่วงหน้าต่างเปลี่ยนใหม่ เพดานเปลี่ยนใส่ skylight รับแสงธรรมชาติเพิ่มจากด้านบนในช่วงกลางคืน ลืมครัวที่เคยมืดและอับไปได้เลย

ครัวเล็ก ๆ ตกแต่งกระเบื้องสีขาว

ห้องน้ำก่อนปรับปรุง

ก่อนปรับปรุง : ห้องน้ำมีขนาดเล็กใช้งานไม่สะดวก แยกส่วนแห้งและเปียกไม่ได้

หลังปรับปรุง : ในพื้นที่เท่าเดิมแต่ปรับเปลี่ยนทิศทางเล็กน้อยก็สามารถแยกส่วนแห้องและเปียกได้ เริ่มจากรื้อพื้นและผนังเปลี่ยนไหม่ เปลี่ยนกระเบื้องผนังเป็นสี่เหลี่ยมสีขาวเล็ก ๆ ที่พรางตาให้ห้องดูกว้างขึ้น รื้อโถส้วมเดิมออกเปลี่ยนมาเป็นโถแบบลอยตัวติดผนังอีกด้าน ตรงที่เป็นโถเดิมยกพื้นขึ้นเล็กน้อยทำเป็นโซนอาบน้ำ เอาถังแก๊สเดิมที่ติดบนผนังออก ยกซิงค์ล้างแบบขาตั้งทิ้งไปเปลี่ยนเป็นซิงค์ลอยตัว วิธีการติดแบบลอยตัวนี้ทำให้ห้องน้ำดูโล่งขึ้น ทำความสะอาดง่ายขึ้นมาก

ตกแต่งห้องน้ำเล็ก ๆ

ห้องนอนก่อนปรับปรุง

ก่อนและหลังปรับปรุง : ห้องนอนไม่ได้ตกแต่งอะไรมาก เพียงแค่รื้อพื้นใส่วัสดุลายไม้ รื้อตู้บิลท์อินติดผนัง ยกตู้ใบใหญ่ปลายเตียงออก เปลี่ยนเตียงใหม่และเฟอร์นิเตอร์เป็นงานไม้สีอ่อน ๆ สไตล์โมเดิร์นมินิมอล ผ้าม่านโปร่ง ๆ ที่อนุญาตให้แสงเข้ามาได้บ้างก็เปลี่ยนบรรยากาศห้องจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ห้องนอนสไตล์โมเดิร์นมินิมอล

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ในครัวพื้นที่น้อยจะทำครัวแบบด้านเดียว (ครัวรูปตัว I) หรือครัวแบบ Galley ก็ได้แล้วแต่ความต้องการใช้งาน ครัว Galley จะมีพื้นที่ใช้งานมากกว่า เพราะเป็นเคาน์เตอร์สองแถววางขนานกัน เว้นพื้นที่ว่างตรงกลาง ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถหมุนตัวสลับไปมาใช้พื้นที่ต่าง ๆ ได้สะดวก เหมาะกับครัวขนาดเล็ก หรือบ้านที่มีห้องครัวตามแนวลึก จุดที่ต้องให้ความสำคัญคือระยะห่างระหว่างเคาน์เตอร์ ไม่ควรแคบจนเกินไป ประมาณ 1.2-1.5 เมตรกำลังดี  หากห่างเกินไปอาจทำให้ระยะการใช้งานไกลเกินเอื้อมถึงครับ ส่วนตำแหน่งเตา และซิงค์ล้าง รวมไปถึงบานตู้ควรจัดวางให้เยื้องกัน เมื่อไม่ให้ชนกันเมื่อต้องเข้าใช้งานพร้อมกัน 2 คน

แปลนบ้าน

แปลนบ้านก่อนปรับปรุง

แปลนบ้านหลังปรับปรุง

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งบ้าน


โพสต์ล่าสุด