เมนู

7 เทคนิคติดตั้งแอร์ให้จบงานสวย ไม่รกตา

ติดตั้งแอร์ ไม่ให้โชว์ท่อ

ติดตั้งแอร์ให้จบงานสวย

การเลือกตำแหน่งในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่อาจไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ เพราะหากไม่ได้วางแผนใด ๆ ไว้ล่วงหน้าเลย พร้อมกับปล่อยให้ช่างทำงานอย่างอิสระ ผลลัพธ์ที่ได้ ช่างอาจติดในตำแหน่งที่ดูไม่เหมาะสม และอาจทำให้ภายในห้องของเรามีท่อแอร์เดินลอยบนผนังพาดไปพาดมา ส่งผลให้ผนังห้องดูรกสายตาในทันที ก่อนติดตั้งแอร์จึงจำเป็นต้องวางแผนให้ดีล่วงหน้า พร้อมกับระบุจุดติดตั้งให้ช่างได้ทราบอย่างชัดเจน เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” นำ 7 เทคนิคในการติดตั้งแอร์ เพื่อให้ภายในห้องของเราดูสวยไม่รกตามาฝากครับ

สนับสนุนโดย : Mitsubishi Heavy Duty

เทคนิคติดตั้งแอร์

โดยทั่วไปการติดตั้งแอร์บ้าน กว่า 90% ผู้ใช้นิยมเลือกแอร์ติดผนัง เพราะเป็นแอร์ที่มีความเรียบง่าย งานติดตั้งไม่ซับซ้อน ที่สำคัญช่วยประหยัดงบตั้งแต่ตอนซื้อกระทั่งตอนใช้ เพราะช่วยประหยัดค่าไฟได้ดีกว่าแอร์ประเภทอื่น ๆ ปัจจุบันแอร์ติดผนังมีให้เลือกหลายรุ่น หลายแบรนด์ รองรับการใช้งานตั้งแต่ 8,000 – 30,000 BTU แต่ในความเรียบง่ายบางครั้งก็ดูจะง่ายเกินไป หลายคนติดตั้งไปแล้วเจอปัญหาช่างติดตั้งให้ไม่สวยงาม ได้แต่บ่นช่างและจำยอมใช้ไป ความเป็นจริงแล้วช่างเขาก็มีหน้าที่แค่ติดตั้งครับ เราในฐานะผู้ใช้งาน เจ้าของบ้าน ควรวางแผนให้รอบคอบตั้งแต่ต้น พร้อมกับแจ้งตำแหน่งให้ชัดเจน

1.เช็คขนาดมิติเครื่องของรุ่นแอร์ที่ต้องการติดตั้ง

ขนาดแอร์ติดผนังโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับขนาด BTU ผู้อ่านจึงจำเป็นต้องทราบก่อนว่า ห้องที่ต้องการติดแอร์มีพื้นที่กี่ตารางเมตร ควรติดตั้งแอร์กี่ BTU (คำนวณ BTU แอร์)  โดยทั่วไปแอร์ติดผนังมีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 80 -110 cm และสูงประมาณ 30-35 cm แต่หากให้ชัวร์เป๊ะ สามารถเช็คขนาดที่ชัดเจนได้จากใบโปรชัวร์ซึ่งมักมีแจกในห้างร้านที่จัดจำหน่าย หรือดูข้อมูลจากเว็บไซต์ผู้จำหน่ายได้เลยครับ ตัวอย่างแอร์ Mitsubishi Heavy Duty มีขนาดมิติตัวเครื่องบอกไว้ชัดเจนบนเว็บไซต์ mitsuheavythai.com  เช่นมีความกว้าง 92 cm ลึก 22 cm และสูง 30.5 cm ส่วนคอมเพรสเซอร์แอร์มีขนาด  60 x 80 x 29 cm

เลือก BTU แอร์

การติดตั้งจริงจำเป็นต้องเผื่อระยะ บน-ล่าง และด้านข้าง ซ้าย-ขวา อย่างน้อยด้านละ 10-20 cm เช่น แอร์มีความสูง 30.5 cm ควรเผื่อระยะใต้ฝ้า 10-25 cm ดังนั้นพื้นที่ติดแอร์ ควรมีความกว้างและสูงประมาณ 110 x 50 cm เป็นอย่างน้อย มิเช่นนั้นแอร์จะติดกับฝ้าเพดานมากเกินไปและส่งผลให้จุดดังกล่าวแลดูอึดอัดตา

2.วางตำแหน่งแอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การติดตั้งแอร์แต่ละห้องมีความเหมาะสมที่แตกต่างกัน เช่น ห้องนอนควรติดตั้งแอร์ไว้บริเวณผนังข้างเตียง อาจฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวา ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของห้องนั้น ๆ ส่วนจุดที่ควรเลี่ยงติดตั้งคือบริเวณหัวเตียง เพราะโดยทั่วไปแอร์จะมีความหนานูนออกจากผนังประมาณ 30 cm หากแอร์อยู่เหนือหัวนอนย่อมส่งผลให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมากดทับ และยากต่อการตกแต่งผนังหัวเตียงให้ดูสวยงามได้

ตำแหน่งติดตั้งแอร์

กรณีพื้นที่ผนังด้านข้างมีตำแหน่งติดตั้งที่ไกลเกินไป ผู้ใช้อาจกังวลว่าลมแอร์จะส่งมาไม่ถึง ความเป็นจริงแล้วหลักการทำงานของแอร์จะควบคุมความเย็นทั่วบริเวณทั้งห้องให้มีอุณหภูมิสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน และปัจจุบันแอร์รุ่นใหม่ ๆ มีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปมากครับ อย่างแอร์ Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Fuyu Series มีฟังก์ชัน Jetflow ออกแบบให้สามารถส่งลมเย็นได้ไกลเริ่มต้นตั้งแต่ 11 เมตรถึงสูงสุด 17 เมตร (โดยขึ้นอยู่กับรุ่นและขนาด Btu/h) ซึ่งนับว่ามากเกินพอสำหรับการใช้งานทั่วไป เพราะโดยเฉลี่ยห้องต่าง ๆ มีระยะ 3-6 เมตรเท่านั้น พร้อมกับฟังก์ชัน 3D Auto ที่ช่วยกระจายลมอัตโนมัติอย่างอิสระ โดยกระจายไปทางแนวตั้ง 6 รูปแบบ แนวนอน 8 รูปแบบ ช่วยกระจายลมให้อุณหภูมิเท่ากันทั่วทุกมุมห้อง หรือ รุ่น Deluxe ขึ้นไปทุกรุ่นของ Mitsubishi Heavy Duty มีฟังก์ชันเกี่ยวกับ Installation setting กรณีจำเป็นต้องติดตั้งในมุมหรือองศาที่ไม่เหมาะ สามารถเซ็ตอัพตั้งค่าบานสวิงได้ จึงสามารถเลือกจุดติดตั้งโดยเน้นความสวยงามของห้องได้เลย แม้จุดติดตั้งแอร์จะอยู่ไกลตัว ก็หมดห่วงเรื่องความเย็นครับ

3.หาจุดศูนย์กลางให้ลงตัว

เมื่อได้ขนาดของแอร์และบริเวณที่จะติดตั้งแล้ว ให้ทำการวัดขนาดพื้นที่รวมในจุดนั้น ๆ จากนั้นหาจุดศูนย์กลางของพื้นที่ดังกล่าว คำว่าจุดศูนย์กลางนี้ไม่ได้หมายถึงกลางผนัง แต่ให้มีจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง เช่น กลางหน้าต่าง, กลางพื้นที่ว่าง, ตัวอย่างภาพประกอบนี้ วัดจากกลางผนัง โดยวัดจากขอบหน้าต่างมาถึงขอบประตู

ติดตั้งแอร์อย่างไรให้สวย

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำแนวทางนี้เป็นเพียงวิธีการเบื้องต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วภายในห้องอาจมีผนังจุดอื่น ๆ ที่เหมาะสมกว่า และไม่จำเป็นต้องอยู่ในจุดกึ่งกลางเสมอไป สิ่งสำคัญคือติดตั้งแล้วต้องดูสมดุลกับจุดนั้น ๆ เช่น กรณีเป็นผนังโล่ง ๆ อาจทำการแบ่งผนังด้วยกฎ 3 ส่วน โดยวัดขนาดความกว้างของผนังรวมและแบ่งให้เท่ากัน 3 ส่วน ตามเส้นสีชมพู จากนั้นเลือกติดตั้งบริเวณกึ่งกลางของส่วนใดส่วนหนึ่ง ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ เส้นสีฟ้าคือกึ่งกลางของส่วนแรกครับ

ตำแหน่งติดตั้งแอร์

4.บ้านสร้างใหม่ ควรจบงานท่อแอร์ก่อนฉาบผนัง

หากตำแหน่งแอร์ภายใน กับคอมเพรสเซอร์แอร์นอกอยู่ไม่ห่างกันมาก มักไม่เป็นปัญหาครับ เพราะช่างสามารถเจาะผนังหลังแอร์ เพื่อให้ท่อแอร์โผล่ออกนอกผนัง สามารถเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์แอร์ได้เลย แต่โดยทั่วไปมักไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากตำแหน่งดังกล่าวอยู่ตรงกับพื้นที่ใช้งานนอกบ้านหรือเป็นผนังของอีกห้อง หากมีคอมเพรสเซอร์แอร์มาวางเกะกะ ย่อมไม่เหมาะสมอย่างแน่นอนใช่ไหมครับ

สำหรับบ้านที่กำลังก่อสร้าง แนะนำให้รีบวางแผนติดตั้งแอร์ไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลยครับ เพราะการติดตั้งท่อแอร์ตั้งแต่ขั้นตอนงานก่อสร้าง จะช่วยให้ผนังบ้านของเราดูสวยสะอาดตา โดยช่างจะทำการกรีดผนังและฝังท่อแอร์และท่อน้ำทิ้งเข้าไปก่อน หลังจากฉาบทาสีแล้วผนังจะดูสวยเรียบ ดูไม่ออกเลยว่าในผนังมีท่อแอร์ฝังอยู่

กรีดผนังเดินท่อแอร์

การเดินท่อแอร์ลักษณะนี้ส่วนใหญ่นิยมเดินขึ้นฝ้าเพดาน จึงสามารถเลือกตำแหน่งคอมเพรสเซอร์แอร์ได้อย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องวางคอมเพรสเซอร์ให้อยู่ผนังฝั่งเดียวกับแอร์ แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่ ระยะห่างระหว่างแอร์กับคอมเพรสเซอร์ ไม่ควรห่างเกิน 20 เมตร (ขึ้นอยู่กับสเปกแอร์รุ่นนั้น ๆ) อย่างไรก็ตามการติดตั้งด้วยวิธีนี้จะมีความยากซับซ้อนกว่าการเดินท่อครอบรางทั่วไป จำเป็นต้องหาทีมช่างที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง เพราะหากชำรุดหรือรั่วขึ้นมาภายหลัง ย่อมแก้ไขได้ยากกว่าการเดินท่อแอร์แบบทั่วไปครับ

สำหรับผู้อ่านที่สนใจติดตั้งแอร์ Mitsubishi Heavy Duty ปัจจุบันทาง Mitsubishi Heavy Duty มีทีมช่างเฉพาะทางที่ผ่านการอบรมเทรนด์งานคอยให้บริการ จึงมั่นใจในทักษะประสบการณ์และการให้บริการหลังการขายได้เลยครับ ทั้งงานติดตั้ง งานล้าง งานซ่อม Heavy Jet Team จาก Mitsubishi Heavy Duty ก็สามารถบริการได้ครบ

5.ปิดท่อแอร์ด้วยงาน Built-in

งานติดตั้งแอร์ร่วมกับบ้านเก่าหรือบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว ย่อมมีข้อจำกัดมากกว่าบ้านที่กำลังก่อสร้าง โดยเฉพาะข้อจำกัดเรื่องการฝังท่อแอร์ลงในผนัง เพราะหากกรีดผนังภายหลังย่อมส่งผลให้ผนังบ้านมีรอยซ่อมแซม อาจเป็นวิธีที่ไม่คุ้มนัก หลายบ้านจึงเลือกที่จะทำตู้เก็บของ โดยออกแบบ Built-in ตู้ขึ้นมา กำหนดให้มีช่องสำหรับแอร์โดยเฉพาะ ส่วนจุดอื่น ๆ ใช้สำหรับจัดวางของ เก็บของ Built-in จะปิดซ่อนท่อแอร์ไปโดยอัตโนมัติ นับเป็นวิธีที่ได้ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานไปพร้อม ๆ กันครับ

บิลท์อินตู้ซ่อนแอร์

6.ไม่มีพื้นที่ผนังให้ติดตั้ง จบสวยด้วยแอร์ฝังฝ้า

ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับบ้านสไตล์โมเดิร์น ที่เจ้าของบ้านต้องการความโปร่งโล่ง สถาปนิกจึงมักออกแบบผนังบ้านด้วยบานกระจกสูงจรดคาน ส่งผลให้ไม่มีพื้นที่ผนังให้ติดตั้งแอร์เลยครับ บ้านโมเดิร์นส่วนใหญ่จึงเลือกใช้แอร์ฝังฝ้า หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วแอร์จะดูเรียบเนียนไปกับฝ้าเพดานจึงหมดปัญหาไม่มีพื้นที่ผนังให้ติดแอร์ไปเลยครับ

ติดตั้งแอร์สี่ทิศทาง

การทำงานของแอร์ 4 ทิศทาง บางรุ่นสามารถแยกการกระจายลมได้อย่างอิสระ อย่างรุ่น FDT Series จากแบรนด์ Mitsubishi Heavy Duty สามารถปรับแรงลมได้ 6 ระดับ เป็นอิสระทั้ง 4 ทิศทาง มาพร้อมกับเทคโนโลยี Draft Prevention Panel กระจายลมเย็นโดยไม่สัมผัสตัว จึงได้รับความเย็นแบบสบายตัวไม่หนาวสั่นจนเกินไป มีให้เลือก 2 สี ขาวและดำ จึงเหมาะกับบ้านทุกสไตล์ การันตีความสวยงามด้วยรางวัล Good Design Award ด้วยครับ

แอร์สี่ทิศทางสีดำ

แอร์ 4 ทิศทางเหมาะอย่างยิ่งสำหรับบ้านสมัยใหม่ที่นิยมออกแบบห้องนั่งเล่นลักษณะ Open Plan โดยมีโซนทานอาหาร ครัวเบา โซฟานั่งเล่น หรือมุมอเนกประสงค์อื่น ๆ รวมไว้ให้ห้องเดียวกัน ผู้ใช้จึงกำหนดได้ว่าจะให้ลมแอร์ส่งลมเย็นไปในทิศทางใดขณะใช้งาน หรือกระจายลมพร้อม ๆ กันทั้ง 4 ทิศทาง หากมี BTU ที่เหมาะสม เพียงติดตั้งตัวเดียวก็สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั้งห้องครับ อย่างแอร์ 4 ทิศทางของ Mitsubishi Heavy Duty FDT Series มีให้เลือกตั้งแต่ 18,000 – 49,000 BTU

7.เลือกแอร์ที่มีดีไซน์สวยงาม

แม้จะเลือกตำแหน่งแอร์ได้ดีแค่ไหน หากท้ายที่สุดแล้วแอร์ที่ซื้อมามีรูปทรงเทอะทะ ความสวยงามย่อมไม่เกิดขึ้นได้ การเลือกซื้อแอร์จึงไม่เพียงแค่มองที่คุณสมบัติเท่านั้น แต่จำเป็นต้องดูรูปลักษณ์ภายนอกร่วมด้วยครับ ตัวอย่างแอร์ติดผนัง Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Fuyu Series เน้นการออกแบบด้วยเส้นสายโค้งมน จึงช่วยลดทอนความเป็นกล่องเหลี่ยม ๆ อย่างเห็นได้ชัด ช่องปล่อยลมออกแบบให้สามารถเปิดกว้างได้ขณะใช้งาน และเก็บได้เรียบเนียนเมื่อปิดการทำงาน ทั้งยังออกแบบให้มีความบางกว่าแอร์ทั่วไปเพียง 22 cm เท่านั้น ทำให้แลดูแนบเนียนไปกับผนังห้อง ทั้งยังได้รางวัล A Design Award ในปี 2017 อีกด้วย

และนอกจาก Fuyu Series จะได้รางวัลการันตีเรื่องความสวยงามแล้ว ฟังก์ชันอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ครบครันเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยี Inverter แท้ทั้งระบบ ประกอบด้วยแผงวงจรอัจฉริยะ มอเตอร์กระแสตรง คอมเพรสเซอร์กระแสตรงและวาล์วอิเล็คทรอนิกส์ EEV ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการควบคุมระบบทำความเย็นต่าง ๆ ตั้งแต่การรักษาระดับอุณหภูมิของห้องไปจนถึงประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ทำให้มั่นใจได้ว่าประหยัดค่าไฟและเย็นฉ่ำแน่นอน

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ต้องกล่าวถึงสำหรับ Fuyu Series เลยก็คือเรื่องของฟังก์ชัน Motion Sensor ที่คอยจับความเคลื่อนไหวของคนที่อยู่ในห้อง สามารถตั้งค่าโหมด Stand by ให้แอร์หยุดทำงานชั่วคราวเมื่อไม่มีคนอยู่ และทำงานใหม่อีกครั้งเมื่อเดินกลับเข้ามาในห้อง และหากไม่มีคนอยู่เกิน 12 ชั่วโมง แอร์ก็จะหยุดการทำงานโดยอัตโนมัติ เป็นอีกคุณสมบัติที่ช่วยเสริมในเรื่องของความประหยัดไฟได้เป็นอย่างดี

ผนัง Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Fuyu Series

ไม่เพียงเท่านี้ยังมีฟังก์ชันอันเป็นเอกลักษณ์ของ Mitsubishi Heavy Duty ในรุ่น Fuyu Series อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบช่องลมแบบ Jet Flow ที่ทำให้สามารถส่งลมได้ไกล, Hi power เร่งการทำงานของเครื่องให้เย็นเร็วภายใน 15 นาที, 3D Auto ระบบกระจายลมอัตโนมัติให้เย็นทั่วห้อง หรือฟังก์ชันฟอกอากาศอย่าง Self Clean Operation และ Allergen Clear Operation ที่ช่วยลดกลิ่นอับ กำจัดสารก่อภูมิแพ้ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา เท่านั้นยังไม่พอยังมีแผ่นฟอกอากาศที่ช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 และสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ มาให้ ที่สำคัญยังรับประกัน 5 ปีทุกชิ้นส่วนอีกด้วย

อีกจุดเล็ก ๆ ที่หลายบ้านมักมองข้าม โดยทั่วไปแอร์ใหม่แต่ละรุ่น มักติดสติกเกอร์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ไว้บริเวณหน้าแอร์ หลังจากช่างติดตั้งแอร์เรียบร้อยแล้ว แนะนำให้แกะสติกเกอร์ทั้งหมดนี้ออกให้หมด จะช่วยให้แอร์ของเราดูสวยเนียนตากว่าเดิมเยอะขึ้นเลยครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : https://www.mahajak.com/th/mitsuheavythai | แฟนเพจ : Mitsubishi Heavy Duty Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด