เมนู

Brick Box บ้านตึกโชว์อิฐ ปิดอย่างไรให้ภายในสว่าง

บ้านตึกสี่ชั้น

บ้านตึกหน้าแคบลึกที่โปร่งสว่าง

ความชอบและความจำเป็นบางครั้งก็สวนทางกัน บางคนอยากอยู่บ้านเดี่ยวที่มีบริเวณส่วนตัวสบายๆ แต่ที่อยู่อาศัยเดิมเป็นตึกแถวก็ต้องรับช่วงต่อ อันที่จริงตึกแถวก็ไม่ได้แย่แม้จะไม่มีบริเวณและอาคารเก่าส่วนใหญ่จะขาดแสงภายในอาคาร เพราะพื้นเพดานระหว่างชั้นจะเทปิดหมดยกเว้นบันได แต่ข้อดีของทำเลตึกแถวคือ มักจะอยู่ในเขตชุมชน  หาของทานง่าย การสัญจรไปมาสะดวก เมื่อบวกลบคูณหารกันแล้ว หากเป็นเจ้าของบ้านในทำเลที่ดีก็เลือกที่จะอยู่ในตึกเก่า แล้วรีโนเวทใหม่ให้ตอบโจทย์ชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มเช่นกันครับ

ออกแบบ : Ar. Dhanesh Gandhi
ภาพถ่าย : Pranit bora Studio
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

ผนังตึกแถวตกแต่งอิฐ

Brick Box เป็นอาคารสี่ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่จำกัดในใจกลางเมือง Kolhapur ร ที่อยู่อาศัยนี้อยู่เหนือความท้าทาย ด้วยโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบลึกกว้าง 5 เมตร x 12 เมตร ผนังด้านเหนือและด้านใต้ถูกขนาบข้างทั้ง 2 ด้าน แน่นอนว่าทำให้บ้านได้รับแสงและการระบายอากาศจำกัดอยู่แค่ด้านหน้ากับด้านหลัง แต่เนื่องจากอาคารด้านหน้าหันออกทิศตะวันตก จึงต้องดึงแสงเข้ามาภายในอย่างมีชั้นเชิงเพื่อไม่ให้บ้านร้อน นี่จึงเป็นที่มาของการก่อผนังด้านหน้าที่เป็นที่มาของชื่อบ้านนี้

รีโนเวทตึกแถวด้านหน้าตกแต่งอิฐ

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

รีโนเวทตึกแถวด้านหน้าตกแต่งอิฐ

จากด้านหน้าเราจะเห็นว่าชั้น 3-4 ของบ้านจะปิดทึบด้วยผนังอิฐขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนนี้จะตรงกับห้องนอน อิฐจะช่วยลดทอนความร้อนที่สาดส่งตรงผนังนี้ได้เป็นอย่างดีทำให้ภายในไม่ร้อน แต่เห็นผืนอิฐทึบๆ อย่างนี้ภายในบ้านกลับยังสว่างอยู่ เพราะมีหน้าต่างเปิดรับแสงข้างๆ ทั้งสองด้าน และยังมีการออกแบบช่องแสงรูปแบบอื่นๆ ภายในด้วย

ระเบียงกว้างๆ ที่ชั้นบน

ภายนอกทาสีสีน้ำตาลธรรมชาติที่เป็นกลางๆ สีดิน Earth tone เพื่อเน้นส่วนหน้าของอิฐเป็นหลัก นอกจากนี้สถาปนิกยังลดความเทอะทะของมวลทั้งหมด ด้วยการใส่กรอบสี่เหลี่ยมโลหะเหนือระเบียง เพิ่มลักษณะพิเศษให้กับด้านหน้าอาคารพร้อมกับใส่เส้นสายที่โปร่งเบาเติมความรู้สึกให้สมดุล

ผนังห้องนั่งเล่นติดช่องแสงสามด้าน

หลังจากผ่านโรงรถเดินขึ้นบันไดคอนกรีตมาตามทางจะพบกับชั้นสอง ที่เป็นพื้นที่หลักประกอบด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัวสไตล์มินิมอลที่มีกลิ่นอายความเป็นอินเดียอยู่ ด้วยเฟอร์นิเจอร์สั่งทำพิเศษจากไม้แอฟริกัน-กานาซาวาน มีตู้และชุดโซาฟขนาดใหญ่เหมือนแหย่งบ้านเรา ทำให้ห้องนั่งเล่นมีบรรยากาศที่น่ารื่นรมย์และอบอุ่น  พื้นหินรูปสีเทาเย็นๆ ทำให้พื้นผิวของไม้มีความสมดุล ผนังทาสีด้วยสีเทสซาตินสร้างพื้นหลังที่ไม่รบกวนองค์ประกอบหลักภายในห้อง

ช่องเปิดรับแสง

แม้จะอยู่ในทิศตะวันตกที่แสงแดดแรง แต่บ้านก็ยังต้องการแสง ในชั้นบนนั้นจึงปิดผนังทึบเกือบหมด แต่เว้นพื้นที่ใส่ข่องแสงลักษณะแคบยาวล้อมกรอบผนัง 3 ด้าน ทำให้แสงเข้ามาในปริมาณที่พอดี เจ้าของบ้านยังสามารถเปิดออกทักทายเพื่อนบ้านที่เดินผ่านไปมาที่ถนน และชื่นชมแปลงดอกไม้ที่ทำเสริมตรงส่วนหน้าให้เพลิดเพลินกับธรรมชาติได้จากห้องนั่งเล่นด้านใน

ตู้บิลท์อินในห้องนอนมีพื้นที่นั่งทำงาน

ห้องนอนผนังตกแต่งอิฐมีช่องแสงสวยๆ

ห้องนอนหันหัวเตียงไปทางทิศเหนือ ทำให้แสงจากหน้าต่างเล็ก ๆ ทางทิศตะวันตกพาดผ่านบริเวณหัวเตียงไปช่วงกลางเตียง ปลุกให้ตื่นในตอนเช้าด้วยความสว่างที่ไม่ทำให้รู้สึกร้อนจนเกินไป สามารถเปิดหน้าต่างรับแสงฆ่าเชื้อโรคและลดชื้นในห้องได้ในตอนกลางวัน

ห้องนอนเตียงไม้

ผนังช่องว่างโถงสูงตกแต่งอิฐ

ด้วยลักษณะอาคารที่แคบลึก โดนขนาบจากอาคารทั้งสองด้าน สถาปนิกจึงต้องมองหาพื้นที่ช่องเปิดใหม่ๆ โดยการรื้อพื้นเพดานบางส่วนออก เจาะช่องว่างแนวตั้งแล้วใส่สกายไลท์ ทำให้การรับแสงเพิ่มขึ้นได้จากด้านบนและการระบายอากาศทำได้ทั้งในมิติแนวตั้งพร้อมกับแนวนอน ช่วยให้แสงส่องเข้ามาในพื้นที่อย่างเพียงพอ ในขณะที่เอื้อให้อากาศร้อนระบายออกจากบ้านได้ดีขึ้น ทำให้บรรยากาศเย็นสบายและมีชีวิตชีวา เป็นทางออกที่สร้างสรรค์สำหรับพื้นที่ที่แน่นเหมือนกล่อง

ระเบียงกว้างๆ ที่ชั้นบน

ตกแต่งต้นไม้และแสงไฟใต้บันได

ทำสวนเล็กๆ นั่งเล่นที่ระเบียง

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บ้านหรือตึกที่มีรูปทรงหน้าแคบลึกแถมมีผนังติดกับบ้านข้าง ๆ ทั้งสองด้าน จะมีข้อจำกัดที่เหมือน ๆ กันคือ การขาดแสงช่วงกลางอาคาร เพราะแสงจากด้านหน้าและด้านหลังส่องเข้าไปไม่ถึง ทำให้บ้านมืดทึบและไม่มีช่องทางระบายอากาศ สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ เช่น การรื้อพื้นเพดานออกบางส่วนเชื่อมต่อพื้นที่เป็นโถงสูง ทำช่องแสง skylight รับแสงจากด้านบน แล้วจัดบ้านแบบ open plan เรียงฟังก์ชันใช้งานร่วมกันให้ต่อเนื่องไปแบบไม่ก่อปิดแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย หรืออีกวิธีหนึ่งคือ แบ่งอาคารออกเป็นสองส่วน (ครึ่งหน้าและครึ่งหลัง) แล้วใส่สวนคั่นตรงกลาง วิธีนี้ก็ทำให้บ้านรับแสงรับลมได้เต็มที่เช่นกัน

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด