เมนู

5 จุดตรวจเช็ค ก่อนติดตั้งฉนวนกันร้อนวางบนฝ้า พร้อมคำนวณราคาติดตั้ง

หาช่างติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน วางบนฝ้า

ฉนวนกันร้อนวางบนฝ้า เช็คก่อนติดตั้ง

เชื่อว่ามีเจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อย ที่ทนอยู่บ้านร้อนมานานหลายปีและคิดอยากจะปรับปรุงบ้าน ให้เย็นขึ้น ด้วยการติดตั้งฉนวนกันร้อนบนฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นวิธีป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ต้นทุนไม่เยอะเมื่อเทียบกับคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น

แต่อาจไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร บ้านเก่าจะติดตั้งได้หรือไม่ ความจริงแล้วการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเลยครับ เพียงแค่ตรวจเช็ค 5 จุดเบื้องต้นที่ “บ้านไอเดีย” แนะนำไว้ในเนื้อหาชุดนี้ รับประกันได้เลยว่า ลดร้อนให้บ้านได้ทันทีหลังที่ติดตั้งเสร็จ

สนับสนุนโดย : ROCKWOOL

ติดตั้งฉนวน แบบวางบนฝ้าเพดาน

1.การรับน้ำหนักโครงคร่าวของฝ้าเพดาน

แม้โดยทั่วไปฉนวนกันความร้อนจะมีน้ำหนักเบาและบางเพียง 3-6 นิ้ว แต่ก็นับเป็นส่วนหนึ่งที่จะเพิ่มน้ำหนักแบกรับให้กับฝ้าเพดานได้เช่นกันครับ บ้านเก่าที่สร้างมานานแล้วผู้ออกแบบจึงอาจไม่ได้คำนวณเผื่อน้ำหนักที่เพิ่มภายหลัง หรืออาจมีโครงสร้างบางส่วนชำรุดไปตามกาลเวลา ก่อนติดตั้งฉนวนบนฝ้าเพดานจึงต้องตรวจเช็คความแข็งแรงของวัสดุโครงคร่าวเดิมว่า สามารถรองรับน้ำหนักฉนวนได้หรือไม่ มีระยะโครงคร่าวเป็นไปตามมาตรฐานที่รึเปล่า

โดยทั่วไปฝ้าเพดานจะนิยมใช้ฝ้ายิปซั่มที่ความหนา 9 ม.ม. ให้ทำการตรวจเช็คระยะห่างของโครงคร่าวหลัก จะต้องมีระยะประมาณ 80-120 ซม. และระยะโครงคร่าวรอง 30-40 ซม. ซึ่งหากพบว่าโครงคร่าวมีระยะห่างมากเกินไป หรือมีส่วนชำรุดเสียหาย จำเป็นต้องปรับปรุงมีส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยและตรงตามมาตรฐานก่อนติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเข้าไปครับ

2.ระยะความสูงของโถงหลังคาที่เอื้อต่อการติดตั้งฉนวน

 ฉนวนกันความร้อนแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์มีความหนาแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 3-6 นิ้ว จึงต้องตรวจสอบพื้นที่โถงหลังคาว่ามีความสูงเท่าไร เพื่อดูว่าช่างจะสามารถเข้าไปติดตั้งได้หรือไม่และมีความสูงมากพอรองรับความหนาของฉนวน

หากเป็นบ้านสร้างใหม่ไม่ติดปัญหาใดครับ เพราะช่างสามารถวางฉนวนบนโครงคร่าวก่อนติดตั้งฝ้าเพดานได้ แต่หากบ้านเก่าจำเป็นต้องติดตั้งฉนวนภายหลัง โถงหลังคาจึงต้องสูงพอที่จะให้ช่างรอดตัวเข้าไปได้ โดยควรมีความสูง 1 เมตรขึ้นไป เป็นระยะที่ช่างสามารถทำงานได้สะดวก และระยะต่ำสุดจากหลังคาถึงฝ้าไม่ควรน้อยกว่า 20 เซนติเมตร เพื่อให้วางแผ่นฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานได้

ติดตั้งฉนวนกันร้อนวางบนฝ้า

3.ช่องเซอร์วิสฝ้าเพดาน

 โดยทั่วไปการสร้างบ้านจะต้องมีช่องเซอร์วิสบริเวณฝ้าเพดาน เพื่อรองรับการซ่อมแซมงานไฟฟ้า หรือขึ้นตรวจเช็คหลังคารั่วซึมได้ แต่ก็มีหลายหลังเช่นกันครับที่ไม่ได้ทำช่องเซอร์วิสเผื่อไว้ หากบ้านใดไม่มีช่องเซอร์วิส ให้เลือกห้องใดห้องหนึ่งที่ไม่มีผลกับความสวยงามของบ้าน เช่น ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว ห้องเก็บของ และเลือกตำแหน่งที่ช่างจะสามารถขึ้นไปได้อย่างสะดวก โดยให้ทำการเจาะฝ้าเพดานขนาด 45 x 45 เซนติเมตร หากเจาะแล้วพบว่ามีโครงคร่าวหลักของฝ้าเพดานขวางอยู่ ให้ทำการตัดโครงคร่าวหลักส่วนดังกล่าวออก พร้อมกับเสริมอุปกรณ์แขวนบริเวณปลายโครงเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

ช่องเซอร์วิส ฝ้าเพดาน

4.สำรวจและซ่อมแซมจุดชำรุด

สำหรับฝ้าเพดานที่ผ่านการใช้งานมาแล้วย่อมมีการเสื่อมสภาพลงไปตามกาลเวลา เจ้าของบ้านควรตรวจสอบสภาพฝ้าเพดานว่ายังคงอยู่ในสภาพดี มีความเรียบได้ระดับ ไม่หย่อนตกท้องช้าง ไม่มีคราบน้ำ รอยแตกหรือทะลุ และอย่าลืมเช็คด้วยว่ามีหนูหรือสัตว์มาอาศัยอยู่บนฝ้าหรือไม่ โดยให้สังเกตร่องรอยการกัดแทะ เพราะหนูอาจกัดฉนวนให้ขาดชำรุดภายหลังได้ หากพบว่ามีร่องรอยสัตว์กัดแทะ ต้องปิดช่องทางที่สัตว์เข้าให้เรียบร้อย และควรตัดกิ่งไม้ที่พาดกับหลังคาออก เพราะจะเป็นทางเดินที่หนูเข้าไปภายในฝ้าได้

ตรวจเช็คก่อนติดตั้งฉนวนกันร้อนวางบนฝ้า

5.ระบบสายไฟฟ้าบนฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดานเป็นจุดปิดซ่อนระบบสายไฟฟ้าของบ้าน ช่วยให้บ้านแลดูเป็นระเบียบสบายตา กรณีบ้านใหม่กำลังสร้าง ควรติดตั้งฝ้าพร้อมเจาะช่องดาวไลท์ให้เรียบร้อย  ช่างปูฉนวนกันความร้อนจะได้ทำการเจาะฉนวนบริเวณช่องไฟดาวไลท์ให้เรียบร้อยเสร็จสรรพในครั้งเดียว ส่วนบ้านเก่าต้องเช็คระบบสายไฟบนเพดานให้เป็นระเบียบ ไม่มีเส้นสายระโยงระยาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและไม่เป็นอุปสรรคต่อการวางฉนวนบนฝ้า

ฉนวนวางบนฝ้า ROCKWOOL

ลดร้อนได้ทันที ด้วยฉนวนกันความร้อนวางบนฝ้าเพดาน Rock Chill

สำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการปรับบ้านร้อนให้เป็นบ้านเย็นอย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อนวางบนฝ้าเพดาน ROCKWOOL รุ่น Rock Chill ผลิตด้วยฉนวนใยหินภูเขาไฟ ที่เส้นใยของฉนวนมีลักษณะเป็นกากบาท จึงทำให้ไม่มีการยุบตัว ส่งผลให้ค่า R (ค่าการต้านทานความร้อน) มีค่าคงที่ ประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนจึงไม่หายไป แม้จะใช้ไปในระยะเวลาที่ยาวนาน สามารถกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในตัวบ้านผ่านทางหลังคาได้อย่างดีเยี่ยม

ทั้งผ่านการทดสอบการตอบสนองการติดไฟตามมาตรฐาน EN-13501-1 Class A1 จึงไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟและทนไฟมากกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ไม่ก่อให้เกิดควันพิษและไม่ก่อให้เกิดเชื้อรา วัสดุที่ใช้ไม่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน (Non-Asbestos) ไม่มีสารก่อมะเร็ง ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ว่าปลอดภัยต่อทั้งผู้ติดตั้งและผู้อยู่อาศัย

ROCKWOOL รุ่น ROCK CHILL

ฉนวนแต่ละม้วน ความหนาที่ 75 มิลลิเมตร (3 นิ้ว)  หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน ซึ่งแผ่นฟอยล์สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% ช่วยต้านทานความร้อนได้ถึง 6 เท่า จึงลดการทำงานจากเครื่องปรับอากาศ และมีผลให้ค่าไฟลดลงเมื่อเทียบกับบ้านที่ไม่ติดฉนวนมากกว่า 60 % ทั้งยังมีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวน ทำให้บ้านเสียงเงียบลงจนรู้สึกได้ นำไปติดตั้งได้ทั้งบ้านสร้างใหม่และบ้านเก่าเลยครับ

สำหรับผู้อ่านที่สนใจและต้องการทราบค่าใช้จ่ายในการติดตั้งฉนวนกันความร้อนวางบนฝ้า Rock Chill สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ โดยนำพื้นที่บนฝ้าเพดานทั้งหมดมาหารด้วยขนาดของแผ่นฉนวน ซึ่งแต่ละแผ่นมีความกว้าง 0.6 เมตร ยาว 4 เมตร ( รวมพื้นที่  2.4 ตารางเมตรต่อม้วน) จะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนฉนวนที่ต้องใช้ ตัวอย่างเช่น

วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายการติดฉนวนกันร้อนวางบนฝ้า

พื้นที่บนฝ้าเพดานมีขนาดกว้าง 4 เมตร x ยาว 4 เมตร = 16 ตารางเมตร
นำมาหารด้วยขนาดแผ่นฉนวน 2.4 ตารางเมตร 16 ÷ 2.4 = 6.6 ม้วน (ปัดเศษขึ้นเป็น 7 ม้วน )
จากนั้นจึงนำไปคูณกับราคาต่อม้วน (Rock Chill ราคาประมาณ 320 บาทต่อม้วน) ก็จะทราบราคาวัสดุได้ทันที *
ตัวอย่างนี้จึงเท่ากับ 320 x 7 คิดเป็นค่าฉนวนที่ต้องใช้  2,240 บาท
ส่วนราคาติดตั้งโดยทั่วไปในตลาดประมาณ  80-120 บาทต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับผู้รับจ้างนั้น ๆ ครับ

บ้านร้อนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาในพื้นที่เขตร้อนอย่างเมืองไทย แต่ก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยากจนเกินไปเช่นกัน ผู้อ่านท่านใดอยากลดบ้านร้อนด้วยการติดตั้งฉนวนวางบนฝ้า Rock Chill สามารถเข้าไปชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์ : https://www.rockwoolth.com/rockchill/ | แฟนเพจ : ROCKWOOL THAILAND

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด