เมนู

เพิ่มป่า เพิ่มความสดชื่นให้บ้านคอนกรีตทรงกล่อง

รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม

บ้านปูนเปลือย

ป่าคอนกรีต หรือ Concrete Jungle เป็นสำนวนที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ สิ่งนี้สื่อถึงเมืองใหญ่ที่มีตึกขึ้นเต็มไปหมด แน่นอนว่าเมื่อตึกรามบ้านช่องขยายตัวก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบกับพื้นที่ธรรมชาติที่เคยอยู่มาก่อน การขยายของเมืองจึงต้องแลกมากับต้นไม้ที่ค่อย ๆ หายไปทีละต้นจนกระทั่งแทบไม่เหลือเลย เท่ากับว่าถ้ามีคอนกรีตต้องไม่มีป่า เมืองที่มีชีวิตชีวาด้วยสีสันและยวดยานกลับขาดพื้นที่สีเขียวไปอย่างน่าเสียดาย ในช่วงปีหลัง ๆ นี้เราจะเห็นความโหยหาธรรมชาติและพยายามจัดสรรต้นไม้แทรกตัวเข้าไปตามชุมชนมากขึ้น เนื้อหานี้เราจะพาไปชมไอเดียการออกแบบที่เพิ่มป่าเข้าไปเป็นองค์ประกอบหนึ่งของบ้านให้คอนกรีตอยู่ร่วมกันได้กับต้นไม้อย่างเอื้ออาทร

ออกแบบN O T Architecture
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านคอนกรีตทรงกล่อง

บ้าน | ป่า | คอนกรีต ความต่างที่อยู่ร่วมกันได้

บ้านพื้นที่ใช้สอย 340 ตารางเมตรหลังนี้ ตั้งอยู่ที่ TTDI Kuala Lumpur ประเทศมาเลเซีย เป็นโครงการปรับปรุงครั้งใหญ่ของบ้านเดี่ยวชั้นเดียวให้กลายเป็นบ้านสองชั้นครึ่ง จุดมุ่งหมายคือการใช้แนวทางการออกแบบรูปลักษณ์อาคารที่เรียบง่าย แต่เพิ่มการจัดวางและการใช้งานเชิงพื้นที่ภายในให้ใช้งานได้สูงสุด และมีความน่าสนุกปนความสดชื่นภายใน จากด้านหน้าเราจะเห็นองค์ประกอบของคอนกรีต เหล็กฉีกสีดำ ที่ดูเท่เข้ม แต่มีต้นไม้ที่ปลูกและเแขวนอยู่ด้านหน้าช่วยลดทอนความดิบกระด้าง รวมธรรมชาติเข้ากับบ้านได้อย่างกลมกลืน

บันไดคอนกรีต

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่


ตกแต่งบ้านผนังปูนเปลือย

คู่สามีภรรยาเจ้าของบ้านมีความตั้งใจจะสร้างบ้านใหม่เพื่ออยู่กับพ่อแม่และลูกชาย ในฐานะครอบครัวที่ชอบผจญภัย Jay & Ching Yee ตั้งใจที่จะมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับกิจกรรมในร่มนอกเหนือจากการสร้างบรรยากาศสบาย ๆ จึงต้อนรับการมาถึงด้วยผนังตกแต่งสกู๊ตเตอร์ 2 ล้อของพ่อ แม่ ลูก  สไลเดอร์ปูนเปลือยที่ทำขนานกับบันไดให้เด็ก ๆ ลื่นไถลลงมาได้เหมือนสวนสนุก ในขณะเดียวกันก็จะมีกรอบรูปหลุยส์ เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า ๆ วางอยู่คู่กัน ทำให้บ้าของคนรุ่นใหม่ไม่เหินห่างจากรุ่นเก่า

ตกแต่งบ้านผนังปูนเปลือย

บ้านปูนเปลือย

ห้องนอนอยู่ชั้นล่างสุด

การใช้พื้นที่ภายในจะตรงกันข้ามจากวิธีการในบ้าน 2 ชั้นแบบเดิมๆ โดยการย้ายพื้นที่กึ่งส่วนตัว เช่น พื้นที่นั่งเล่นและรับประทานอาหารไปที่ชั้นบน ในขณะที่ทำให้ห้องนอนส่วนตัวทั้งหมดอยู่ที่ชั้นล่างแยกระหว่างห้องส่วนตัวกับพื้นที่ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน การวางห้องนอนไว้ชั้นล่างก็มีกุศโลบายที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวทั้งหมดคือ เด็ก ๆ และผู้สูงอายุไม่ต้องเดินขึ้นลง คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสังเกตและดูแลทุกคนได้ง่าย

บ้านโถงสูงมีชั้นลอย

เมื่อเข้ามาในบ้านจากทางเข้าหลักจะถูกนำไปยังชั้นบนโดยอัตโนมัติซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่นั่งเล่นและรับประทานอาหารผ่านทางบันไดที่เห็นได้ชัด

บ้านโถงสูง

รวมพื้นที่ใช้ชีวิตไว้ชั้นบน

อีกหนึ่งความต้องการที่เจ้าของอยากให้บ้านมีคือ เน้นให้มีความเชื่อมต่อพื้นที่สำหรับการใช้ชีวิตร่วมกันและโต้ตอบสื่อสารกันได้ ในบ้านสองชั้นทั่วไปจะทำได้ค่อนข้างยากเพราะมักเทพื้นเพดานปิดทึบแบ่งแยกระหว่างชั้น จะมีช่องว่างเพียงโถงบันไดให้เดินขึ้น-ลงเท่านั้น สถาปนิกจึงแก้โจทย์เทพื้นเพียงส่วนเดียวทำบ้านในลักษณะโถงสูงเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างชั้น มีช่องว่างขนาดใหญ่ใจกลางบ้านและทำชั้นลอยทำให้มองเห็นกันได้ง่ายขึ้น การไหลเวียนของอากาศและการรับแสงกระจายแสงก็ดีตามไปด้วย

บ้านปูนเปลือย

บ้านปูนเปลือย

ขั้นบันไดที่ยื่นออกมาเสริมด้วยราวบันไดโลหะรูปทรงแนวตั้ง ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างช่องว่างด้วยเช่นกัน

ห้องนั่งเล่นบ้านปูนเปลือย

ต้นไม้เป็นปราการป้องกันบ้าน

หลังคาที่เฉียงสูงขึ้นจะถูกแบ่งออกเป็นสองระดับ เพื่อให้แสงแดดส่องเข้าไปในห้องโถงนั่งเล่น และพื้นที่รับประทานอาหารได้ง่ายขึ้น ผนังบ้านติดตั้งบานประตูกระจกใจตลอดแนว เปิดออกเชื่อมต่อระเบียงที่เต็มไปด้วยกระถางต้นไม้ เป็นการเพิ่มการใช้งานพื้นให้มากที่สุดแทนที่จะสร้างคอร์ทยาร์ดแบบเดิมซึ่งอาจทำให้พื้นที่ใช้สอยลดลง ต้นไม้ที่อยู่ด้านหน้ายังช่วยกรองแสงและกรองฝุ่นที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้ด้วย

ตกแต่งบ้านปูนเปลือย

ฟังก์ชันหลักในการใช้ชีวิตห้องนั่งเล่น ครัว ห้องอ่านหนังสือ รวมอยู่ด้วยกันที่ชั้นสอง เพียงพื้นที่เดียวสมาชิกทุกคนสามารถทำกิจกรรมที่ชอบพร้อม ๆ กัน ได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

มุมเด็กเล่นปีนผาในบ้าน

บ้านคอนกรีตสดชื่นด้วยต้นไม้

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บ้านที่มีโถงเพดานสูง (Double-Height Ceiling) ทำให้บ้านดูไม่มีอุปสรรคกั้นจึงดูกว้างขวาง โปร่ง โล่ง เอื้อให้มวลอากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและไหลออกจากอาคารได้ดี แม้ครอบครัวมีสมาชิกหลายคนก็ยังคงใช้งานได้สะดวก และช่วยสร้างความต่อเนื่องของการอยู่อาศัยระหว่างพื้นที่บริเวณชั้นล่างและชั้นบน ให้มีมุมมองที่เชื่อมถึงกันได้ ทำให้คนในบ้านรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ชั้นไหนของบ้านก็ไม่ขาดการติดต่อ

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด