เมนู

บ้านทรงดินสอ ก้าวข้ามข้อจำกัดที่ดินหน้าแคบลึก

บ้านหน้าแคบหลังคาจั่วปลายแหลม

บ้านหน้าแคบลึก

บ้านในอินโดนีเซียหลังนี้ ชื่อโปรเจ็ค“ Gro-House” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างบ้านด้วยงบประมาณน้อย ๆ แม้จะออกแบบมาเฉพาะในพื้นที่ขนาดเล็ก แต่ยังคงยึดมั่นในแนวคิดที่จะตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่เราต้องการ” และ “อะไรคือสิ่งจำเป็น” เป็นหลัก แนวคิดนี้เหมาะมากสำหรับคน Gen Y (อายุ 26 ปีขึ้นไป) ที่ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบมินิมอล อาจจะอยู่คนเดียวหรือเป็นครอบครัวขนาดเล็ก บ้านจึงเริ่มต้นที่ฟังก์ชันตอบสนองความต้องการและพื้นที่ตามความจำเป็นเท่านั้น แต่ถ้าเจ้าของบ้านต้องการพื้นที่มากขึ้นก็ต้องสามารถเพิ่มพื้นที่ในบ้านได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้รู้สึกว่าบ้านกำลังเติบโตไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งสถาปนิกก็หวังว่าในระยะยาวของ Gro-house จะแพร่ขยายไปในอนาคตพร้อมกับแนวคิดที่พัฒนามากขึ้น

ออกแบบatelie rbertiga
ภาพถ่ายmahadiyanto
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านโมเดิร์นมินิมอลหน้าแคบสูง

บ้านโครงสร้างเหล็ก เรียบ เก๋ ในงบน้อย

บ้านทรงดินสอแหลมจั่วสูงหน้าแคบ 3 ชั้นหลังนี้มีพื้นที่ขนาด 76 ตารางเมตร สร้างในเมืองเบกาซีทางตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างน้อยจึงเพิ่มพื้นที่ใช้งานเพิ่มในแนวตั้งให้มีโครงสร้างทั้งหมด 3 ชั้น ในเฟสแรก ประกอบด้วย 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหาร ที่จอดรถสามารถจุรถได้ 2 คันเฉลียงและสวนด้านข้าง โครงสร้างหลักของบ้านคือโครงเหล็ก คอนกรีต ไม้ งานเหล็กซึ่งช่วยให้บ้านก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และสามารถปรับแต่งได้ง่าย โดยใช้สลักเกลียวและระบบเชื่อมเพื่อเป็นรอยต่อสำหรับการก่อสร้างในเฟส 2 ซึ่งยังไม่มีการก่อสร้าง แต่สถาปนิกทำโครงสร้างเผื่อเตรียมไว้ให้สำหรับการต่อเติม ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ต้องการทำอะไร ที่ไหน และจะสร้างสเปซอย่างไร

บ้านหน้าแคบลึก

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่


บ้านโมเดิร์นมินิมอล 3 ชั้น

หลังคาไร้ชายคาต่อลงมาเป็นผนัง

รูปทรงดีไซน์สไตล์โมเดิร์นมินิมอลหลังคาจั่วสูงเหมือนโรงนา ไม่มีกันสาด ไม่มีชายคายื่นออกมาจากตัวบ้าน ส่วนของหลังคาใช้วัสดุที่ไม่ค่อยมีใครเลือกใช้ในบริเวณนั้นอย่างหลังคาชิงเกิ้ลรูฟ Shingle (หลังคายางมะตอย)​ ที่ราคาไม่แพง และมีความทนทาน โดยสถาปนิกใช้วัสดุนี้มุงหลังคาแล้วเลยลงมากรุทับผนังให้เป็นเสมือนผืนเดียวกัน แผ่นยางมะตอยจึงทำหน้าที่ปกป้องตัวอาคารจากสภาพอากาศแดด ฝน แทนกันสาดไปในตัว

ประตูเปิดเก็บเข้าด้านข้างได้หมด

สถาปนิกทำการบ้านอย่างดีในทุกจุด เริ่มด้วยการสำรวจวัสดุที่จะใช้สร้างอาคารนี้ เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุดจึงเลือกวัสดุที่สามารถสื่อสารได้ตรงไปตรงมา ดัดแปลงน้อย และไม่ต้องตกแต่งเพิ่มเติมมาก อาทิ ปูนเปลือย เหล็ก ประตูกระจกกรอบอลูมิเนียมอบดำ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ใช้ผนังอิฐเปลือยทาสีขาวเพื่อประหยัดค่าปูนซีเมนต์สำหรับฉาบให้ได้มากขึ้น ผนังและเพดานกรุไม้อัดไม่เพียงเพราะสร้างง่าย แต่ยังถูกกว่าและประหยัดเวลาในการใช้งานมากขึ้น

มุมทานข้าว

โถงสูง Double space ในบ้าน

สูง โปร่ง ลมถ่ายเทสะดวก

เมื่อเข้าสู่ตัวบ้านเราจะสัมผัสได้ถึงความโอ่โถงจากการเจาะเพดานสูงหลายเมตรแบบ Double space เหนือมุมนั่งเล่น ความสูงที่มากกว่าปกติทำให้การระบายอากาศตามธรรมชาติเป็นไปอย่างคล่องตัว เมื่อมาประกอบกับผนังกระจกโปร่งใสที่ติดสูงถึงเพดานและประตูบานกระจกที่เปิดออกได้กว้างในหลาย ๆ จุด จะช่วยเปิดอิสระทางสายตา ทำให้ไม่รู้สึกว่าบ้านคับแคบหรือรู้สึกอึดอัดเลยแม้แต่น้อย ผนังอิฐทาสีขาวและไม้เข้ามาช่วยให้บรรยากาศบ้านอบอุ่นขึ้น แม้เพดานจะสูงมากแต่ไม่รู้สึกเวิ้งว้างเกินไป

ห้องนั่งเล่น

โถงสูงในมุมนั่งเล่น

บ้านหลังนี้ได้รับการออกแบบให้มีระบบระบายอากาศแบบ cross ventilation  หรือการระบายอากาศโดยเปิดให้ลมไหลเข้าผ่านพื้นที่ภายในห้อง และช่วยพาความร้อนและความชื้นไหลออกจากห้องในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ทำให้มีลมโกรก ห้องเย็นสบาย ไม่อับชื้น ซึ่งต้องผ่านเรียนรู้และเข้าใจการเคลื่อนตัวและทิศทางของลมประจำถิ่นอย่างเข้าใจ เพื่อรักษากระแสลมที่ไหลจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ สถาปนิกจึงใช้พื้นที่ด้านหลังซึ่งอยู่ติดกับทุ่งนาทำช่องเปิดขนาดใหญ่ ทำให้อากาศไหลเวียนผ่านตัวอาคารได้มากที่สุด นอกจากนี้มีช่องเปิดขนาดใหญ่ทางทิศตะวันตกของบ้าน ซึ่งจะนำไปสู่สวนด้านข้างและให้ประโยชน์มากขึ้นในการไหลเวียนของอากาศภายในบ้าน ตำแหน่งของแต่ละห้องไม่เพียงแต่ถูกจัดวางและตั้งใจให้เข้าถึงได้ง่ายเท่านั้น แต่ยังมีช่องเปิดเพียงพอที่จะให้แสงธรรมชาติเข้ามาได้เต็มที่จึงไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงบ่าย

โถงบันไดโครงสร้างเหล็ก

มุมอ่างล่างมือ

มุมครัว

ครัวปูนขนาดเล็กในมุมหนึ่งของบ้านมีเคาน์เตอร์เดียว ประกอบด้วย ซิงค์ล้างจาน เตาปรุง พื้นที่ว่างเตรียมอาหารตรงกลาง ตู้เก็บของบานไม้ให้เก็บของใช้ได้เรียบร้อยทั้งข้างบนและข้างล่าง ฝั่งตรงข้ามเป็นชั้นวางเครื่องปรุงที่หยิบใช้ง่าย ๆ  พื้นที่นี้สามารถเข้ามาใช้งานได้พร้อมกัน 2 -3 คน แต่อาจจะต้องหลีกทางขยับให้กันเล็กน้อยเมื่อต้องเดินสวนกัน

โถงบันได

บันไดทางขึ้นโปร่ง ๆ ทำให้การเดินทางของแสงและลมทำได้ดี ในจุดนี้ยังได้รับแสงจาก skylight ทำให้มีความสว่างตามธรรมชาติ จากบันไดมองลงมาจะเห็นโครงสร้างคานเหล็ก ซึ่งสามารถต่อเติมเป็นห้องได้ในอนาคต

บันไดเชื่อมต่อมุมทำงาน

มุมทำงาน

ใช้พื้นที่แนวตั้งให้เป็นโยชน์

การสร้างบ้านพื้นที่น้อย ๆ ทุกตารางเมตรต้องใช้ให้เกิดประโยชน์  ในหนึ่งจุดอาจจะเติมการใช้งานหลาย ๆ ังก์ชัน อาทิ บันไดที่เป็นทั้งทางขึ้น กล่องเก็บของ และชั้นวางของ ราวกันตกทำเป็นชั้นหนังสือ ผนังบิลท์อินเก็บของได้ ช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บได้ได้มาก

ห้องนอนตกแต่งผนังอิฐสีขาว

ตกแต่งห้องน้ำ

ในบ้านเขตร้อนชื้น แม้จะต้องกลัวกับความร้อนที่ทำให้อยู่อาศัยไม่สบาย แต่ก็ขาดแสงธรรมชาติไม่ได้ เพราะต้องการความสว่างมาลดความอับชื้นภายในรวมถึงในห้องน้ำด้วย สถาปนิกจึงเลือกที่จะติดวัสดุโปร่งแสงเพื่อรับแสงแดดตรง ๆ จากด้านบน แต่ลดทอนความรุนแรงด้วยการติดระแนงไม้ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ไม่รู้สึกร้อนมากระหว่างทำธุระส่วนตัว ยังทำให้เกิดมิติของแสงและเงาสวย ๆ ที่ตกกระทบบนผนังและพื้นด้วย

หลังคาและช่องแสง

บรรยากาศบ้านช่วงค่ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย :  บ้านที่มีหน้าแคบแต่ลึก หากมีงบประมาณน้อยก็มักจะสร้างชั้นเดียวยาวไปตามรูปร่างที่ดิน มีงบมากหน่อยก็เพิ่มพื้นที่ขึ้นในแนวตั้งตึก 2 ชั้นขึ้นไป ซึ่งไม่ว่าจะชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็มักจะมีปัญหาคล้าย ๆ กันคือ ความรู้สึกอึดอัดคับแคบ และการขาดแสงช่วงกลางอาคาร สถาปนิกจึงมักแก้ไขด้วยการใส่ช่องแสงทั้งด้านข้าง ด้วยการเพิ่มประตูหน้าต่างกระจก และเพิ่มแสงจากด้านบนผ่านช่อง skylight โดยใช้วัสดุโปร่งแสงหรือโปร่งใสแทนวัสดุมุงหลังคาปกติ นอกจากนี้การเปลี่ยนจากผนังทึบ มาใช้ผนังกระจกหรือประตูกระจกขนาดใหญ่หลาย ๆ จุดจะทำให้บ้านดูมีอิสระ โปร่งเบา ลดความอึดอัดทึบของบ้านหน้าแคบได้มาก

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด