เมนู

รีโนเวทอาคารเก่า 150 ปี เป็นโลกที่สดใส ในรูปทรงเรขาคณิต

รีโนเวทอาคาร 100 ปี

ตกแต่งบ้านให้สดใส น่าสนุก

ถ้าพูดถึงอายุคน 150 ปีคงไม่มีใครอยู่ถึง ถ้าเป็นบ้านอายุเท่านั้นคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะทรุดโทรมไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับบริบท หากจะลองนำมาปรับปรุงใหม่คงไม่ใช่เรื่องง่าย สตูดิโอ ioa จึงเสี่ยงครั้งใหญ่และซื้ออาคารที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหาได้ในเมลเบิร์น คือโรงแรม Kings Arms ใน North Melbourne แล้วใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการรีโนเวทให้เป็นบ้านสามห้องนอนที่อบอุ่นและสนุกสนาน พื้นที่สำนักงาน 2 ชั้นที่มีอยู่ถูกรื้อถอนออกเปลี่ยนเป็นบ้านสามชั้น พร้อมที่เก็บของและมุมต่างๆ มากมาย ใส่ความโค้งมน สีสัน และเส้นสายเรขาคณิต สร้างพื้นที่ที่หลากหลายทางพื้นที่ทำให้บรรยากาศดูเปลี่ยนไป  ให้สมาชิกครอบครัวที่เป็นเจ้าของได้เพลิดเพลินกับการอยู่อาศัยที่มีทั้งความน่าสนุกและกลิ่นอายของกาลเวลา

ออกแบบ : IOA Studio
ภาพถ่าย : Tom Ross
เนื้อหาบ้านไอเดีย

มุมครัวสีเขียวผนังกระเบื้องหินขัด

แน่นอนว่า การทำงานในอาคารอายุ 150 ปีมาพร้อมกับความท้าทายที่คาดไม่ถึง ตั้งแต่ก้อนอิฐที่พังทลายไปจนถึงท่อระบายน้ำที่ไหลผ่านห้องนอนในอนาคต อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้ทำให้ทีมงานโครงการมีไหวพริบในการค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่น่าสนใจยิ่งขึ้น อันดับแรกของการปรับปรุงคือการรื้อโครงสร้างออกบางจุด เพราะต้องการสร้างความรู้สึกของความสูงและกว้าง และเพิ่มห้องนอนที่ 3 เข้าไปในพื้นที่ใต้หลังคา จึงรื้อโครงสร้างเพดานเดิมออกทำให้มีความสูงเพียงพอสำหรับทำห้องนอนบนชั้นลอย นอกนั้นก็เป็นการรื้อผนังเก่าออกใส่ผนังโค้งๆ ให้บ้านสามารถแบ่งพื้นที่ขนาดเล็กและน่าอึดอัดให้เหมือนกว้างขึ้น สบายตาขึ้น

มุมทานข้าวบรรยากาศเรโทร

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ข้อจำกัดเดิมของอาคารนี้คือ ผนังแบ่งห้องเล็กห้องน้อยที่ทำให้ดูแคบและการขาดพื้นที่รับแสง เราจึงเห็นการนำผนังห้องบางส่วนออกเพื่อเชื่อมต่อสเปซ เจาะผนังบางส่วนทำหน้าต่างนำแสงสว่างเข้ามาในบ้านที่เคยมืดให้มีความสว่างจากแสงธรรมาติมากขึ้น และให้การเชื่อมต่อมุมมองโดยตรงระหว่างภายนอกกับพื้นที่อยู่อาศัยภายในเพิ่มในหลายๆ จุด ส่วนเพดานที่รื้อออกเสริมคานเหล็กรองรับน้ำหนักส่วนบนที่เพิ่มขึ้น โดยใช้สีสันชมพูพาสเทลเพิ่มสีสันให้สดชื่น สีเขียวอมเทาแบบสีเขียวทหารมาเป็นตัวช่วยเพิ่มจุดโฟกัสเส้นสายตา

สำหรับการแบ่งพื้นที่ใช้งานในบ้านใหม่จะไม่เน้นผนังปิดทึบแบ่งเป็นห้องๆ อย่างชัดเจน แต่จะทำสเปซหลวมๆ แล้วใช้สี การยกพื้นให้ต่างระดับ และวัสดุเป็นตัวช่วยในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ อย่างเช่น มุมทานอาหารและครัวี่ยกระดับสูงกว่าจุดอื่น ๆ หรือผ้าม่านกำมะหยี่หนาทึบ ทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งระหว่างพื้นที่รับประทานอาหารและพื้นที่นั่งเล่น  ที่สามารถสร้างความเป็นส่วนตัวในเวลาที่ต้องการ ช่วยให้พื้นที่ขนาดเล็กเปิดโล่งมากที่สุด

โคมไฟทรงกรวยสีแดง

รูปทรงเรขาคณิตทรงกรวย สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม เส้นโค้ง เส้นตรง มีให้เห็นในทุกโซนของบ้าน เพิ่มมิติที่แตกต่างภายในชวนให้ตื่นตา

ผนังไม้อัดโค้งๆ

นอกจากเจ้าของบ้านจะได้สัมผัสกับความสนุกของเส้นสาย รูปทรงเรขาคณิต และสีแล้ว พื้นผิวที่แตกต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่น่าสนใจ เพราะบ้านนี้มีทั้งผิวเรียบจากวัสดุไม้อัดปิดผิวลามิเนตสีขาว ไม้อัดโชว์ลายไม้ เหล็ก ผนังอิฐกะเทาะเปลือกให้อิฐเก่า ยังมีหญ้าทะเลที่นำมาถักทอเป็นผืนใหญ่วางเรียงรายบนเพดานและพื้นของชั้นลอยให้ Texture และความรู้สึกที่แปลกไปจากบ้านหลังอื่นๆ

ผนังซ่อนประตูและห้องอยู่ข้างหลัง

บันไดปีนไปห้องใต้หลังคา

ความสนุกยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะยังมีสิ่งที่ซ่อนอยู่หลังความเรียบของผนังสีขาว เมื่อประตูหลายบานที่เปิดออกมาแล้วจะเห็นฟังก์ชันบิลท์อินต่างๆ ที่แอบอยู่ด้านใน ทำให้พื้นที่จัดเก็บในบ้านขนาดเล็กดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ต้องเพิ่มตู้ ชั้น วางบนพื้นให้เสียพื้นที่

ผนังซ่อนประตูและห้องอยู่ข้างหลัง

ห้องนอนกระเทาะผนังโชว์อิฐเก่า

ห้องน้ำกระเทาะผนังโชว์อิฐเก่า

ในระหว่างกระบวนการรื้อถอน ทีมงานได้ค้นพบวัตถุโบราณมากมายของอาคาร  “อาคารแห่งนี้เปิดโอกาสให้เราได้รื้อฟื้นบางส่วนของผับเก่าที่ถูกปกปิดไว้อย่างน่าเศร้า” ทีมงานอธิบายต่อไปว่า “ด้วยความที่อยู่ในไซต์งานค่อนข้างนาน เราสามารถค้นพบสิ่งที่ไม่คาดคิดมากมาย ตั้งแต่ม้านั่งในห้องครัว เชิงเทียนเก่า ทับหลังบลูสโตนขนาดใหญ่ จนถึงพื้นที่อ่านหนังสือบนชั้นลอยที่ซ่อนอยู่” เราจึงเห็นผนังอิฐดั้งเดิมที่กระเทาะเปลือกจนเห็นเนื้อในถูกรวมเข้ากับวัสดุและการตกแต่งในทุกจุด นั่นเป็นเพราะทีมงานมองเห็นคุณค่าในสิ่งเก่า และร่องรอยของความไม่สมบูรณ์แบบ ซึ่งสิ่งนี้กลับกลายเป็นเสน่ห์ที่บ้านอื่นๆ ไม่มี

พื้นที่ห้องใต้หลังคามี skylight

พื้นที่ห้องนอนใต้หลังคา

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ห้องใต้หลังคาเดิมนั้นซึ่งมีจุดด้อยอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่ที่ค่อนข้างเตี้ย เป็นจุดที่ติดกับหลังคาจึงรับแสงโดยตรง และความลาดเอียงของหลังคา ทำให้บ้านยุคก่อนแทบจะไม่มีพื้นที่รับแสงแดดจากด้านข้าง และช่องเปิดระบายอากาศได้มาก ห้องใต้หลังคาจึงมีความมืดและเย็นจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนจะอากาศร้อนจัดจนนอนไม่ได้ สถาปนิกจึงแก้ปัญหาด้วยการทำเพดานให้หนาขึ้น ใส่ฉนวนกันความร้อน เพิ่มช่องทางรับแสงเข้าสู่ตัวบ้านจากด้านบน ด้วยช่องแสง Skylight ขนาดใหญ่ เพื่อเปิดช่องทางให้แสงเข้าพร้อมทั้งระบายอากาศร้อนออกจากตัวห้องได้ดี ลดข้อจำกัดเรื่องการระบายอากาศและความมืดภายใน แล้วยังได้วิวในมุมสูงเป็นของแถมอีกด้วย

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งบ้าน


โพสต์ล่าสุด