เมนู

รีโนเวทบ้านใหม่ กั้นห้อง ต่อผนัง ด้วยเมทัลชีทอย่างไรให้เหมาะแต่ละจุด

ผนังเมทัลชีท บลูสโคป

รีโนเวทบ้านด้วยผนังเมทัลชีท 

ในช่วงหลายปีมานี้ เราอาจสังเกตได้ว่าหลาย ๆ ธุรกิจที่สร้างมานานจะทำการรีแบรนด์ใหม่ (rebranding) โดยปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ขององค์กรรวมทั้งอาคารสำนักงาน เราจึงได้เห็นตึกแถวจำนวนไม่น้อยในย่านตัวเมือง ถูกปรับปรุงเปลี่ยนโฉมใหม่จนแทบจะจำอาคารเดิมไม่ได้เลย หรือแม้แต่ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นใหม่ก็นิยมมองหาทำเลในเมือง แต่ราคาอาคารใหม่จะค่อนข้างสูงจึงต้องซื้ออาคารเก่ามารีโนเวท ที่พบเห็นได้บ่อยอย่างเช่น คาเฟ่ คลีนิกทำฟัน โฮสเทล และบ้านพักอาศัย

แต่การรีโนเวทบ้านหรืออาคารเก่าต้องระวังมากเรื่องการต่อเติม เนื่องจากน้ำหนักวัสดุที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารเดิมได้ จึงควรมองหาวัสดุที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว แต่ทนทานและน้ำหนักเบา เพื่อช่วยเพิ่มดีไซน์ให้กับอาคารและช่วยปกปิดความทรุดโทรมของอาคารเก่าไปในตัว อย่างแผ่นเมทัลชีทที่นิยมนำมาใช้มุงหลังคา  ปัจจุบันมีการนำมาใช้กรุผนังมากขึ้น เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จึงขอแนะนำการเลือกใช้เมทัลชีทให้เหมาะสมกับแต่ละจุดของบ้านกันครับ

สนับสนุนโดยBlueScope Thailand

บ้านไทยเก่า กรุผนังเมทัลชีท

บ้านไทยโบราณ กรุผนังเมทัลชีท

ไม่ต้องทุบผนัง แค่เปลี่ยนโฉมฟาซาด

ภายนอกอาคารมักมีผนังเดิมอยู่แล้ว หากต้องการเปลี่ยนโฉมใหม่เราไม่จำเป็นต้องรื้อทุบผนังเก่าทิ้ง  แต่สามารถทำเปลือกอาคารใหม่โดยใช้แผ่นเมทัลชีทกรุทับของเดิมด้วยโครงคร่าวได้เลยครับ ซึ่งแผ่นเมทัลชีทจะมีหลายรูปแบบให้เลือกทั้งแบบรีดลอนธรรมดา ลอนเล็ก ลอนใหญ่ หรือแบบ seamless เห็นครีบของเหล็กให้เส้นสายเฉียบคม ซึ่งทุกแบบรองรับกับการบิดให้งอ หรือติดในองศาต่ำกว่าหลังคาปกติ และเฉียงสูงได้ มีหลากหลายสีให้เลือก สามารถใส่ดีไซน์ให้เกิดรูปแบบใหม่ ๆ ในงานสถาปัตยกรรมได้มากมาย เหมาะกับการปรับเปลี่ยนสไตล์บ้านใหม่ เพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ ให้หน้าตาอาคาร โดยที่ไม่ต้องเปลืองเวลาและงบประมาณ

บ้านผนังเมทัลชีท

ออกแบบ : Atelier Bertiga

ผนังเมทัลชีท ปกปิดความทรุดโทรม รอยร้าว คราบราดำ

บ้านเก่าที่สร้างมาหลายสิบปี มักก่อสร้างด้วยอิฐก่อฉาบแล้วทาสีทับ เมื่อต้องผ่านสภาพอากาศทั้งแดดทั้งฝน  จึงทำให้ผนังมีความทรุดโทรมที่สังเกตเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสีลอกล่อน ซีดจาง รอยร้าว คราบราดำ ทำให้ภาพรวมของบ้านไม่สวยงาม การปรับปรุงบ้านเพื่อปกปิดร่องรอยบ้านผนังปูนเก่า มีขั้นตอนที่ยุ่งยากตั้งแต่การขัดสีเดิมออก อุดโป๊ว ทารองพื้นปูนเก่า แล้วทาสีทับ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยช่างที่มีฝีมือและวัสดุที่มีคุณสมบัติที่ดี แต่เราสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่านั้น ด้วยการนำเมทัลชีทมากรุทับผนังภายนอกอีกชั้น ปิดทับผนังเดิมด้วยโครงคร่าวโดยไม่ต้องขัด โป๊ว รองพื้น ทาสีใหม่ แผ่นเมทัลชีททำจากเหล็กรีดลอนผ่านการเคลือบสีป้องกันการเกิดสนิม คุณภาพสีจึงสวยทนทานนานหลายปี ไม่มีปัญหารอยร้าว คราบราดำ

ทั้งนี้ควรเลือกเมทัลชีทที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน อย่างเมทัลชีท บลูสโคป แซคส์ คูล (BLUESCOPE Zacs® Cool) ที่มีเทคโนโลยี Cool Coating  เพิ่มโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษผสมลงไปในเนื้อสี จึงช่วยเพิ่มคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนออกไปบางส่วน ก่อนที่จะถ่ายเทจะเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้รู้สึกว่าบ้านเย็นขึ้นจนรู้สึกได้ และช่วยประหยัดไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 24%

กั้นห้องด้วยแผ่นเมทัลชีท

ออกแบบ : Matt Elkan Architect

กั้นห้องภายในด้วยแผ่นเมทัลชีท  ไม่ทำร้ายโครงสร้าง

ในบางกรณีของการปรับปรุงบ้าน อาจต้องต่อเติมกั้นแบ่งห้องหรือทำผนังภายในเพิ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระวังเนื่องจากอาคารเก่าบางแห่งไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักบรรทุกจรเพิ่มได้มาก หากก่อเพิ่มอาจส่งผลให้อาคารทรุดเสียหายได้ ลองเปรียบเทียบระหว่างการก่อผนังด้วยอิฐฉาบคอนกรีต จะเห็นว่าเมื่อรวมปูนก่อปูนฉาบ 2 ด้านแล้วน้ำหนักวัสดุจะประมาณ 180 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในขณะที่แผ่นเมทัลชีทน้ำหนักตารางเมตรละ 4.2 – 6.2 กิโลกรัมเท่านั้น เมื่อรวมโครงคร่าวเหล็กก็ยังน้อยกว่าผนังก่ออิฐหลายเท่า จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูงกว่า

ผนังเมทัลชีท ยังช่วยประหยัดค่าทำสี หมดปัญหาสีไม่สม่ำเสมอเพราะสามารถเลือกสี เลือกลักษณะลอนจากโรงงานได้เลย การติดตั้งเป็นระบบแห้ง จึงช่วยลดฝุ่นและเศษขยะต่าง ๆ ภาพรวมกระบวนการติดตั้งเร็วและสะอาดกว่างานก่ออิฐฉาบปูนหลายสิบเท่าเลยครับ

ต่อเติมกั้นห้องด้วยผนังเมทัลชีท

ออกแบบ : SMA Studio

สำหรับใครที่คิดจะกั้นแบ่งผนังห้อง แนะนำให้ใช้เมทัลชีทแบบแซนวิช หรือ Sanwich Panel เพราะมีการปิดผิวทั้ง 2 ด้านประกบกัน ไส้กลางเป็นฉนวน PU ที่มีความหนาพอสมควร จึงช่วยป้องกันความร้อนและกันเสียงได้อีกระดับ  เจ้าของบ้านสามารถเลือกรูปแบบลอนและสีแตกต่างตามความเหมาะสมของผนังแต่ละจุดได้ตามต้องการ

แม้ผนังเมทัลชีทแบบแซนวิชจะมีความหนามากกว่าเมทัลชีททั่วไป แต่ก็ยังบางและเบากว่าผนังก่ออิฐ จึงช่วยลดอัตราการรับน้ำหนักของอาคารได้ดี อีกทั้งยังง่ายต่อการทำความสะอาด ไม่มีกลิ่นติดเหมือนการทาสี อย่างเมทัลชีทแบบแซนวิชของบลูสโคป แซคส์ คูล ที่ปลอดสารพิษ ปราศจากสารตะกั่ว ไม่มีใยหิน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับสุขภาพผู้อยู่อาศัยไปพร้อมกันด้วยครับ

กั้นห้องด้วยแผ่นเมทัลชีท

ออกแบบ : Matt Elkan Architect

อย่างไรก็ตามการตกแต่งผนังภายใน ควรเป็นการผสมผสานระหว่างผนังยิปซัมบอร์ดทั่วไปกับผนังเมทัลชีทในบางจุด เพราะแผ่นโลหะอาจทำให้ภาพรวมแข็งเกินไปได้ อาจนำเมทัลชีทมาใช้เฉพาะจุดที่ต้องการเน้นดีไซน์ เติมความโดดเด่นทางสายตา เช่น ผนังหัวเตียงนอน , ผนังห้องทำงาน , ผนังทางเดิน เป็นต้น แต่หากกรณีตกแต่งร้านค้า คาเฟ่ที่ต้องการความดิบเท่เป็นจุดขาย การตกแต่งผนังด้วยเมทัลชีททั้งหมดก็ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเลยครับ

BlueScope Zacs Natural

ผู้อ่านที่กำลังตกแต่งหรือรีโนทบ้านใหม่ อยากใส่ความแตกต่างให้บ้านมากขึ้นกว่าเดิม สามารถเลือกใช้แผ่นเมทัลชีท BlueScope Zacs Natural ที่มีพื้นผิวเป็นลายเหมือนไม้เซาะร่อง ให้ความสวยงามเป็นพิเศษ เลือกได้ถึง 16 เฉดสี พร้อมสารเคลือบพิเศษด้านหลังแผ่นให้คุณสมบัติยึดเกาะฉนวนได้ดียิ่งขึ้น จึงหมดกังวลปัญหาฉนวนหลุดล่อน ทั้งยังมีรับประกันไม่ผุกร่อนจนทะลุ 12 ปี รับประกันสีไม่ซีดจาง 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นงานตกแต่งผนังภายในหรือภายนอกก็สวยจบได้ในแผ่นเดียว สามารถศึกษาข้อมูลวัสดุหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญจากบลูสโคป ได้โดยตรงที่

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : zacsroof.nsbluescope.com   | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด