เมนู

12 ปี ที่สมบูรณ์ ช้าแต่ชัวร์ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ สร้างสรรค์

ปรับปรุงบ้าน

บ้านโมเดิร์นโชว์คอนกรีต กระจก และเหล็ก

ถ้าเราต้องรีโนเวทหรือปรับปรุงบ้าน กรอบระยะเวลาที่ทุกคนคิดว่าจะเสร็จคงไม่มีใครอยากให้เกินหลักเดือน ในกรณีที่บ้านหลังใหญ่ข้อจำกัดเยอะอย่างมากที่สุดก็น่าจะ 1 ปี แต่บ้านในแถบตะวันตกบางหลังเจ้าของก็สร้างอย่างใจเย็นกี่ปีก็ว่ากันไป หรือค่อย ๆ ปรับปรุงไปแบบเรื่อยๆ  เหนื่อยก็พัก อย่างเช่นบ้านหลังนี้ที่มุมหนึ่งของลอสแองเจลิสอันเงียบสงบ เมื่อ Mel Elias ซีอีโอของ The Coffee Bean & Tea Leaf มาเจอก็พบว่าบ้านขนาด 464.5 ตารางเมตร ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำอย่างรุนแรง และพังยับเยินซ่อนอยู่หลังพืชพันธุ์ที่พันรกรอบบ้าน เจ้าของคนก่อนหน้าก็ทำการปรับปรุงในระดับหนึ่ง ซึ่งเขามาสานต่อกว่าบ้านจะเสร็จเรียบร้อยใช้เวลานานจนลืมเลยทีเดียว

ถ่ายภาพ Manolo Langis
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านโครงสร้างเหล็กผนังปูนเปลือยและกระจก

“มันแปลกและสร้างสรรค์ดูพิเศษที่สุดเท่าที่ฉันเคยเห็นมา” Mel Elias กล่าว แม้ว่าครั้งแรกที่เข้ามาจะมองเห็นเพดานรั่ว บ้านโทรม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านในตลาดก็รู้สึกว่าบ้านอื่น ๆ ดูน่าเบื่อมาก ความแปลกนี้มาจากเจ้าของคนก่อนของบ้าน มิลตัน คัทเซลาส โค้ชการแสดงในตำนาน ได้เปลี่ยนกระท่อมในยุค 1940 สองหลังให้กลายเป็นศาลาคอนกรีตและเหล็กที่ดูแหวกแนว ตรงที่มีจักรยาน Electra จาก Trek จอดอยู่ด้านหน้า เป็นเกสต์เฮาส์ส่วนแรกของโครงการที่จะแล้วเสร็จ เมลอาศัยอยู่ที่นั่นในขณะที่บ้านหลังใหญ่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตั้งแต่ซื้อบ้านนี้ในปี 2552 จนถึงซาร่าห์ (ภรรยา) สร้างสวนสไตล์ญี่ปุ่นเรียบร้อย รวมการปรับปรุงทั้งหมดใช้เวลาเกือบ 12 ปี

ผนังโครงสร้างเหล็กคอนกรีตและกระจก

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ผนังคอนกรีจเปลือยดิบๆ

โครงสร้างบ้านในส่วนที่ปรับปรุงใช้เหล็ก กระจก และคอนกรีตล้อมรอบด้วยเพดานสูง ตัวคานเป็นเหล็กกล้าที่ปล่อยขึ้นสนิมได้ คอนกรีตก็เปลือยเห็นริ้วลายแม่แบบไม่ฉาบเรียบ แต่ละอาคารระดับความสูงที่หลากหลายในแปลนชั้นเดียว

ห้องอ่านหนังสือหลังคาสกายไลท์

เมื่อเข้าสู่ตัวบ้านจะเห็นว่า มิลตัน คัทเซลาส เจ้าของเดิมได้เติมเต็มพื้นที่ใช้ชีวิตของเขาในหลาย ๆ จุดให้สว่างไสวมีชีวิตชีวาด้วยสกายไลท์ โดยหนึ่งในนั้นเป็นเหมือนโถมกระจกอยู่ในห้องนั่งเล่นต่อเชื่อมพื้นที่รับประทานอาหารส่วนกลาง มีเตาผิงไฟขนาดมหึมาที่ประดับด้วยกระเบื้องสีแดงเพียงแผ่นเดียวตรงมุมล่างขวา  แม้ว่าพวกเขาจะไม่รู้ว่าทำไม Katselas ถึงวางมันไว้ตรงนั้น แต่ Mel และนักออกแบบ/ผู้จัดการโครงการ Carter Bradley ก็เลือกจะคงเอาไว้ เพื่อให้เกิดคำถามกับที่สิ่งปรากฏขึ้นโดยไม่คาดคิด ไม่เฉพาะตรงจุดนี้เท่านั้นแต่ยังรวมจุดอื่นๆ ของบ้านด้วย

ห้องทานอาหารหลังคา skylight

พื้นที่ต่างระดับในบ้าน

Sarah Butler และ Rooney ไซบีเรียนฮัสกีของ Mel Elias เอนกายลงในห้องอาหารที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในบ้าน ในโซนนี้นอกจากจะเด่นที่หลังคา skylight เหนือโต๊ะทานข้าวแล้ว ยังมีตู้หนังสือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูงจากพื้นจรดเพดานที่เรียงรายอยู่ในห้องอาหาร ที่แอบซ่อนความประหลาดใจที่ไม่ธรรมดา นั่นคือมีฟังก์ชันประตูลับที่นำไปสู่ตู้เสื้อผ้าแบบวอล์กอินในห้องนอนหลักได้นั่นเอง

ผนังคอนกรีตโค้งๆ

ห้องพักผ่อนผนังกระจกกว้าง

จากห้องนั่งเล่นผิงไฟที่มาพร้อมพื้นที่ทานข้าว จะมีสเต็ปบันไดลงมายังห้องนั่งเล่นด้านหนึ่ง ห้องครัวอีกด้านหนึ่ง ทั่วทั้งบ้านมีธีมเกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่กี่แบบ อาทิ ผนังกระจก โครงเหล็ก ตู้หนังสือสูงจากพื้นจรดเพดาน และบันไดห้องสมุดแบบเก็บได้ ภายในตกแต่งด้วยสไตล์คลาสสิกช่วงกลางศตวรรษ รวมทั้งเก้าอี้เลานจ์แบบวินเทจ Eames ควบคู่ไปกับงานศิลปะของญี่ปุ่น

ห้องทานข้าว

ห้องครัวหลังคาสกายไลท์

พื้นที่ต่างระดับในอีกด้านหนึ่งของบ้าน เป็นห้องครัวที่สร้างขึ้นใหม่มีตกแต่งไม้เพดานสูงถึง 4.2 เมตร  นักออกแบบผสมผสานโทนสีและวัสดุที่ล้อไปกับบ้านเดิม และมีประตูห้องที่เปิดได้กว้างเชื่อมต่อกับห้องอาหาร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการจัดเลี้ยงงานสังสรรค์ขนาดใหญ่

หลังคาซิกแซก

หลังคาที่เน้นโชว์โครงสร้างไม้ ไม่ได้ทำรูปทรงเหทือนบ้านอื่น ๆ ที่มักจะเป็นหลังคาจั่ว ปั้นหยา เพิงหมาแหงน แต่กลับเป็นหลังคาแบบซิกแซกมีจังหวัสูงต่ำสลับกันไป นี่คงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เจ้าของบ้านใหม่รู้สึกว่าที่นี่มีอะไรที่น่าสนใจกว่าบ้านหลังอื่น ๆ ที่ผ่านตา

บ้านมีชั้นลอย

บ้านนี้ยังมีพื้นที่ใต้หลังคาที่ถูกเก็บไว้ไม่รื้อทิ้ง ทำเป็นห้องนั่งเล่นและทำงานเล็ก ๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางบันไดที่เก็บได้

ห้องสตูดิโอทำเพลงอัดเสียง

ส่วนอื่นๆ ของบ้านถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำงาน เป็นสตูดิโอสำหรับบริษัทผลิต บันทึกดนตรีสด และภาพยนตร์ ซึ่งเอื้อให้บรรยากาศการทำงานที่ยอดเยี่ยมมาก

ตกแต่งห้องนอน

ในห้องพักของทั้งคู่ ฉากโชจิแท้ได้ถูกดัดแปลงเป็นประตูตู้เสื้อผ้าบานเลื่อน นั่นเป็นเพราะเจ้าของบ้านมีความหลงใหลในเสน่ห์ของวัฒนธรรมวัฒนธรรมเและความละเมียดละไมในงานฝีมือแบบญี่ปุ่น จึงแอบนำมารวมเข้าด้วยกันที่นี่ ในภาพรวมของบ้านจึงมีหลากหลายอารมณ์ ไม่ได้ตกแต่งโดยใช้สไตล์เป็นตัวนำ แต่ใช้ความชอบมาเป็นหลักในการตัดสินใจ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การทำหลังคากระจกโปร่งใสหรือที่เรียกว่า Skylight นั้น มีข้อดีขหลายประการ อาทิ การเพิ่มแสงสว่างในช่วงกลางวันโดยไม่ต้องเปิดไฟ ช่วยเพิ่มแสงในบ้านที่ค่อนข้างมืดทึบหรือไม่มีช่องแสงที่เพียงพอจากด้านข้าง แสงจะช่วยทำให้บ้านดูโปร่ง ห้องดูกว้างขึ้น ใช้เป็นพื้นที่ตากผ้าแบบไม่กลัวฝน แต่ในข้อดีก็มีข้อเสีย เพราะความใสทำให้ดึงแสงเข้าสู่ตัวบ้านได้มาก ในบ้านเขตร้อนจะยิ่งร้อนขึ้นไปอีกจนอยู่ไม่สบาย อาจทำให้ต้องเสียค่าไฟจาการเปิดเครื่องปรับอากาศ ก่อนติดตั้งจึงต้องศึกษาจุดที่ควรติดตั้งให้เหมาะสม และควรเลือกวัสดุที่สะท้อนแสงได้ ป้องกันรังสี UV ได้ โดยไม่ทำให้บ้านร้อนขึ้น

แปลนบ้าน

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด