เมนู

ทาวน์เฮาส์หน้าแคบ ขจัดจุดบอดซ่อนพื้นที่ดี ๆ by Wat-Kanit Kuptawatin

บ้านไทยหน้าแคบ

ทาวน์เฮาส์หน้าแคบที่เต็มไปด้วยแสง

บ้านเป็นสถานที่ที่ไม่เพียงเป็นที่พักอาศัย แต่บ้านที่ดียังสามารถเพิ่มพลังชีวิตดี ๆ ให้กับเราได้เสมอเมื่อกลับไป หากเวลาผ่านไปเราพบว่าบ้านหลังเดิมเริ่มทรุดโทรม ไม่สดใส การใช้งานไม่ตอบโจทย์เหมือนที่เคย ก็คงได้เวลาที่จะปรับเปลี่ยนให้บ้านดูดีขึ้น บ้านหลังนี้ก็เช่นกันจากเดิมที่เป็น เดิมเป็นบ้านไม้ที่ดูเก่าและไม่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับครอบครัวสมาชิกห้าคนอีกต่อไป หน้าที่ของนักออกแบบคือทำอย่างไรให้บ้านในพื้นที่แคบ ๆ นี้ดูกว้างขึ้น ใช้งานได้ดีขึ้น ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิต และทำให้พื้นที่เล็กๆ เต็มไปด้วยพลังงานที่ดีเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับครอบครัวยุคใหม่

ออกแบบ| ภาพถ่ายWat Kuptawatin + Kanit Kuptawatin
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านฟาซาดสีดำ

ทาวน์เฮาส์หน้ากากดำเข้มขรึม

ทาวน์เฮาส์พื้นที่ใช้สอย 350 ตารางเมตรนี้ ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทยเรานี่เอง ลักษณะของบ้านโดยรวมเป็นพื้นที่หน้าแคบลึกถูกขนาบด้วยบ้านเพื่อนบ้านทั้งสองด้าน นักออกแบบจึงต้องใส่ความเป็นส่วนตัวจากสายตาของเพื่อนบ้านและเพิ่มศักยภาพของบ้านให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ มากขึ้น ด้วยการทำผนังปิดทึบกั้นสายตาทั้งสองด้าน และใส่ฟาซาดเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวออกจากถนนและเพื่อนบ้าน สำหรับการพื้นที่ใช้งานที่ไม่สามารถเพิ่มในด้านกว้างได้ก็แก้ปัญหาด้วยการเพิ่มพื้นที่ในแนวตั้งแทน ภาพรวมจึงออกมาเป็นบ้าน 3 ชั้นโทนสีเทาดำที่ดูทันสมัยแต่แอบใส่ความอบอุ่นตัดความแข็งกระด้างด้วยประตูไม้ทำมือ

ทาวน์โฮมโมเดิร์นสีดำ

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ฟาซาดเหล็กสีดำ

ลักษณะบ้านรูปทรงเรขาคณิตที่คลุมด้วยฟาซาดสีเทาดำ ทำจากแผ่นเหล็กปั๊มรูกลมติดตั้งให้พับไปมาเหมือนพัด ซึ่งจะให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวกับที่อยู่อาศัย ในขณะที่ภายในบ้านยังรับแสงธรรมชาติและลมผ่านทางรูพรุนเล็ก ๆ

ฟาซาดเหล็กปั๊มรูกลม

บ้านผนังกระจกตกแต่งไม้

ผนังกระจกสูงสองชั้นโปร่งยิ่งกว่าโปร่ง

จากหน้าบ้านดูเหมือนว่าภายในน่าจะปิดทึมทึบ แต่เมื่อเข้ามาด้านในจะเห็นว่าบรรยากาศของบ้านแตกต่างจากที่คิดอย่างสิ้นเชิง เพราะบริเวณส่วนกลางของบ้านที่ออกแบบให้ขยับแคบคอดเข้ามาเล็กน้อยเต็มไปด้วยความสว่างจากแสงธรรมชาติ ที่สาดส่องเข้ามาได้จากผนังกระจกสูงสองเท่าทั้งสองด้าน  ด้วยวิธีการแบบนี้จะทำให้ใจกลางบ้านหมดปัญหาเรื่องแสงเข้าไม่ถึง ซึ่งเป็นข้อด้อยของทาวน์เฮาส์หน้าแคบลึก

บ้านโถงสูงผนังกระจก

การใช้ผนังกระจกทั้งสองด้านนอกจากจะทำให้บ้านมีพื้นที่รับแสงมากขึ้น ยังช่วยสร้างความอิสระทางสายตาให้บ้านเหมือนไร้ผนัง จึงไม่รู้สึกว่าบ้านแคบลงแม้พื้นที่ใช้งานในอาคารจะเล็กลงจากการขยับพื้นที่ใช้ชีวิตส่วนรวมให้หดเข้ามาหลบสายตาผู้คนทางด้านหน้า

บ้านโถงสูงสองชั้นเชื่อมพื้นที่แนวตั้ง

สถาปนิกจัดลำดับความสำคัญเชิงพื้นที่ โดยจัดบ้านแบบ open plan รวมฟังก์ชันสำหรับการใช้งานร่วมกันไว้ที่ชั้นล่าง ภายในประกอบด้วย มุมนั่งเล่น ครัว และโต๊ะรับประทานอาหารที่ต่อเนื่องกันไปแบบไม่มีผนังกั้น เป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวยาวให้ใช้านได้สะดวกไหลลื่น ส่วนพื้นที่เหนือมุมนั่งเล่นเจาะเป็นโถงสูง ทำให้มีพื้นที่จากพื้นถึงเพดานสูงเป็นสองเท่า (Double Space) ซึ่งมีประโยชน์หลายประการ ทั้งเรื่องของการเื้อให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและระบายออกจากตัวบ้านได้ดี แสงเดินทางได้อย่างไร้อุปสรรค แล้วยังเชื่อมพื้นที่ในแนวตั้งให้บ้านดูโอ่โถง คนที่อยู่ชั้นบนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับชั้นล่างได้ใกล้ชิดมากขึ้น

ครัวโทนสีเทาดำ

ในโซนครัวสร้างง่าย ๆ ด้วยเคาน์เตอร์ครัวคอนกรีต เติมอารมณ์ดิบ ๆ แบบลอฟท์ให้บ้าน แต่สิ่งที่พิเศษอยู่ที่ระหว่างโต๊ะทานข้าวกับส่วนเตรียมอาหารในครัวซ่อนประตูเอาไว้ หากต้องการปิดให้เป็นส่วนตัวก็สามารถเลื่อนปิดได้ หรือจะเปิดเชื่อมต่อพื้นที่ก็ตามแต่ใจ

ตกแต่งบ้านโทนสีเทาดำ

บ้านสร้างใหม่แบบโมเดิร์นสามารถไปกันได้กับเฟอร์นิเจอร์เก่าหรือไม่ คำถามนี้ตอบได้ด้วยภาพโต๊ะทานอาหาร เก้าอี้นั่งพักผ่อน ตู้เก็บของ ที่ล้วนแต่เป็นของเก่าฉลุลวดลายอ่อนช้อย ซึ่งวางจัดเรียงอยู่ท่ามกลางผนังสีเทาดำ เคาน์เตอร์ครัวคอนกรีต และเฟอร์นิเจอร์ไม้รูปทรงเรียบง่ายแบบโมเดิร์น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการวาง mood&tone และวัสดุ ให้มีความสัมพันธ์กันจากการใช้ไม้เป็นส่วนประกอบตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน ตั้งแต่ประตูรั้วหน้าบ้าน กรอบวงกบ ประตูหน้าต่าง

บ้านตกแต่งแผ่นเหล็กปั๊มรูกลม

บนชั้นต่อไป เหลือข้างๆ ช่องว่างขนาดใหญ่ที่เจาะเป็นโถงสูง ทีมงานสร้างเป็นห้องส่วนตัวที่มีทางเดินทำจากแผ่นเหล็กปั๊มรูกลมเช่นกัน ซึ่งความโปร่งนี้จะช่วยเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างชั้น ให้มองเห็นกันได้ง่าย ไม่เหมือนบ้านหลายชั้นแบบเก่าที่มีเพดานปิดทึบ

คอร์ทนอกบ้าน

ระเบียงทางเดิน

ฟาซาดบ้านที่ดูปิดทึบ แต่ถ้ามองใกล้ ๆ จะเห็นรูพรุนที่ทำให้เจ้าของบ้านสามารถสังเกตความเคลื่อนไหวภายนอกได้ โดยที่คนข้างนอกมองเข้ามาไม่เห็น  ในขณะที่ฟาซาดทำหน้าที่รับลมและแสงผ่านรูกลมเล็ก ๆ เหล่านี้ ก็ทำหน้าที่ช่วยกั้นกรองแสงในเวลากลางวันที่ความเข้มของแสงค่อนข้างมาก สำหรับบ้านนี้ทำผนังบ้าน 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นฟาซาดหรือเปลือกปกคลุมบ้าน แล้วใส่ทางเดินคั่นกลาง ผนังชั้นในเป็นกระจกที่สามารถเปิดออกได้กว้างรับอากาศภายนอกให้เข้าไปไหลเวียนภายในได้โดยไม่ต้องกังวลสายตาบุคคลที่ผ่านไปมา

มิติของแสงและเงาในบ้าน

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย :  บ้านทาวน์เฮาส์หรือตึกแถวหลายชั้นหน้าแคบลึก มีสิ่งที่เป็นจุดบอดหลายจุด เช่น การที่สร้างให้ผนังติด ๆ กันทำให้ช่องเปิดระบายอากาศไม่มากพอ ภายในจึงมักจะอับชื้น และความลึกของอาคารทำให้พื้นที่ช่วงกลางอาคารรับแสงที่ไม่เพียงพอ ในบ้านที่มีมากกว่า 1 ชั้นมักจะปิดเพดานทึบมีช่องว่างเฉพาะโถงบันได ทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นทำได้ยาก วิธีแก้ปัญหาคือการเจาะเพดานบางส่วนออกทำเป็นโถงสูง ใส่ช่องแสงกายไลท์ให้บ้านรับแสงจากด้านบนแล้วกระจายออกได้ ส่วนผนังเปลี่ยนจากผนังทึบมาใส่ผนังกระจกหรือประตูกระจกบานเลื่อนแทนในหลาย ๆ จุด ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องแสงแล้วยังเอื้อให้อากาศเข้ามาไหลเวียนภายในได้ดีขึ้นด้วย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด