เมนู

บ้านโครงสร้างไม้ ให้จังหวะอบอุ่นผ่อนคลายกับชีวิต

บ้านตัว L

บ้านชั้นเดียวรูปตัว L 

ถ้าพูดถึง “จังหวะ” เราจะทราบและคุ้นกันดีว่าเป็นพื้นฐานในการเล่นดนตรี การเต้นรำ หรือจังหวะในเกมส์กีฬาซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผู้อ่านเคยได้ยินคำว่า “จังหวะในงานสถาปัตยกรรม” กันบ้างไหมครับ อาจฟังดูแปลก ๆ ว่าอาคารหนึ่งหลังจะมีจังหวะของอะไร คำตอบคือ ในงานสถาปัตยกรรมหนึ่งหลังจะมีการทำซ้ำ การใส่ลำดับ การใส่ระยะ สเกล และสัดส่วน แนวคิดเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วจะสร้างประสบการณ์ของภาพที่เป็นเหมือนจังหวะเสียงเพลงที่เราได้ยิน ถ้าใครนึกภาพไม่ออกว่าการออกแบบบ้านในแนวนั้นเป็นอย่างไร บ้านหลังนี้จะมีคำตอบให้ครับ

ออกแบบ : Arquitetura Gui Mattos
ภาพถ่ายPablo Casals Aguirre
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านไม้ญี่ปุ่นโมเดิร์นชั้นเดียวกลางธรรมชาติ

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านรูปตัว L

บ้าน Haras Larrisa นี้สร้างอยู่ในมอนเต มอร์, เซาเปาโล ประเทศบราซิล เจ้าของบ้านหนุ่มสาวที่มีลูกสาวสองคน ทั้งหมดอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ในเซาเปาโล จึงต้องการบ้านพักฤดูร้อนที่จะแวะมาทำกิจกรรมผ่อนคลายสนุก ๆ ได้ จากการพูดคุยพบว่าสมาชิกในบ้านมีความสนใจการอ่านหนังสือ ดนตรี การทำอาหาร และการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทีมงานจึงตั้งใจทำบ้านที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งานทั้งในอาคาร และมีพื้นที่กลางแจ้งกว้างขวางที่เด็ก ๆ ชอบ พร้อมทั้งสามารถรองรับเพื่อนๆ ที่มาเยือน เพื่อมอบประสบการณ์การสัมผัสกับธรรมชาติและหอบความผ่อนคลายกลับเข้าเมืองไปด้วย

ด้วยความที่บ้านติดถนนสองด้าน ทำให้ลำดับความเป็นส่วนตัวนั้นสำคัญเช่นกัน มุมมองแรกของ Haras Larrisa ที่คนผ่านไปมาจะได้เห็นคือจาก “ด้านหลัง” ของบ้าน ที่เต็มไปด้วยบานระแนงไม้ทำให้มองไม่เห็นจากด้านในมากนัก

บ้านตัว L ล้อมสวนและสระว่ายน้ำ

บ้านตัว L ล้อมสวนและสระว่ายน้ำ

โครงการนี้อยู่ในพื้นที่ราบกว้างจากการวิเคราะห์ภูมิประเทศรอบ ๆ ทีมงานเห็นว่าเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่แปลงหัวมุมสุดถนน และมีป่าพื้นเมืองขนาดใหญ่เป็นฉากหลังพอดี ดังนั้น เมื่อพิจารณาทั้งความสวยงามของพืชพรรณและความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยแล้ว จึงมีแนวคิดออกแบบที่พักที่สร้างการเปิดสื่อสารกับพื้นที่ภายนอกได้ดีแต่ยังมีความเป็นส่วนตัว โดยทำอาคารเป็นรูปตัว L แยกเหมือนเป็นศาลาสองหลังโอบล้อมพื้นที่สังสรรค์กลางแจ้งที่มีทั้งสนามหญ้าและสระว่ายน้ำเอาไว้

ผนังไม้ระแนง

ประตูไม้ระแนง

ส่วนของหลังคาบ้านเป็นทรงจั่วและวัสดุหลังคาที่สื่อความเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม แต่ในรายละเอียดอาคารจะพบโครงสร้างไม้เอ็นจิเนียร์ เป็นวัสดุที่ลูกค้าชื่นชอบมาก ซึ่งทำซ้ำไปซ้ำมาตามอาคารทั้งสองหลัง ในรูปแบบของเสา คาน เปลือกภายนอกมีระแนงไม้วางเป็นจังหวะที่นอกจากจะเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้บ้านแล้ว ยังทำหน้าที่กรองแสง รับลม ให้ผลพลอยได้เป็นแสงเงาตกกระทบบนพื้นและผนังสวย ๆ

ห้องนอน

เตียงบิลท์อินสองชั้นในห้องเพดานสูง

จังหวะของบ้านจะดำเนินไปตามทางเดินหรือห้อง ในปีกส่วนตัว (มีห้องสวีท ส่วนบริการ และห้องสมุด) จะโดดเด่นกว่า สม่ำเสมอกว่า และสอดคล้องกัน มีช่องเปิดน้อย เพื่อคงความเป็นส่วนตัว ทั้งนี้เนื่องจากประตู คานภายนอก และคานประตูจะมีระยะห่างเท่ากันและมีรูปแบบการทำซ้ำอย่างสม่ำเสมอ ปีกนี้จะเริ่มจากห้องนอนอยู่ท้ายสุด ผู้อยู่อาศัยจะเดินทะลุไปยังโซนสาธารณะได้

ตู้ทำงานบิลท์อิน

โถงทางเดินในบ้าน

ห้องนั่งเล่นเพดานสูงโชว์โครงคานไม้

บ้าน open plan โชว์โครงหลังคาไม้

จากโถงทางเดินจะนำทางมายังส่วนสาธารณะที่อยู่อีกปีกหนึ่งของบ้าน ซึ่งรวมเป็นพื้นที่สำหรับนั่งเล่น ทำครัว รับประทานอาหารต่อเนื่องกันเป็นห้องโล่ง ๆและมีประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่เปิดออกเชื่อมต่อกับสระว่ายน้ำและสระว่ายน้ำได้ตลอดแนว ทำให้รู้สึกว่าไม่มีขอบเขตกั้นระหว่างภายในภายนอก ในส่วนนี้จะตกแต่งง่ายๆ ด้วยสีอ่อน ๆ และโชว์โครงสร้างไม้บนเพดาน วัสดุไม้ในบ้านช่วยกำหนดจังหวะที่ผ่อนคลาย เรียบง่าย ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และสร้างความสมดุลกับวัสดุคอนกรีตซึ่งให้ความรู้สึกเย็นและดิบกระด้าง

บ้าน open plan โชว์โครงสร้างไม้

ประตูเปิดได้กว้าง

ประตูกระจกบานเลื่อนจะรวม (หรือแยก) พื้นที่รับประทานอาหารและห้องครัวออกจากสวนได้ตามสถานการณ์ สร้างจังหวะของความทึบสลับโปร่งที่ลงตัวพอดี ความยืดหยุ่นในด้านปริมาตรยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรับแสงธรรมชาติ และการเปิดระบายอากาศพร้อมรับความสดชื่นในพื้นที่ภายในได้ดีด้วย

ห้องใต้หลังคาตกแต่งโครงสร้างไม้สวยๆ

ห้องใต้หลังคาโชว์โครงไม้

ด้วยความสูงจากพื้นถึงหลังคาที่ค่อนข้างมาก ทำให้สามารถแบ่งเป็นชั้นลอยซึ่งเริ่มแรกทำเป็นห้องสมุด พื้นที่สำหรับฟังแผ่นเสียง และต่อมามีห้องทำงาน ซึ่งทำเพิ่มในช่วงที่มีโรคระบาด เนื่องจากความต้องการทำงานที่บ้านในช่วงต้องการระยะห่างทางสังคม โฮมออฟฟิศที่โชว์โครงไม้บนเพดานสุดตระการตาจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้

ห้องใต้หลังคาตกแต่งไม้และแสงสวยๆ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineered Wood) เป็นวัสดุไม้ที่ถูกแปรรูปทางอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง เป็นทางเลือกสำหรับคนชอบงานไม้ในราคาที่ลดลง โดยที่มีหน้าตาเหมือนกับไม้จริงจนแยกแทบไม่ออกแยกไม่ออก โดยส่วนใหญ่ไม้เอ็นจิเนียร์จะมี 3 ชั้นหลัก ๆ คือ เป็นชั้นผิวของไม้จริงในชั้นบนสุดหนาประมาณ 3-4 mm ชั้นกลางจะเป็นไม้ชิ้นเล็ก ๆ และชั้นล่างสุดเป็นไม้แผ่น ซ้อนกันในแนวตั้งฉากกับชั้นล่างสุดและติดกาวบนหน้ากว้าง ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติแข็งแรง สามารถดัดได้ ทำเป็นเสา โครงสร้างหลังคาได้

แปลนบ้าน

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด