
ผนังบ้านด้วยเมทัลชีท ใช้ทำบ้านเย็น
บ้านไอเดียเคยทำเนื้อหา เผยเทคนิคการทำผนังบ้านด้วยเมทัลชีท กันมาแล้วหนึ่งครั้ง เป็นบทความที่ได้รับความสนใจจากผู้อ่านจำนวนมาก และนั่นเป็นผลให้เกิดคำถามต่าง ๆ ตามมาภายหลัง เนื้อหานี้จึงเป็นเสมือนการเก็บตกไขข้อข้องใจต่าง ๆ เพื่อให้เนื้อหาเดิมครบสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยคำถามที่ผู้อ่านถามกันมามาก อาทิ บ้านจะร้อนไหม, ใช้เมทัลชีทแบบใด, วางลอนแบบไหนดี, ใช้เมทัลชีทแทนผนังเลยได้หรือไม่ เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” รวบรวมคำถามเพื่อนำมาตอบให้ครับ พร้อมกับแนะนำเมทัลชีทรุ่นใหม่จาก BlueScope ที่ออกแบบมาเพื่องานตกแต่งผนังโดยเฉพาะ
สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand
ผู้เขียน : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์
ออกแบบ : Arthouse Architects
เลือกเมทัลชีทแบบใด ใช้ทำผนัง
การติดตั้งแผ่นเมทัลชีทร่วมกับผนังบ้าน โดยปกตินิยมใช้เมทัลชีททั่วไปชนิดเดียวกับที่ใช้ทำหลังคาบ้าน ลักษณะลอนเล็กใหญ่ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความเหมาะสมด้านดีไซน์ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นแผ่นเมทัลชีทลอนฝ้า ที่มีสันลอนต่ำ สวยงาม ทั้งยังผ่านการเคลือบสีมาแล้วจากโรงงาน มีสีให้เลือกหลากหลาย
BlueScope Zacs Cools For Panel ออกแบบลักษณะแซนวิช
และด้วยความนิยมในการใช้งานร่วมกับผนังที่มากขึ้น ปัจจุบัน BlueScope ได้พัฒนาแผ่นเมทัลชีท BlueScope Zacs Cool For Panel มาเพื่องานผนังโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการยึดเกาะกับฉนวนPU ได้เป็นอย่างดี เหมาะกับนำมาใช้ร่วมกับอาคารสำนักงาน หรือบ้านที่ต้องการเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เมทัลชีททำผนังบ้าน บ้านจะร้อนไหม
บทความที่ผ่านมาได้แนะนำการติดตั้งเมทัลชีทร่วมกับผนังชนิดต่าง ๆ ทั้งการกรุบนผนังก่ออิฐทั่วไป, ผนังโฟม EPS, ผนังเบา จะสังเกตได้ว่า เมทัลชีทเป็นงานตกแต่งภายนอกเท่านั้น การมีผนังเพิ่มอีกชั้นจึงเป็นเสมือนเปลือกอาคารที่คอยห่อหุ้มผนังหลักไว้อีกชั้น จึงไม่ค่อยมีผลกับความร้อนครับ ในมุมกลับกันหากติดตั้งอย่างเหมาะสม เมทัลชีทจะช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่ผ่านเข้ามาทางผนังบ้านได้อีกชั้น
แต่สำหรับบ้านที่ใช้ผนังเมทัลชีทมาทำเป็นผนังหลัก ลักษณะนี้ย่อมส่งผลให้บ้านร้อนไว ควรต้องใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อนชนิด PU โดยทำการสั่งเมทัลชีทที่มีฉนวน PU จากโรงงาน ยิ่งโดยเฉพาะการติดฉนวนแบบแซนวิช ที่เป็นการนำแผ่นเมทัลชีทมาประกบด้านในและด้านนอก โดยมีฉนวน PU อยู่ตรงกลาง ซึ่งหากใช้ร่วมกับเมทัลชีท BlueScope Zacs Cool for panel จะมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะกับฉนวน PU ได้ดีขึ้น ไม่ลอกร่อน ส่วนเมทัลชีทชั้นนอกมีการเคลือบสีสะท้อนความร้อนไว้อีกชั้น จึงช่วยกันความร้อนได้ดี ผนังสวยเรียบ ทำความสะอาดง่าย วัสดุเมทัลชีทมีส่วนผสมของอลูมิเนียมถึง 55% ช่วยป้องกันการกัดกร่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ออกแบบ : Arbol Design
กรณีนำเมทัลชีทกรุบนผิวผนังอื่น ๆ หากมีฉนวน PU ซ้อนไว้อีกชั้น จะช่วยให้บ้านเย็นขึ้นกว่าผนังทั่วไปมาก เพราะจะครบองค์ประกอบการป้องกันความร้อน ทั้งกันความร้อนสะสมโดยฉนวน PU และการสะท้อนความร้อนด้วยแผ่นเมทัลชีทเอง และนอกจากการป้องกันความร้อนด้วยฉนวน PU แล้ว การเลือกสีของเมทัลชีทก็มีผลกับการดูดซับความร้อนเช่นกันครับ โดยสีโทนสว่าง เช่นสีขาว หรือ ครีม จะดูดซับความร้อนน้อยกว่า สีเข้ม อย่างสีดำ เทา ดังนั้นการเลือกแผ่นเมทัลชีทสีขาวย่อมเย็นกว่าการเลือกเมทัลชีทสีดำมาตกแต่งงานผนัง
วางแผ่นเมทัลชีทตามแนวตั้งหรือแนวนอน
การจัดวางรูปลอนหลังคาแต่ละแนว จะให้ดีไซน์ที่แตกต่างกัน วางแนวนอนช่วยให้เส้นสายของอาคารดูกว้างยาวขึ้น ส่วนการวางตามแนวตั้ง จะช่วยให้อาคารดูสูงโปร่ง แต่จุดที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมนอกจากความสวยงามแล้ว คือความเหมาะสมด้านการใช้งาน กรณีวางแผ่นเมทัลชีทตามแนวตั้ง ผนังจะถูกชำระล้างเศษฝุ่นคราบสกปรกไปโดยอัตโนมัติเมื่อฝนตก ในทางกลับกัน กรณีวางสันลอนตามแนวนอน ย่อมส่งผลให้เศษฝุ่นเกาะค้างบริเวณสันหลังคา ซึ่งอาจก่อให้เกิดสนิมในอนาคตได้ ดังนั้นการวางลอนตามแนวตั้งย่อมเหมาะสมกว่าครับ
ออกแบบ : NatureHumaine
ผู้อ่านท่านใดสนใจเมทัลชีทสำหรับงานผนังภายนอกและภายใน BlueScope Zacs Cool For Panel สามารถศึกษารายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ : https://bit.ly/2DYogRf | แฟนเพจ : BlueScope Thailand