เมนู

ดีไซน์โรงเก็บของ พื้นที่ไม่เยอะ ปรับประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย

ห้องเก็บของในสวน

โรงเก็บของในสวน

“โรงเก็บของ” ใครว่าไม่สำคัญ นอกจากจะเป็นพื้นที่เก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ ข้าวของรก ๆ ที่ยังไม่อยากทิ้ง แต่ก็ไม่เหมาะจะตกแต่งบ้านแล้ว โรงเก็บของสวยๆ ก็ช่วยเสริมบุคลิกให้บ้านได้เช่นกัน อยากให้ลองนึกภาพว่าหากเราบ้านดีไซน์สวยๆ มองเห็นโดดเด่นมาแต่ไกล แต่พื้นที่เก็บของเป็นห้องเก่าๆ โทรมๆ ก็จะทำให้ภาพรวมของบ้านดูดร็อปลงในทันที เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จะพาไปชมพื้นที่เก็บของที่ดีไซน์ดูดี  วัสดุหาแถว ๆ บ้านได้ไม่ยุ่งยาก เพื่อให้บ้านสมบูรณ์แบบในทุกจุด และยังสามารถปรับประยุกต์เป็นห้องทำงาน บ้านหลังน้อยในสวนสำหรับแวะมาพักช่วงสุดสัปดาห์ได้ด้วย

ออกแบบ : Fabric
ภาพถ่าย : Nancy Zhou
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านน้อยโครงสร้างไม้กรุแผ่นโพลีคาร์บอเนตลอนลูกฟูก

โครงสร้างที่เรียกว่า Nightlight นี้ ไซต์ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Akaroaใน Banks Peninsula ประเทศนิวซีแลนด์ สถาปนิก Mitchell และผู้ออกแบบ Amy Douglas จาก Fabric Architecture ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านด้วย ได้พัฒนาโรงเก็บของขนาดพื้นที่เล็ก ๆ เพียง 10 ตารางเมตร ที่ออกแบบมาอย่างสร้างสรรค์ เดิมที่นี่เป็นห้องที่เก็บเครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการล้างทำความสะอาด และไฟส่องสว่างสำหรับสวนโดยรอบ ซึ่งใช้งานในระหว่างที่ก่อสร้างบ้านใหญ่ เมื่ออาคารหลักสร้างเสร็จเจ้าของก็เลือกที่จะปรับปรุงส่วนนี้ เพื่อให้สามารถขยายสำหรับเชื่อมต่อใช้งานกับพื้นที่ใช้สอยกลางแจ้งในอนาคตได้

บ้านน้อยโครงสร้างไม้กรุแผ่นโพลีคาร์บอเนตลอนลูกฟูก

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ผนังไม้ตีเว้นระยะห่างสร้างฉากบังตา

เนื่องจากพื้นที่ตั้งโรงเก็บของเป็นที่เนิน สถาปนิกจึงใช้วิธีการวางตัวโรงเรือนไว้บนเสา ยกตัวอาคารให้อยู่ในระนาบเดียวกัน โดยไม่ต้องปรับพื้นที่  ไม่ทำลายพื้นผิวหน้าดิน และยังเกิดที่ว่างข้างใต้ให้ลมลอดผ่านลดความชื้นที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนได้

สำหรับดีไซน์ได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่นที่มีต่อสถาปัตยกรรมสไตล์ไครสต์เชิร์ชที่เจ้าของชื่นชอบ จะเห็นได้จากหลังคาที่แหลมสูง โชว์รอยต่อของวัสดุและส่วนยึดต่าง ๆ ที่แสดงออกและเปิดเผยอย่างภาคภูมิใจ ในขณะที่การตีความงานสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นในรูปแบบคล้ายประตูโชจิ ที่เป็นประตูบานเลื่อนกรอบไม้กรุกระดาษสาสีขาวขุ่นนั่นเอง

ผนังโครงสร้างไม้กรุแผ่นโพลีคาร์บอเนตลอนลูกฟูก

หลังคาเฉียงสูงโครงสร้างไม้กรุแผ่นโพลีคาร์บอเนตลอนลูกฟูก

แม้ว่าแรงบันดาลใจจะได้มาจากบ้านญี่ปุ่น แต่วัสดุก็ประยุกต์ใช้จากที่มีในท้องถิ่น ตัวบ้านประกอบด้วยโครงสร้างไม้ Abodo Vulcan และไม้สน LVL หุ้มเปลือกด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนตที่เป็นวัสดุโปร่งแสงและให้ความเป็นส่วนตัวที่จำเป็นเมื่ออยู่ภายใน ในขณะที่แสงสามารถส่องผ่านได้แต่ไม่มากเท่ากระจกใส จึงให้พื้นผิวและความประทับใจคล้ายโคมไฟญี่ปุ่นได้เช่นกัน ไม้ภายนอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีเทาเงินเมื่อเวลาผ่านไป เลียนแบบสีของลำต้นของคานุกะ สร้างความรู้สึกเชื่อมโยงกับต้นไม้โดยรอบ

ผนังวัสดุโปร่งแสง

หลังคาโครงไม้มุงวัสดุโพลีคาร์บอเนต

การเลือกใช้วัสดุไม้ ไม่ได้มาจากความต้องการสื่อสารถึงแนวคิดสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เพื่อให้แน่ใจว่าอาคารนี้จะมีค่าคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และการบำรุงรักษาต่ำ ซึ่งไม้ทุกรูปแบบที่นำมาใช้ ทั้งไม้มาโครคาร์ปาที่มาจากท้องถิ่นสำหรับพื้นระเบียง ไม้สนดัดแปลงความร้อน (LVL) ที่เลือกจากความแข็งและความตรง เพื่อให้ใช้ไม้แท้ได้น้อยลง ไม้ระแนงทั้งหมดถูกจัดเรียงอย่างระมัดระวังกับโครงสร้างภายใน และใช้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้มีรูปแบบการเรืองแสงที่สม่ำเสมอในเวลากลางคืน รูปทรงเรขาคณิตและการจัดตำแหน่งที่สำคัญนี้เป็นความท้าทายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งงานสร้าง โครง LVL ภายในมีโทนสีอบอุ่นเพื่อต้อนรับผู้ใช้ การเพิ่มสีเขียวสร้างจานโทนที่เรียบง่าย ซึ่งเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างสะดวกสบาย

ภายในห้อง workshop

ไฟกลางคืนส่องสว่างทะลุผ่านเปลือกโพลีคาร์บอเนต ทำให้อาคารเล็ก ๆ ส่องประกายระยิบระยับระหว่างไม้ระแนงในตอนกลางคืน เป็นความสวยงามที่ตัดกันกับส่วนหน้าอาคารแบบมินิมอลที่มองเห็นได้ตลอดทั้งวัน กลายเป็นเหมือนประติมากรรมแสงที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนกลางป่าเมื่อยามค่ำมาเยือน นอกจากฟังก์ชัน ความสวยงามแล้ว อาคารนี้ยังได้รับเลือกให้ได้รับรางวัล 2022 New Zealand Architecture Award ในหมวด Small Architecture Project จากความสามารถในการเคลื่อนย้ายไปยังไซต์งานและการก่อสร้างประกอบบ้านได้อย่างง่ายดาย

แสงทะลุผ่านวัสดุโปร่งแสงสวยๆ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : โพลีคาร์บอเนตเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง มีให้เลือกทั้งแบบโปร่งใสและโปร่งแสง คุณสมบัติที่ดีคือ น้ำหนักเบา สามารถทนแรงกระแทกได้ดี ทนต่อความร้อน ปกป้องภายในจากรังสี UV ได้ จึงนิยมนำมาใช้แทนกระจก สำหรับอาคารนี้ใช้วัสดุโพลีคาร์บอเนตผสมผสานกับกระจกในกรณีที่จำเป็น เพื่อให้เห็นทิวทัศน์ธรรมชาติได้ชัดเจนในตอนกลางวัน แต่ทำให้เกิดเอฟเฟกต์แสงเปล่งประกายนวล ๆ สวยงามในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นภาพที่มีเสน่ห์และแสงจากอาคารก็ไม่รบกวนวิสัยทัศน์รอบๆ ด้วย 

แปลนบ้าน

nightlight-fabric-site-plan-2nightlight-fabric-floor-plan-1

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด