เมนู

บ้านกระถางคอนกรีต ปลูกต้นไม้กินได้กว่า 40 ชนิด

บ้านคอนกรีตปลูกผักทานเอง

บ้านยั่งยืนปลูกพืชทานเอง

ในหลายปีมานี้ การให้คำนิยามของความเป็นบ้านดูจะแตกต่างหลากหลาย บางคนอาจมองเป็นพื้นที่ใช้ชีวิต เป็นจุดพักกายพักใจ หรือพื้นที่ความทรงจำ แต่สำหรับบางคน บ้านคือทั้งหมดของชีวิตที่จะอยู่ตั้งแต่เข้าจรดเย็น เกิดจนตาย ดังนั้นการจะสร้างบ้านสักหลังจึงต้องถูกใจ อยู่สบาย และในบางคนอาจเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการสร้างความยั่งยืน ผ่านการสร้างอาคารที่ใช้พลังงานต่ำ การใช้บ้านเป็นแหล่งอาหารเพาะปลูกทานเอง โดยที่ไม่ลืมใส่ ‘ความสุข’ ลงไปในการออกแบบ เหมือนบ้านนี้ที่สถาปนิกทำให้แน่ใจว่าได้ผ่านการปรับให้เหมาะกับความต้องการของเจ้าของ ผู้ครอบครองสามารถเพลิดเพลินกับการออกแบบและพื้นที่ได้จนเป็นมากกว่าคำว่า “บ้าน”

ออกแบบFormzero
ภาพถ่าย : Ameen Deen
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านปูนเปลือยหลายชั้นปลูกต้นไม้รอบอาคาร

Planter Box House บ้านที่ไม่เหมือนใครแห่งนี้ตั้งอยู่ในมาเลเซีย ได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านสำหรับคู่รักวัยเกษียณที่หลงใหลในการปลูกพืชทานเองอย่างยั่งยืน แนวคิดทั้งหมดเบื้องหลังการสร้างของ Formzero คือการออกแบบอาคารที่ไม่เหมือนใคร โดยใช้อุดมการณ์ของการผสมผสานภูมิทัศน์ธรรมชาติและสถาปัตยกรรมเข้ากับบริบทของเมือง การออกแบบมีขึ้นเพื่อท้าทายรูปแบบสถาปัตยกรรมทั่วไป ด้วยการดีไซน์บ้านคอนกรีตที่เป็นชั้นเหลื่อมกันไปมา มีกล่องคอนกรีตเล็ก ๆ ยื่นออกมารอบทิศทางเหมือนกระถางใบยักษ์ เป็นการผสมผสานระหว่างสวน ฟาร์ม และบ้าน สร้างนิยามใหม่ของบ้านเขตร้อนร่วมสมัยที่โดดเด่นออกมาท่ามกลางอาคารแบบดั้งเดิม

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

กระถางคอนกรีตขนาดใหญ่รอบตัวบ้าน

ไม่ว่าจะมองบ้านจากด้านไหน เราก็จะเห็นตัวบ้านที่มีกระถางต้นไม้คอนกรีตลดหลั่นกันลงมา แต่ละกระถางปลูกพืชกินได้ที่ชอบกว่า 40 ชนิดในทุกชั้น ไม่ว่าจะเป็นกล้วย มะละกอ ส้มโอ มะเฟือง เมล่อน ฯลฯ ต้นไม้ที่ผุดขึ้นมารอบด้านสร้างความแตกต่างทางสายตาที่ชัดเจนกับอาคารโดยรอบ ด้านหน้าเว้นให้มีพื้นที่สาธารณะเพิ่มเติมเล็กน้อยสำหรับการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับเพื่อนบ้าน กล่องเหล่านี้ไม่เพียงเป็นพื้นที่เพาะปลูกเท่านั้น แต่ยังให้ร่มเงาและทำหน้าที่เป็นพื้นที่กันชน ปกป้องตัวบ้านจากฝุ่น ควัน และเสียงสำหรับด้านหน้าอาคารด้วย

texture บนปูนเปลือย

ไม้ไผ่เป็นแม่แบบหล่อผนังคอกนรีต

หากเราเข้าไปดูในรายละเอียดของผนังบ้านใกล้ๆ จะเห็น Texture ที่เป็นริ้วลายไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสถาปนิกได้แรงบันดาลใจจากบ้านของชนพื้นเมืองที่เรียกว่า Temuan จาก Negeri Sembilan ซึ่งเป็นบ้านพื้นถิ่นเขตร้อนที่ใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกเป็นวัสดุหลัก โดยทีมงานนำไม้ไผ่มาใช้เป็นแบบหล่อสำหรับงานคอนกรีตของกล่องกระถางต้นไม้ พื้นผิวไม้ไผ่นี้แสดงถึงรูปแบบออร์แกนิกเป็นธรรมชาติ แต่ก็เป็นวิธีสร้างบ้านที่ยั่งยืนและการบำรุงรักษาต่ำ เนื่องจากผนังค่อนข้างทนทานต่อฝนและมลพิษในเมือง

ห้องนั่งเล่นประตูกระจกบานเลื่อนสูงบ้านโถงสูงบันไดเหล็กแบบพับผ้าสไตล์โมเดิร์น

พื้นที่ภายในอบอวลไปด้วยความรู้สึกอบอุ่น และ Attitude ของเจ้าของที่มีต่อบ้าน  เมื่อเปิดประตูเข้าไปจะสัมผัสได้ถึงแสงสว่าง ไม่เหมือนภาพความรู้สึกที่ค่อนข้างปิดจากกระถางและสุมทุมพุ่มไม้ ในขณะเดียวกันก็สามารถมองเห็นภาพรวมของชั้นล่างทั้งหมดได้ด้วยสายตาเพียงแวบเดียว เนื่องจากบ้านมีเพียงผนังกระจกและหน้าต่างกั้นระหว่างด้านหน้าและด้านหลัง สถาปนิกยังสร้างการเชื่อมต่อทั้งแนวตั้งและแนวนอนผ่านแปลนแบบ open plan และโถงสูงที่ทำให้เกิดชั้นลอยในบริเวณข้างๆ ช่องว่างนี้

ตกแต่งภายในบ้านเรียบง่ายติสท์ๆ

ระหว่างห้องนั่งเล่นและมุมทานข้าวคั่นด้วยการยกระดับพื้นเล็กน้อย และบันไดเหล็กสีดำมีช่องแสง skylight ดึงแสงจากธรรมชาติเข้าสู่ตัวบ้านตรงๆ  ด้านหลังของอาคารมีห้องครัวแบบ Double Volume และพื้นที่รับประทานอาหารพร้อมหน้าต่างกระจกสูงจากพื้นจรดเพดานเต็มบาน ที่สามารถเปิดออกสู่ผนังสีเขียวด้านหลังได้ ในพื้นที่บ้านจะแสดงออกชัดเจนถึงความชื่นชอบงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เพราะเจ้าของเป็นนักสะสมงานศิลปะ และยังเห็นความเคารพต่อความสวยงามตามธรรมชาติผ่านการเลือกใช้วัสดุที่ปรับแต่งน้อยที่สุด

ห้องทานข้าวประตูกระจกสูง

พื้นที่จัดสวนเล็ก ๆ ข้างบ้าน

ทุกพื้นที่มีแต่ต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นหลังคา ผนัง หรือที่ว่างชิดริมรั้ว เจ้าของบ้านจะได้ใช้เวลาในการมองดูการเจริญเติบโต และรอคอยที่จะได้ผลผลิตไม่ว่าจะเป็นดอกหรือผลก็ดีต่อจิตใจทั้งนั้น

ห้องนอน

พื้นที่นั่งเล่นตรงระเบียงบ้าน

กล่องกระถางที่สามารถกักเก็บน้ำฝน ระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ และบทบาทเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อลดการใช้พลังงานในบ้าน และยังมีการออกแบบเพื่อความยั่งยืนอื่นๆ ของบ้าน ได้แก่ ระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง หรือ Bubble deck ระบบระบายความร้อนบนพื้น และระเบียงมีหลุงคาคลุมค่อนข้างลึกที่มีต้นไม้และต้นไม้เขียวขจีในแต่ละชั้น Bubble deck จะช่วยให้บ้านไม่มีเสาและมีฉากกั้นห้องน้อยที่สุด ซึ่งทำให้ระบายอากาศได้ทั่วถึง และปรับเปลี่ยนรูปแบบภายในได้ง่ายและยืดหยุ่น ระเบียงยังเป็นจุดที่ดีสำหรับเจ้าของที่จะรับบรรยากาศเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพของเมืองได้สบายๆ

 

ชมภาพวิดีโอบ้านเพิ่มเติม

แปลนบ้าน

plans-w section-w

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด