เมนู

รื้อห้องเก่า เปลี่ยนให้สูงและกว้าง สะดวกครบฟังก์ชัน

ตกแต่งห้องชุดใหม่

ปรับปรุงห้องชุดให้ดูกว้าง

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิถีชีวิตแบบคนเมือง ทำให้รูปแบบและคำนิยามของคำว่า “บ้าน” เปลี่ยนไป กลายเป็นสังคมห้องชุดในตึกมากขึ้น ในขณะที่เราเห็นว่าห้องเล็ก ๆ น่าจะอยู่อย่างอึดอัด ก็ต้องยอมรับว่ายังมีผู้คนอีกมากมายชอบอาศัยในห้องชุดบนอาคารสูงมากกว่า อาจจะเป็นเพราะการเดินทางง่าย เหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่ไม่ต้องดูแล และถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ตาม การตกแต่งห้องให้รู้สึกถึงสเปซ มีแสง มีทางสัญจร ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันได้ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น อย่างห้องชุดขนาดพื้นที่ 68.71 ตารางเมตรในญี่ปุ่น ก็พยายามใช้ความเป็นไปได้ในงานสถาปัตย์ เพื่อสร้าง living space แบบที่ว่าในสไตล์เรียบๆ ง่าย ๆ แต่ดูทันสมัย เหมาะสำหรับอยู่คนเดียวหรือเป็นครอบครัวขนาดเล็ก

ออกแบบ : CLOCK
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

ห้องก่อนปรับปรุง

ก่อนปรับปรุงและตกแต่งใหม่

สำหรับห้องชุดในขนาดที่ว่ามา ถือว่าขนาดไม่เล็กมาก แต่ก็ไม่ใหญ่หากเทียบกับบ้านทั่วไปที่จะมีพื้นที่ใช้ชีวิตมากกว่า แต่ถ้าปรับปรุงแปลนบ้าน ใส่มุมมองใหม่ ๆ และการจัดสรรฟังก์ชันที่เหมาะสม ก็จะทำให้ขนาดพื้นที่ไม่ใช่อุปสรรคในการใช้ชีวิต ในห้องน้ก่อนปรับปรุง แปลนบ้านจะแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย ซึ่งผนังทั้งหลายเป็นหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้รู้สึกว่าห้องแคบลง จึงมีการลดผนังลงเพื่อควบรวมพื้นที่บางส่วนให้ใหญ่ขึ้น พร้อมย้ายประตูในบางจุด

เพดานเปลือยเดินไฟแบบท่อลอย

หลังจากการปรับปรุงสิ่งที่เห็นว่าเปลี่ยนไปหลัก ๆ คือ สไตล์ในการตกแต่ง จากพื้นไม้ให้ความรู้สึกอบอุ่น เพดานติดฝ้าเพดานทาสีขาวเรียบร้อย ถูกรื้อออกเปลี่ยนเป็นพื้นปูนเปลือย เพดานโชว์งานระบบสายไฟต่าง ๆ ที่ร้อยในท่อเหล็กสีดำ และแผ่นคอนกรีตดิบ ๆ แบบ Simple modern ที่มีลูกเล่นการเพิ่มเนื้อสัมผัสและความเท่ให้กับบ้าน และสร้างความรู้สึกโดยภาพรวมว่า “ไม่ต้องสมบูรณ์แบบก็ได้” ต่อมาคือการจัดพื้นที่ โดยหาคำตอบก่อนว่าเจ้าของบ้านอยากให้พื้นที่ให้มากเป็นพิเศL เพื่อจัดสัดส่วนใช้งานให้เหมาะสม จากนั้นพยายามรวบฟังก์ชันที่อยู่ด้วยกันได้เข้าไว้ด้วยกันในห้องเดียวใหญ่ ๆ เช่น การรวมครัว มุมนั่งเล่น โต๊ะทานข้าว ไว้ด้วยกันในแปลนบ้านแบบ open plan

ครัวและไอสแลนด์รวมโต๊ะทานข้าว

แม้ว่าห้องครัวและห้องรับประทานอาหารจะมีขนาดกะทัดรัด แต่การออกแบบที่ชาญฉลาดทำให้ครัวกลายเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ที่ทำงานได้หลายอย่างในจุดเดียว เริ่มจากการรื้อครัวเดิมออกแล้วออกแบบใหม่ให้เป็นรูปตัว L ตามรูปร่างมุมบ้าน เคาน์เตอร์ครัวด้านซ้ายของอ่างล้างจานจะเป็นประตูบานเฟี้ยมที่สามารถซ่อนตู้เย็นได้ และทำตู้เก็บของบิลท์อิน ทำให้การจัดเก็บ จัดวาง และการทำงานเป็นระเบียบ การรื้อฝ้าออกมาส่วนช่วยให้เพดานสูงขึ้นอีกรวมทั้งหมดสูง 4.2 เมตร ทำให้พื้นที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นในแนวตั้งโดยไม่ต้องบีบพื้นที่หรือแบ่งพื้นห้องสำหรับวางตู้เพิ่ม ไอส์แลนด์เป็นโต๊ะพร้อมสำหรับเตรียมอาหารและปรับใช้เป็นโต๊ะทานข้าวได้

มุมนั่งทำงานเล็ก ๆ

มุมเล็กๆ ข้างครัวมีพื้นที่ว่างประมาณเมตรกว่าๆ ก็ไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้เสียเปล่า ทีมงานบิลท์เป็นโต๊ะทำงานโดยใช้วัสดุเดียวกับโต๊ะรับประทานอาหาร เป็นการบริหารพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

ไอส์แลนด์ครัวขนาดเล็ก ๆ
ไอส์แลนด์คอนกรีตฉาบหยาบๆ ทาสีขาวให้เห็นรอยเกรียงเป็น Texture ที่น่าสนใจ ความพิเศษคือ การเพิ่มฟังก์ชันโต๊ะทานข้าวท็อปไม้แบบ Built in ให้ดูเหมือนตัวโต๊ะเสียบเข้าไปกับแท่นเตรียมอาหารที่วางแจกันสวยๆอยู่ตรงจุดนี้จะมีปลั๊กไฟ ทำไว้เผื่อจะวางเตาไฟฟ้าปิ้งย่าง ชาบู สุกี้ ให้ปรุงไปพร้อมทานไป บางวันอาจใช้เสียบปลั๊กต่อเครื่องมือสื่อสาน คอมพิวเตอร์ สำหรับทำงานในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานครัวหรือทานอาหาร

โคมไฟแก้วทรงกลมสวยๆ

มุมนั่งเล่นดูทีวีสไตล์ Simple-modern

มุมนั่งเล่นดูทีวีสไตล์ Simple-modern

พื้นที่ Living Space ใช้สำหรับนั่งเล่นพักผ่อนกับครอบครัว ดูทีวี เป็นผนังปูนที่บิวท์ชั้นวางของในตัวทำจากไม้ ตัดความรู้สึกกับผนังปูนสีเทาที่ให้ความรู้สึกเย็นดิบกระด้างได้อย่างดี ชั้นวางของที่บิลติดผนังคอนกรีตในบริเวณมุมนั่งดูทีวี เป็นชั้นวางที่ฝังอยู่ในผนัง สถาปนิกเลือกใช้วิธีนี้เพราะเป็นการออกแบบที่ทำให้บ้านดูเรียบร้อย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือฮาร์ดแวร์ใดๆ

ห้องนอนโทนสีเทา

ห้องนอนโทนสีเทา

ในส่วนของห้องนอนจะและห้องน้ำจะถูกยกออกมาจาก living Space เพื่อความเป็นส่วนตัว ซึ่งยังคง Concept การตกแต่งด้วยการใช้สีเทาเป็นบริเวณกว้าง ให้ความรู้สึกสงบผ่อนคลายเหมาะกับการนอนหลับ ออกแบบติดตั้งบริเวณหัวเตียงและโต๊ะเครื่องแป้งให้ต่อเชื่อมกันเป็นผืนเดียว โดยใช้งานไม้สีอ่อนๆ แสดงถึงเนื้อแท้ของวัสดุตามธรรมชาติ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บ้านพื้นที่น้อย สิ่งที่ช่วยให้บ้านดูกว้าง คือ การเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน ผ่านการจัดแปลนแบบ open plan ที่ไม่มีผนังแบ่งโดยไม่จำเป็น หรือหาจะต้องแบ่งมักจะใช้วัสดุกระจกเป็นตัวช่วยรักษษความรู้สึกกว้างของบ้าน แต่ละฟังก์ชันต้องไม่ fix จนเกินไป  เช่น เลือกใช้ประตูเป็นบานหมุน บานเฟี้ยมที่เปิดเชื่อมต่อระหว่างห้องได้ แทนที่จะก่ออิฐปิดทึบฉาบเรียบเหมือนบ้านแบบเดิม ๆ ซึ่งจะมีข้อดี ทำให้บ้านโปร่ง โล่ง ไม่แคบ การออกแบบให้แต่จะฟังก์ชันสามารถใช้งานได้หลากหลาย การใช้พื้นที่แนวตั้งให้มากขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บ้านเล็กดูกว้างขึ้นได้เช่นกัน

แปลนบ้านก่อนและหลังปรับปรุง

แปลนก่อนปรับปรุง

แปลนหลังปรับปรุง

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งคอนโด


โพสต์ล่าสุด