เมนู

3 ขั้นตอน ปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม จบปัญหาหลังคาเก่ารั่วซ้ำซาก

ปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม

แก้หลังคาบ้านรั่วซ้ำซาก

ปัญหาหลักของบ้านเก่า คือ ความเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะวัสดุหลังคาที่ต้องเผชิญทั้งแดด ลม ฝน ตลอดเวลายาวนานนับสิบปี ย่อมต้องมีเหตุให้ผุพัง รั่วซึมบ้างเป็นธรรมดาครับ เมื่อบ้านเริ่มมีอายุมากขึ้น ผู้เป็นเจ้าของจะต้องเตรียมรับมือกับปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้การอยู่อาศัยเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ต้องคอยกังวลเมื่อฝนเทลงมา

หากหลังคาบ้านยังใหม่แล้วเกิดรั่วซึม แนะนำให้ช่างซ่อมจุดต่าง ๆ ตามอาการก่อนครับ แต่หากหลังคามีสภาพเก่ามากแล้ว มีอายุ 20 ปีขึ้นไป การแก้ปัญหาเฉพาะจุดอาจไม่สามารถหยุดปัญหาระยะยาวได้ เพราะอีกไม่นานจุดรั่วใหม่ ๆ จะโผล่มาให้เห็นอีกเรื่อย ๆ จำเป็นต้องรื้อเปลี่ยนใหม่ทั้งผืนหรืออีกวิธียอดนิยมในยุคนี้ คือ ปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand

ซ่อมหลังคาบ้านรั่ว

จะว่าไปแล้วการปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ครับ เป็นวิธีที่ช่างหลังคาทั่วไปนิยมใช้กันมาหลายปีแล้ว หรือแม้แต่บริษัทใหญ่ ๆ ที่เน้นให้บริการติดตั้งและแก้ปัญหางานหลังคา เลือกแก้ปัญหาหลังคาด้วยวิธีนี้เช่นกัน เพราะจุดเด่นของเมทัลชีทที่วัสดุหลังคาอื่น ๆ ทำไม่ได้ คือ น้ำหนักเบา การปูทับหลังคาเดิมจึงมักไม่มีผลกับโครงสร้างหลังคาเก่า และด้วยลักษณะแผ่นหลังคาที่ผลิตได้ยาว การติดตั้งจึงใช้ระยะเวลาน้อย เพียง 1-2 วัน ก็เสร็จสมบูรณ์แล้วครับ แตกต่างจากการรื้อหลังคาเก่า ผู้เป็นเจ้าของบ้านจำเป็นต้องย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ออกชั่วคราว และโดยส่วนใหญ่เราจะรู้ว่าหลังคารั่วก็ต่อเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน การรื้อหลังคาเก่าออกในช่วงฝนตกอาจสร้างความเสียหายให้กับของใช้ภายในบ้านไม่มากก็น้อย หรือบ้านทาวน์โฮมที่มีหลังคาต่อเนื่องกับบ้านข้างเคียง ขณะรื้อหลังคาเก่า อาจส่งผลกระทบกับบ้านข้างเคียงได้

การปูทับเมทัลชีทบนหลังคาเดิม จึงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสูง ทั้งยังแก้ปัญหารั่วซึมได้อย่างอยู่หมัด เสมือนมีหมวกคลุมให้บ้านอีกชั้น ช่วยให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นกว่าเดิมอีกด้วยครับ

3 ขั้นตอน ปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม

สำรวจหน้างานก่อนซ่อมหลังคา

1. สำรวจหน้างานหลังคาเก่า

 ขั้นตอนแรกช่างจะทำการสำรวจพื้นที่หน้างานก่อนครับ เพราะบ้านเก่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในชุมชนอาจติดปัญหาเรื่องการขนส่ง หรือปัญหาขณะส่งหลังคาขึ้นไปปูทับ การสำรวจอาจตรวจสอบด้วยช่างเองหรือใช้วิธีการบินโดรนเข้าช่วย เพื่อตรวจสภาพจากมุมมองด้านบนของผืนหลังคาโดยรวม และสภาพข้างเคียงว่าสภาพเป็นอย่างไร มีความเสียหายภายนอกตรงส่วนไหนบ้างที่ต้องวางแผนซ่อมแซมก่อน พร้อมทั้งมองหาจุดที่จะเข้าทำงานที่ปลอดภัยโดยไม่กระทบต่อเพื่อนบ้าน

2. ประเมินโครงสร้างหลังคาเดิม

 แม้หลังคาเมทัลชีทจะมีจุดเด่นที่น้ำหนักเบากว่าวัสดุหลังคาชนิดอื่น ๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีน้ำหนักเลย และไม่อาจทราบได้ว่าบ้านแต่ละหลังผ่านการติดตั้งโครงหลังคามาได้มาตรฐานหรือไม่ มีจุดชำรุด ผุพังบ้างรึเปล่า หรือผ่านการคำนวณมาอย่างถูกต้องแล้วหรือยัง

ขั้นตอนนี้ถ้าให้ดีที่สุด ผู้สำรวจควรเป็นวิศวกรโครงสร้างครับ ก่อนเลือกช่างมาทำงานให้ จึงจำเป็นต้องสอบถามให้แน่ใจก่อนว่า ทีมช่างดังกล่าวมีวิศวกรควบคุมงานด้วยหรือไม่ หรืออาจติดต่อวิศวกรใกล้ ๆ บ้าน มาช่วยประเมินงานให้ก่อนที่จะติดต่อช่าง เพราะความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยต้องมาก่อนเสมอ

3. ติดตั้งหลังคาเมทัลชีทใหม่

ก่อนการติดตั้งแผ่นเมทัลชีทลงบนผืนหลังคากระเบื้องเดิม ควรให้ช่างซ่อมแผ่นกระเบื้องที่แตกหักชำรุดเสียหายให้เรียบร้อยก่อน การซ่อมจุดเก่าไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหารั่วซึม แต่ซ่อมเพื่อให้สภาพพร้อมใช้งาน เพราะหากมีหลังคาแตกหักอาจร่วงหล่นภายหลังได้ หรือกรณีวิศวกรประเมินแล้วพบว่า โครงสร้างเดิมไม่รองรับ ให้ทำการปรับปรุงโครงสร้างเดิมก่อน

ปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม

ภาพตัวอย่างการติดตั้งโดย : Phuket Roof

การปูหลังคาเมทัลชีททับหลังคาเดิม จะต้องติดตั้งเหล็กจันทันและวางแปเช่นเดียวกับการทำหลังคาใหม่ โดยช่างจะกำหนดจุดต้นและจุดปลายหลังคา เพื่อวัดระดับติดตั้งและกำหนดระยะแปได้ตามมาตรฐาน จากนั้นทำการปูเมทัลชีท ยึดสกรูเข้ากับแป พร้อมกับปิดครอบข้าง ครอบสัน หรืองาน finishing ใด ๆ ตามมาตรฐาน เพื่อปิดช่องว่างระหว่างแผ่นหลังคาเก่าและหลังคาใหม่ ป้องกันสัตว์หรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาได้

อ่านขั้นตอนจบแล้ว จะสังเกตได้ว่า ขั้นตอนการปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแค่ทำให้ถูกวิธีและให้ความสำคัญกับความปลอดภัย หากเป็นบ้านทั่วไป 1-2 วัน ช่างก็ติดตั้งเสร็จแล้วครับ ไม่ต้องรอลุ้นกับปัญหาหลังคารั่วในช่วงฤดูฝนอีกต่อไป

แก้ปัญหาหลังคารั่วด้วยเมทัลชีท

ภาพตัวอย่างการติดตั้งโดย : KS Group

เลือกแผ่นเมทัลชีท ให้เหมาะกับการใช้งาน

อย่างที่เราทราบกันดีว่าแผ่นเมทัลชีทช่วยแก้ปัญหารั่วซึมได้ดี เพราะวัสดุเมทัลชีทสามารถสั่งผลิตความยาวของแผ่นหลังคาได้หลายเมตรในแผ่นเดียว จึงไม่เกิดเป็นรอยต่อระหว่างแผ่น ลดปัญหารั่วซึมที่จะตามมาได้ดีกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่เมทัลชีทก็มีหลายรุ่นจึงต้องพิถีพิถันในการเลือก เพราะเมื่อนำไปปูทับหลังคากระเบื้องเก่า ต้องเลือกเมทัลชีทที่มีความหนา 0.35 ขึ้นไป ช่างติดตั้งจะสามารถทำงานได้ง่าย ทนต่อแรงกระแทก แรงลมไม่หักหรือพับง่าย นอกจากนี้ควรเลือกรุ่นหรือยี่ห้อที่มีประสิทธิภาพในการลดความร้อนไปพร้อม ๆ ควรเลือกแผ่นหลังคาที่มีการเคลือบสีสะท้อนความร้อน หรือควบคู่ไปกับการติดตั้งฉนวนชนิด PU Foam หรือ EPS ที่มีความหนา 2 นิ้วขึ้นไป เพราะเมื่อปูทับไปความร้อนจะไม่สามารถส่งผ่านมายังหลังคาและเข้าสู่ตัวบ้านได้นั่นเอง

บลูสโคป แซคส์ คูล (BLUESCOPE Zacs® Cool)

บลูสโคป แซคส์ คูล (BLUESCOPE Zacs® Cool) มีเทคโนโลยี Cool Coating technology นวัตกรรมโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษที่ถูกผสมลงในเนื้อสี ช่วยเพิ่มคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนออกไปบางส่วน ก่อนที่ความร้อนจะเข้าสู่ตัวบ้าน มีความทนทานต่อรังสี UV  เมื่อเทียบกับเมทัลชีททั่วไปที่ไม่ได้ใช้เม็ดสีสูตรพิเศษนี้ แผ่นเมทัลชีทจะดูดซับความร้อนและถ่ายเทเข้ามายังตัวบ้านไวกว่า Cool Coating Technology จึงเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ คูล มีการสะท้อนความร้อนที่ดีทุกเฉดสี

การปูเมทัลชีททับหลังคาเดิม จึงไม่เพียงแค่แก้ปัญหารั่วซึมเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับลุคให้บ้านดูใหม่ขึ้นอีกครั้ง และหลังคาที่ปูทับยังทำหน้าที่เป็นฉนวน ปกป้องบ้านจากแสงแดดได้อีกชั้น บ้านจึงเย็นกว่าเดิมมากขึ้นด้วยครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : zacsroof.nsbluescope.com  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด