เมนู

บ้านคอนเทนเนอร์ แต่งของเหลือใช้ ในฉบับของตัวเอง

บ้านคอนเทนเนอร์

บ้านตู้คอนเทนเนอร์

บ้านในโบลเดอร์ รัฐโคโลราโดหลังนี้ เป็นบ้านที่ไม่เหมือนใครทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียวกับเจ้าของ ตัวบ้านประกอบด้วยตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งสองตู้ ภายนอกห่อหุ้มภายนอกด้วยวัสดุเก่า ๆ ที่นำกลับมาใช้ใหม่ภายในตกแต่งด้วยของทำมือทั้งหมด เจ้าของบ้านและนักออกแบบ Mark Gelband และ Courtney Loveman สร้างบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงพื้นที่ของครอบครัว ที่ผสมผสานมุมมองต่อโลกของผู้เป็นเจ้าของเอาไว้อย่างเต็มเปี่ยมทุกตารางเมตร ตอนนี้พวกเขาพร้อมที่จะก้าวต่อไปและปล่อยให้คนที่ผ่านไปมาสนุกกับการสร้างสรรค์ที่ทำให้นิยามหน้าตาของ “บ้าน” ที่ต่างออกไปอย่างเป็นเอกลักษณ์

ออกแบบMark Gelband and Courtney Loveman
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านตู้คอนเทนเนอร์

บ้านตู้เหล็กที่ทำด้วยมือและหัวใจ

บ้านที่ประกอบด้วยตู้ขนส่งสินค้านี้  มีห้องนอน 4 ห้อง และห้องน้ำ 4 ห้อง รอบบ้านให้ทัศนียภาพจากบนชั้นดาดฟ้าในหลายทิศทาง รวมถึง Flatirons ที่เป็นสัญลักษณ์ของที่นี่ มีเชิงเขาทางทิศเหนือ และทิวทัศน์ทางทิศตะวันออกของ Downtown Boulder บ้านยังอยู่ในระยะที่สามารถเดินไปยังเส้นทางเดินป่าหลายแห่ง  เจ้าของบ้านจึงวางตู้ซ้อนเป็น 2 ชั้นเพื่อยกระดับมุมมองให้เห็นกว้างและไกลขึ้น ผิวผนังชั้นล่างหุ้มด้วยโลหะลูกฟูกขึ้นสนิมและไม้จากยุ้งข้าวเก่าที่นำกลับมาใช้ใหม่ “เราใช้มือในการออกแบบและสร้างทุกอย่าง ตั้งแต่ตัวบ้านไปจนถึงโคมไฟ ตู้ครัว บันได โต๊ะเครื่องแป้ง ห้องน้ำและอื่น ๆ ” Gelband อธิบาย

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ตกแต่งบ้านด้วยของเก่า

เข้ามาสู่การตกแต่งภายในบ้านที่เหมือนดินแดนอันน่าสนุก บริเวณทางเข้าและประตูด้านข้าง นำบล็อกคอนกรีตธรรมดา ๆ มาก่อเป็นม้านั่ง ใกล้ ๆ กันมีบันไดสไตล์อุตสาหกรรมรูปร่างแปลกประหลาดที่นักออกแบบเรียกว่า”the whale spine” หรือกระดูกสันหลังปลาวาฬตามรูปร่างลักษณะของตัวบันได ส่วนโถงด้านหน้านำไปสู่พื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ที่มีห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหาร

แต่งบ้านด้วยของเก่าเหลือใช้

ตกแต่งบ้านด้วยของเก่า

ตกแต่งบ้านด้วยกระดานดำ

เพดานชั้นล่างหุ้มด้วยไม้ยุ้งฉางสีถลอก โต๊ะเก้าอี้ ตู้ครัวไม้เนื้อแข็งถูกปล่อยทิ้งไว้เหมือนยังไม่เสร็จ ตุ๊กตาของเล่นยุค 80-90 ข้าง ๆ กันเป็นโต๊ะจักรเย็บผ้าที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ผนังบางส่วนเป็นกระดานดำภาพภาพตามชอบ บางส่วนประดับด้วยภาพมากมายเรียงรายดึงดูดสายตา เหมือนกับเข้ามาสู่โลกของความทรงจำอันเต็มไปด้วยรายละเอียด บอกเล่าเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์ของผู้เป็นเจ้าของที่สั่งสมมาได้เป็นอย่างดี

ตกแต่งผนังด้วยภาพ

บ้านตู้คอนเทนเนอร์

ตกแต่งบ้านด้วยของเก่าและไม้เก่า

แต่งบ้านด้วยของที่ไม่มีใครต้องการ

“ฉันเป็นนักสะสมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ฉันชอบรวบรวมสิ่งของที่ไม่มีใครต้องการ” Loveman ผู้รวบรวมสิ่งของและเฟอร์นิเจอร์จากสถานที่ต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อธิบายถึงการออกแบบตกแต่งภายในของบ้านว่า ความตั้งใจคือเป็นการสื่อสารความรู้สึกไม่ใช่รูปลักษณ์  เพราะเชื่อว่า “บ้านคือภาชนะสำหรับใส่ความรักที่ไม่หยุดนิ่งภายในครอบครัวของเรา” เธอกล่าว “มาร์คและฉันเข้าไม่ค่อยถึงการออกแบบที่ดูสุภาพราบเรียบตามแบบแผนที่นิยม นั่นเพราะเราต้องการที่จะสร้างและแบ่งปันสิ่งที่แสดงถึงโลกทัศน์ที่แปลกออกไป แทนที่เราจะทิ้งสิ่งเหล่านี้แต่เรานำมาสร้างคุณค่าต่อได้ ซึ่งเพื่อนๆ ของเราจำนวนมากได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งนี้ และนี่ก็เป็นรางวัลที่ไม่คาดคิดเช่นกัน”

เคาน์เตอร์บาร์สไตล์เรโทร

ทั้งคู่ทำโต๊ะอาหาร Handmade โดยใช้พื้นของลานโบว์ลิ่ง ตู้แช่เก่าคุ้นตามาจากมินิมาร์ท ป้ายร้านลุคเรโทร ทั้งหมดที่ประกอบเข้าด้วยกันทำให้อดีตกลับมามีชีวิต

เคาน์เตอร์ครัวตกแต่งย้อนยุค

ผนังบ้านเปิดกว้าง

บ้านเซอร์ ๆ ที่ใช้พลังงานเป็น 0

เห็นบ้านดูง่าย ๆ เรียล ๆ ด้วยของเก่าแบบนี้ แต่ระบบคิดในการออกแบบกลับไม่ธรรมดาเพราะทั้งหมดตั้งใจทำบ้านใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero หน้าต่างถูกจัดวางอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาอุณหภูมิของบ้าน ในชั้นล่างจะมีหน้าต่างหลายบานและขนาดใหญ่มากทางทิศตะวันออกและทิศเหนือ โดยมีหน้าต่างขนาดเล็กและสูงกว่าทางทิศตะวันตก เพื่อให้มีอากาศเย็นไหลเวียนจากชั้นใต้ดินได้  ส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าของบ้านจะมาจากแผงโซลาร์เซลล์บนชั้นดาดฟ้า บนหลังคามีฉนวนโฟมสเปรย์เซลล์ปิดช่วยช่วยให้บ้านประหยัดพลังงานมากที่สุด บ้านจะเย็นในฤดูร้อนและอุ่นในฤดูหนาว อุณหภูมิโเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 20-23.3 องศาเซลเซียส

พื้นที่ปิ้งย่างบนดาดฟ้า

ช่องแสงขนาดใหญ่บนผนัง

ผนังกระดานดำวาดภาพน่ารัก ๆ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : โดยปกติการใช้ชีวิตประจำวันของเรามักใช้พลังงานไฟฟ้าจากส่วนกลาง และแทบทุกกิจกรรมจะปล่อยของเสียแต่มลพิษโดยไม่รู้ตัว การสร้างบ้านแบบ Net Zero คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และไม่ปล่อยมลพิษใดๆ ออกมา จากอาคาร สำนักงาน และที่พักอาศัย  สำหรับบ้านทุกหลังในไทยตั้งแต่แหล่งต้นกำเนิดพลังงานที่ส่งมาถึงบ้านแต่ละหลังนั้นเป็นพลังงานประมาณ 93% ส่วนอีก 7 %สูญเสียไปกลางทาง ซึ่งทำให้หลาย ๆ บ้านหันมาใช้ Solar Cell ที่ปลดปล่อย CO2 น้อยกว่าพลังงานไฟฟ้า หรืออาจตีความหมายง่าย ๆ ว่า Net-Zero Energy หมายถึงบ้านอาคารที่ (เมื่อหักลบแล้ว)ใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าเป็น 0 นั่นเอง

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งบ้าน


โพสต์ล่าสุด