เมนู

Sun House บ้านสกายไลท์ เหมือนมีดวงอาทิตย์จิ๋วภายใน

บ้านหน้าแคบแต่สว่าง

บ้านหน้าแคบลึกที่โปร่งและสว่าง

Sun House ตั้งอยู่ใต้ต้นไม้บนถนนที่เงียบสงบในเมืองริมชายฝั่งที่สวยงามของ Cam Ranh จังหวัด Khanh Hoa บ้านคือความฝันของเด็ก ๆ ที่อยู่ไกลบ้าน แล้วกลับไปทำงานร่วมกันสร้างสถานที่สงบสุขแห่งใหม่ให้พ่อแม่ในบ้านเกิด จึงแวะไปที่ SPACE+ Architecture ด้วยความตั้งใจที่จะได้บ้านที่มีรูปแบบร่วมสมัยที่เรียบง่าย แต่ยังคงตอบสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยขั้นพื้นฐานได้อย่างเต็มที่ โดยที่ต้นทุนการก่อสร้างที่ประหยัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากโจทย์ที่ว่ามาสถาปนิกจึงมองหาวิธีแก้ปัญหา เพื่อรักษาจิตวิญญาณและแนวคิดของการออกแบบ จนในที่สุดก็ออกมาเป็นผลงานบ้านที่น่าสนใจหลังนี้

ออกแบบ : Space Plus Design
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านฟาซาดไม้ระแนงมี skylight วงกลม

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านสองชั้นหน้าแคบลึก

จากลักษณะที่ดินจะมีความลึกยาวและด้วยภาพรวมของบ้านเรือนในชุมชน สถาปนิกจึงออกแบบให้มีรูปทรงหลังคาที่ลาดเอียง เพื่อให้บ้านกลมกลืนกับหลังคาแบบดั้งเดิมของผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งทำให้นึกถึงรูปทรงของภูเขาบนชายฝั่งของอ่าวกัมรัญ ความลาดเอียงของหลังคายังช่วยระบายน้ำฝนได้เร็วขึ้นและจำกัดการซึมของน้ำ ปรับให้เข้ากับฝนเขตร้อนที่มีปริมาณมากและต่อเนื่อง ความพิเศษอยู่ที่หลังคาจะแยกเป็นสองส่วนและมีช่องแสงขนาดใหญ่ตรงกลาง เพื่อลดข้อจำกัดของการขาดแสงในบ้านหน้าแคบลึก

ประตูรั้วแผงอิฐช่องลมโปร่งๆ เรียบง่ายแต่ยังคงความทันสมัยให้กับบ้าน เมื่อก้าวเข้าสู่ภายในบริเวณบ้านจะเป็นลานโล่งสำหรับจอดรถ และยังเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมสำหรับครอบครัว พร้อมทำหน้าที่เป็นกันชนระหว่างกับถนน เพิ่มความเป็นส่วนตัวและลดเสียงรบกวนภายใน ด้านหน้ายังมีต้นแอปริคอตที่เติบโตขึ้นพร้อมกับวัยเด็กของลูกๆ

โถงทางเข้าบ้าน

กระถางปลูกต้นไม้ในบ้าน

ประตูหน้าบ้านเป็นบานเลื่อนกระจกกรอบไม้กว้างหลายเมตร ทำให้บ้านได้รับแสงจากด้านหน้าและเปิดรับระบายอากาศในชั้นล่างส่วนหน้าได้ดี ถัดจากประตูเข้ามาจะพบกับห้องนั่งเล่นตกแต่งง่ายๆ ด้วยชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้ยุคคุณพ่อคุณแม่ และโต๊ะทานข้าวไม้ ต่อเนื่องไปยังห้องครัว ซึ่งทั้งหมดถูกรวมเป็นพื้นที่เปิดโล่งในแปลนแบบ open plan เพื่อสร้างความรู้สึกโอ่โถงและสะดวกสบาย แม้จะเป็นเพียงบ้านที่มีความกว้างเพียง 5 ม. ด้านหลังสุดเป็นห้องนอนของปู่ย่าอยู่ชั้นล่าง เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรใช้งานและพักผ่อน และเปิดมุมมองออกสู่สวนหลังบ้าน

ห้องนั่งเล่นเฟอร์นิเจอร์ไม้

บันไดเหล็กลูกนอนไม้โปร่งๆ

พื้นที่ที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของ Sun House คือพื้นที่ครัว โดยปกติแล้วในบ้านของชาวเวียดนาม มักจะตั้งห้องครัวอยู่ด้านหลังหรือด้านข้างของบ้าน เพราะวิธีการปรุงอาหารแบบดั้งเดิม ซึ่งอาหารแถบเอเชียมักมีกลิ่นแรง และใช้เชื้อเพลิงที่เผาไหม้ง่ายประกอบอาหาร เช่น ถ่านหิน ฟืน ฯลฯ ห้องครัวจึงมักถูกมองว่าเป็นพื้นที่เสริมและได้รับความสนใจน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ

ครัวและโต๊ะทานข้าวในห้องโถงสูง

มุมครัวตกแต่งบานตู้ไม้สีน้ำตาลเข้ม

ในบ้านหลังนี้ โซนครัวถูกวางไว้ตรงกลางและด้านล่างช่องแสง ออกแบบเป็นโถงสูง Double Space เพื่อช่วยเพิ่มการทำงานร่วมกันของประสาทสัมผัสในแนวนอนและแนวตั้ง พื้นที่ที่ดูกว้างขวางทำให้ครอบครัวขยายที่มีสมาชิกหลายรุ่นนี้สามารถรวมตัวกัน มองเห็น และสื่อสารกันได้จากทุกทิศทาง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ชั้นล่างหรือชั้นบน ก็จะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศอบอุ่นของครอบครัวในห้องครัวได้หมด อีกหนึ่งจุดที่พิเศษคือกระถางสี่เหลี่ยมใบใหญ่ที่อยู่ติดกับโต๊ะทานข้าว ทำให้บ้านสดชื่นสร้างบรรยากาศเสมือนอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง แม้จะยังไม่ได้ก้าวออกจากบ้าน

ช่องแสงสกายไลท์กลมๆ เหนือบันได

หนึ่งในเหตุผลพิเศษที่ทีมออกแบบตั้งชื่อบ้านหลังนี้ว่า “Sun House” ก็คือ “ช่องรับแสง” ทรงกลม ที่ทาด้วยสีส้มเหนือพื้นที่ครัวอันแสนสะดุดตา ด้วยวิธีนี้ ส่วนกลางทั้งหมดของบ้านจะได้รับแสงสว่างตามธรรมชาติผ่าน “ดวงอาทิตย์เทียม” ขนาดจิ๋วที่ช่วยดึงแสงเข้าสู่อาคารจากด้านบน สกายไลท์นี้ยังเป็นเหมือนนาฬิกาธรรมชาติที่ช่วยให้เจ้าของบ้านรู้สึกถึงช่วงเวลาของวันด้วยแสงแดดที่ต่อเนื่อง ซึ่งเปลี่ยนเป็นเงาที่ทอดยาวบนผนังภายในชวนให้โฟกัสสายตา

ช่องแสงสกายไลท์วงกลม

ช่องแสงสกายไลท์กลมๆ

ในแง่ของการใช้งาน สกายไลท์นี้ยังช่วยให้พื้นที่ครัวมีการระบายอากาศ ด้วยความสูงจากพื้นถึงเพดานหลายเมตรและมีช่องว่างเหมือนปล่องไฟ ทำหน้าที่เป็น “เอฟเฟกต์ซ้อน” ปล่อยให้ควันและกลิ่นในครัวที่ปล่อยออกมาขณะปรุงอาหารถูกดูดออกสู่ภายนอกได้ด้วย

บันไดนำไปสู่ชั้นลอย

บันไดไม้เล่นระดับเหมือนสะพาน

จากภาพรวมภายนอกบ้านจะเห็นว่า ตัวอาคารที่ลึกยาวนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน มีหลังคาแยก 2 หลังที่เชื่อมต่อกัน ภายในจึงมีพื้นที่หน้าบ้านและหลังบ้านที่เชื่อมต่อกันด้วยบันไดและสะพานเหล็กปูด้วยระแนงไม้แบบเว้นช่อง ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งเมื่อเดินเคลื่อนไหวไปมาและไม่บดบังการพาลมและแสงธรรมชาติจากสกายไลท์ บ้านทั้งหลังจึงเต็มไปด้วยความสว่าง การเดินทางของอากาศ และความต่อเนื่องทั้งมิติของพื้นที่และสายตา

หลังคาสกายไลท์กลมๆ เหนือบันได

ห้องนั่งเล่นและห้องบูชาบนชั้นสอง

บนชั้น 2 จะประกอบด้วยห้องนอนเด็กและห้องนอนแขกที่อยู่ด้านหลัง เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว หลีกเลี่ยงเสียงรบกวนจากถนนหน้าบ้าน ส่วนห้องบูชาจัดไว้ด้านหน้าและถือเป็นพื้นที่นั่งดื่มชาที่ผ่อนคลายชมพร้อมชมความเคลื่อนไหวของถนนด้านนอกไปด้วยในตัว

ประตูไม้ระแนงติดกระจกโปร่งๆ

อาคารหลักด้านหน้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้รับผลกระทบจากแสงแดดยามเช้า ทำให้เกิดความร้อนและแสงจ้ากระทบต่อสายตาของผู้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นทีมงานจึงออกแบบโซลูชันการป้องกัน โดยในชั้นล่างหน้าห้องนั่งเล่นมีชายคากั้นพื้นที่บังแดดและฝน โดยไม่บดบังวิวจากภายในสู่ลานหน้าบ้าน

เปิดประตูได้กว้างเชื่อมต่อสวนที่ระเบียง

ส่วนชั้นบนที่หันไปทางทิศตะวันตก ใช้ระบบประตูบานเลื่อน 2 ชั้นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากระแนงไม้ไผ่และมู่ลี่แบบดั้งเดิม โดยทำเป็นบานระแนงอะลูมิเนียมลายทางแนวตั้งด้านนอก ที่ช่วยกระจายแสงและลดแสงสะท้อน ทำงานร่วมกับบานกระจกข้างในที่ช่วยป้องกันฝนและแมลงเจาะทะลุเข้ามารบกวนพื้นที่ชีวิต สามารถเลือกปิดเพื่อบังแดดทางทิศตะวันตกได้เมื่อจำเป็นและเปิดรับลมได้หากต้องการ

บรรยากาศบ้านช่วงค่ำ

มุมมองบ้านจากหลังคาช่วงค่ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ในบ้านที่มีพื้นที่หน้าแคบลึก และมีตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป มักจะมีปัญหาที่คล้ายๆ กัน คือ ต้องจัดสรรพื้นที่ให้ดูกว้าง การขาดแสงในใจกลางอาคาร ไม่มีช่องลมที่เพียงพอ ทำให้บ้านมืด ทึบ ขาดการติดต่อระหว่างชั้น วิธีการแก้ปัญหาทำได้ด้วยการจัดแปลนบ้านแบบ open plan ลดผนังกั้นแบ่งห้องให้น้อยที่สุด รวมพื้นที่ใช้งานหลักๆ ที่สามารถใช้ด้วยกันเข้าไว้ในจุดเดียว เฟอร์นิเจอร์เข้าชิดผนังเพื่อเปิดพื้นที่สัญจรตรงกลาง พยายามใช้พื้นที่แนวตั้งบนผนังให้มากขึ้น เช่น ติดชั้นวางบนผนังหรือบิลท์อิน หรือลดพื้นที่พื้นเพดานชั้นบนเพื่อเปิดเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวตั้ง ทำ skylight รับแสงจากด้านบน ก็จะทำให้การรับแสง การหมุนเวียนอากาศในบ้าน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นทำได้ง่าย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด