เมนู

บ้านหน้าแคบ 3.6 ม. กระถางใบใหญ่ในเมืองที่ชิลได้

ทาวน์เฮ้าส์หน้าแคบ

บ้านหน้าแคบลึกสำหรับคน 3 Gen

โครงการ TamHouse นี้มีพื้นที่เพียง 3.6 x 16 เมตร ตั้งอยู่บนซอยเล็ก ๆ ใจกลางกรุงฮานอย ซึ่งเป็นลักษณะที่ดินที่พบมากขึ้นในเขตเมืองใหญ่ของเวียดนาม โจทย์สำหรับงานออกแบบคือ จำลองโครงสร้างครอบครัวที่เห็นได้ทั่วไปในวัฒนธรรมของเอเชียที่เรียกว่า “สี่ชั่วอายุคนภายใต้หลังคาเดียวกัน”  ดังนั้นจึงต้องการให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัวใหญ่ในวันหยุด แต่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวเมื่อมีสมาชิกใหม่ นอกจากข้อจำกัดของบ้านหน้าแคบลึกแล้ว ด้วยพื้นที่ค่อนข้างจำกัดในแง่ของความกว้าง ที่ทำให้การสัญจรไปมาลำบากสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องน่าติดตามว่าสถาปนิกจะแก้โจทย์นี้อย่างไร

ออกแบบ : A4 Architects
ภาพถ่ายVu Nguyen
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ด้วยพื้นที่ดินที่แคบ ความสูงของพื้นจำกัด และอยู่ในตรอกเล็กๆ เพื่อให้ได้พื้นที่โล่งสำหรับพื้นที่สีเขียว แทนที่จะเปิดห้องโถงขนาดใหญ่ สถาปนิกสร้างช่องรับแสงขนาดเล็กเพื่อหมุนเวียนอากาศที่ส่วนท้ายของบ้าน และสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพสำหรับทางแยกและส่วนหน้า แต่ส่วนที่ชวนโฟกัสสายตามากที่สุดจะอยู่ที่คานเหล็กฉลุโปร่งๆ สีขาวที่ยื่นออกมา เป็นการใช้ประโยชน์จากซอยที่เงียบสงบ สร้างการสื่อสารเข้าและออกรวมทั้งขยายพื้นที่บ้านเหนือทางเข้า เป็นเป็นจุดชมวิวนั่งเล่นที่สามารถโต้ตอบกับเพื่อนบ้านที่ผ่านไปมาได้

ฟาซาดเหล็กโปร่งๆ เป็นกระถางปลูกต้นไม้

ต้นไม้ทั้งหมดที่อยู่ชั้นบนใช้เป็นฟาซาดด้านนอกของบ้าน ซึ่งรวมเข้ากับพื้นผิวทางสถาปัตยกรรมอย่างแนบเนียน ความโปร่งด้านหน้าของบ้านสร้างความรู้สึกที่สวยงาม ไม่เพียงเท่านั้นต้นไม้ยังช่วยกรองฝุ่น ลดผลกระทบจากควันพิษของยวดยานที่ผ่านไปมา เหมือนเป็นพื้นที่ปอดของบ้านและชุมชน และนำความเป็นส่วนตัวมาสู่ห้องนอนที่อยู่ติดด้านหน้าด้วย

ฟาซาดบ้านทำกระถางปลูกต้นไม้

จากประตูไม้บานใหญ่หน้าบ้านเปิดเข้าไปจะพบกับพื้นที่โถงโปร่งๆ ไม่ใหญ่มาก ปูทางเดินด้วยเหล็กทำเป็นช่องตารางใส่กรวดข้างใน ถัดไปเป็นพื้นเรียบๆ เจาะพื้นรูปทรงกลมวางเหล็กดัดลายดอกแก้วโบราณแล้วใส่กรวดไว้ข้างในดูสะดุดตา เหนือจุดนี้สถาปนิกใช้ฝ้าเพดานเป็นการฉายภาพ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นมิติของสถาปัตยกรรมและธรรมชาติอย่างกลมกลืน จนลืมว่านี่คือบ้านหน้ากว้างเพียง 3.6 เมตร บางครั้งความงามหลังจากสร้างเสร็จก็สวยงามเกินกว่าที่นักออกแบบและเจ้าของบ้านจะคาดถึง

โถงหน้าบ้านมีที่ห้อยจักรยาน

มุมนั่งเล่นพักผ่อนหน้าตู้ปลาขนาดใหญ่

ลึกเข้าไปข้างในจะมีประตูบ้านที่เป็นบานผลักอีกชั้น เพิ่มความรู้สึกปลอดภัย ภายในพบกับห้องนั่งเล่นที่สวยงามด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่  ทีมงานเน้นการจัดเฟอร์นิเจอร์ให้ชิดผนังทั้งสองด้าน เพื่อให้เกิดพื้นที่สัญจรง่ายๆ สำหรับผู้สูงวัยตรงกลาง ส่วนการตกแต่งใช้โทนสีน้ำตาลของงานหนัง พรมสีอ่อนๆ และของตกแต่งที่เป็นงานไม้ ทำให้สมาชิกที่สูงวัยยังคงคุ้นตาไม่รู้สึกแปลกแยก

มุมนั่งเล่นพักผ่อน

ผนังบล็อกแก้ว

จากชั้นล่างจะมีบันไดเป็นแกนหลักในการสัญจรระหว่างชั้นของคนอายุน้อยๆ  ซึ่งออกแบบให้มีชานพักระหว่างชั้นสามารถนั่งเล่นทำกิจกรรมประจำวันได้ ส่วนลิฟต์สำหรับผู้สูงวัยถูกวางไว้ที่ส่วนท้ายของบ้าน

มุมนั่งเล่นข้างสวนกระจก

มุมนั่งเล่นข้างสวนกระจก

บ้านนี้เน้นการมีส่วนร่วมกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแสง ลม หรือต้นไม้  อย่างที่เราเห็นว่าแทบทุกจุดจะต้องมีต้นไม้วางอยู่ อาจจะเป็นไม้ประดับแบบแขวน แบบกระถาง หรือแบบปลุูกลงดินในจุดที่ตั้งใจวางตำแหน่งเอาไว้ตั้งแต่แรก จึงไม่รู้สึกว่าบ้านขาดพื้นที่ปลุกต้นไม้ ส่วนและนั้นสถาปนิกแก้ไขปัญหาบ้านหน้าแคบลึกแถมยังมีหลายชั้นที่มักขาดแสงตรงช่วงกลางของบ้าน ด้วยการเจาะพื้นเพดานของบ้านในบางจุด แล้วใส่ของแสง skylight ดึงแสงเข้าสู่บ้านจากด้านบนแทนด้านข้าง ที่ว่างในบ้านยังเอื้อให้แสงและลมกระจายไประหว่างชั้นได้ดี

บันไดไม้เล็กๆ ดีไซน์เก่ๆ

ครัวและโต๊ะทานข้าว

ครัวและโต๊ะทานข้าว

ห้องครัวกับห้องทานข้าวจะอยู่ที่ชั้นบน ซึ่งพยายามคงคอนเซ็ปการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานให้ชิดผนังทั้งสองด้าน เพื่อเปิดพื้นที่ตรงกลางให้ขยับเก้าอี้ทานข้าวได้สะดวก สำหรับโต๊ะทานข้าวด้านติดผนังยังทำเป็นม้านั่งบิลท์อินยาว ช่วยให้ประหยัดพื้นที่สำหรับวางเก้าอี้ไปได้อีก

ประตูและคานนั่งเล่นเหล็กฉลุโปร่งๆ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การอยู่ในบ้านหน้าแคบและลึก และมีตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป มักจะมีปัญหาที่คล้ายๆ กัน คือ การจัดสรรพื้นที่ให้ดูกว้าง การขาดแสงในใจกลางอาคาร ไม่มีช่องลมที่เพียงพอ ทำให้บ้านมืด ทึบ ขาดการติดต่อระหว่างชั้น วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น อาจทำได้ด้วยการจัดเฟอร์นิเจอร์เข้าชิดผนังให้มากที่สุด เพื่อเปิดพื้นที่สัญจรตรงกลาง พยายามใช้พื้นที่แนวตั้งบนผนังให้มากขึ้น เช่น ติดชั้นวางบนผนังหรือบิลท์อิน หากเป็นไปได้ลองลดพื้นที่พื้นเพดานชั้นบน เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวตั้ง ทำ skylight รับแสงจากด้านบน ก็จะทำให้การรับแสง การหมุนเวียนอากาศในบ้าน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นทำได้ง่าย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด