เมนู

Container Home เปลี่ยนตู้เหล็กให้เป็นบ้าน

ตู้คอนเทนเนอร์สร้างบ้าน

บ้านตู้คอนเทนเนอร์

รูปแบบของที่อยู่อาศัยในทุกท้องที่บนโลกมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ  ทำให้วัสดุที่ใช้ไม่จำกัดอยู่แค่ไม้ การก่ออิฐฉาบ หรือโครงสร้างเหล็กอีกต่อไป  อย่างตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าที่เราเห็นวางซ้อนเป็นภูเขาตามจุดขนส่งใหญ่ ๆ ใครจะคาดคิดว่าวันหนึ่งจะกลายมาเป็นสิ่งที่ผู้คนหยิบจับมาทำบ้าน และเป็นบ้านที่ดูดีเสียด้วย ข้อดีของบ้านตู้คอนเทนเนอร์คือสร้างง่าย เสร็จไว ขนย้ายได้ สร้างในพื้นที่เล็ก ๆ ได้โดยไม่เลอะเทอะ และที่สำคัญราคาก็ไม่แพงมากเมื่อเทียบกับบ้านที่แพงลิบลิ่วในปัจจุบัน จึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

ออกแบบ : Pin Architect
เนื้อหาบ้านไอเดีย

กันสาดและชานบ้านขนาดใหญ่

Pin Architect ตอบรับกระแสบ้านคอนเทนเนอร์ใน  Gundogan, Bodrum ประเทศตุรกี ด้วยการออกแบบบ้านรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า เจาะผนังใส่กระจกและประตูเป็นช่วง ๆ เปิดบ้านให้อากาศถ่ายเท ดึงแสงสว่างเข้าสู่ด้านในสร้างความปลอดโปร่ง และเชื่อมมุมมองภายนอกเข้าสู่ภายใน ตู้กรุทับภายนอกด้วยไม้เพิ่มความเป็นบ้านลดความแข็งกระด้างของเหล็ก ตัวบ้านวางบนโครงสร้างฐานที่ยกสูงจากพื้น ซึ่งเป็นข้อควรระวังของการสร้างบ้านคอนเทเนอร์ เพราะตู้คอนเทนเนอร์ทำจากเหล็กอาจจะได้รับความชื้นจากดินทำให้เกิดสนิมจนผุกร่อนได้ ประกอบกับตู้ 1 ใบมีน้ำหนักประมาณ 2.2 ตันเป็นอย่างต่ำ หากวางบนพื้นอาจจะทำให้ดินทรุดตัว ดังนั้นจึงควรตอกเสาเข็มแล้วทำรากฐานคอนกรีตขึ้นมาเพื่อรองรับน้ำหนักบ้าน



บ้านสำเร็จรูปชั้นเดียว

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

เพิ่มชานบ้าน เพิ่มพื้นที่ใช้งาน

ตู้ขนส่งสินค้าที่นิยมนำมาทำเป็นบ้านหรืออาคารส่วนใหญ่จะเป็นตู้แบบ Dry cargoes เพราะหาซื้อได้ง่าย มีลักษณะที่เหมาะสมและไม่ต้องดัดแปลงมาก ขนาดของตู้ที่ใช้มี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ ไซส์ 20 ฟุต ภายนอก กว้าง 2.44 เมตร ยาว 6.06 เมตร สูง 2.60 เมตร และไซส์ 40 ฟุต ภายนอก กว้าง 2.44 เมตร ยาว 12.19 เมตร สูง 2.60 เมตร แต่พื้นที่ใช้สอยเพียงเท่านี้แทบไม่พอสำหรับใช้ชีวิต จึงมักจะต่อเติมชานออกมาประมาณ 1.5- 2 เมตร ใส่กันสาดช่วยปกป้องตัวบ้านจากแดดและฝน ก็สามารถเพิ่มมุมนั่งเล่นนอกบ้านที่เชื่อมต่อกับภายในได้โดยผ่านประตูบานกว้าง ทำให้รู้สึกว่าบ้านกว้างขึ้น

บ้านตู้คอนเทนเนอร์

หากใครที่รู้สึกว่าบ้านตู้เพียง 1 ตู้ยังเล็กไปสำหรับการใช้ชีวิต ก็สามารถเพิ่มตู้ได้เมื่อต้องการ ไม่ว่าจะนำมาวางต่อกันในแนวราบหรือวางซ้อนกันเป็นบ้าน 2 ชั้น เพราะตู้ถูกออกแบบมาให้สามารถรับน้ำหนักได้ดีวางซ้อน ๆ กันได้อยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องเชื่อมยึดตู้ระหว่างชั้นเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันการขยับ บิด (จากกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น) ซึ่งอาจจะทำให้ตู้ชั้นบนร่วงลงมาได้

สวนกลางบ้าน

จัดคอร์ทยาร์ดกลางบ้าน

ในกรณีที่ต้องการวางตู้คอนเทนเนอร์หลาย ๆ ตู้ในแนวราบ หากจัดตำแหน่งให้มีพื้นที่วางตรงกลาง ก็จะใช้สเปซส่วนนี้จัดเป็นสวนส่วนตัว ที่เป็นทั้งจุดเชื่อมต่อ จุดแบ่งพื้นที่ใช้งาน และยังช่วยกักลม กระจายความสดชื่นไปยังส่วนต่างของบ้านได้ดี ด้านบนทำโครงหลังคายกสูงขึ้นไปคลุมป้องกันแดดฝน และช่วยปกป้องส่วนบนของบ้าน ทำให้ความร้อนกระจายลงสู่หลังคาเข้าไปยังตัวบ้านได้ช้าลงด้วย

บ้านผนังกระจก

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บ้านตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำจากเหล็กล้วน ๆ แถมหลังคายังเตี้ยและแบนทำให้มีพื้นที่รับแดดได้เต็มที่ หลายคนอาจะคิดว่าไม่เหมาะกับภูมิอากาศที่ร้อนและชื้นอย่างประเทศไทย แต่ถ้าใจชอบก็มีวิธีการแก้ไข เช่น การกรุฉนวนกันความร้อนรอบด้านภายใน หรือสร้างหลังคาขึ้นมาปกป้องบ้านอีกชั้นหนึ่ง รอบๆ ตู้เจาะช่องเปิดให้มีประตูหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อระบายความร้อนกี่บานก็ได้ เท่านี้ก็สามารถสร้างบ้าน 1 หลังด้วยงบประมาณที่เอื้อมถึง สำหรับใครที่ชอบดีไซน์บ้านนี้ก็สามารถปรับไปสร้างเป็นบ้านในฝันโดยไม่ต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์ก็ได้เช่นกันครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้านชั้นเดียว


โพสต์ล่าสุด