เมนู

ทาวน์เฮาส์ท้าร้อน ไม่หวั่นแม้หันหน้าทิศตะวันตก

วิธีลดร้อนบ้านทาวน์โฮม

ทาวน์เฮาส์ฟาซาดช่องลม เย็นแม้ในวันที่ร้อนจัด

บ้านหันหน้าทิศตะวันตก ในบ้านเราต้องบอกว่าแทบจะเป็นฝันร้ายที่ใคร ๆ ก็อยากเลี่ยง เพราะเป็นทิศที่รับแสงแดดได้ดีที่สุด หากไม่มีการออกแบบที่ดีก็รับรองได้ว่าภายในจะร้อนจนใช้ชีวิตอยู่ในช่วงกลางวันไม่ไหว  แต่บางคราวชีวิตก็มีเหตุให้รับแจ็คพ็อตเจอที่ดินทิศนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ ในประเทศเวียดนามก็หนีไม่พ้นกรณีนี้เช่นกัน MW archstudio สถาปนิกในเวียดนาม จึงพยายามแก้ปัญหาบ้านร้อนให้ออกมาดีที่สุดในโจทย์ยากกว่าปกติคือ เป็นบ้านทาวน์เฮาส์ที่มีผนังติดกัน 2 ด้าน พื้นที่ใช้สอยแคบ ภายในมืดสลัว ขาดลม และไม่มีพื้นที่เปิดเห็นท้องฟ้า จนได้ผลงานออกมาเป็นบ้านหายใจได้แบบไม่ร้อน เป็นตัวอย่างที่ดีของระบบระบายอากาศและระบายความร้อนสำหรับทาวน์เฮาส์ที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตกได้อย่างดีทีเดียวครับ

ออกแบบMW Archstudio
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านผนังช่องลม

บ้านหายใจได้ มีปราการป้องกันแดดและรับลม

อาคารกว้างเพียง 6 เมตร ตั้งอยู่ในเมือง Nha Trang ตอนใต้ของเวียดนามกลาง ที่เต็มไปด้วย “ลมธรรมชาติและแสงที่กลมกลืนกัน” ด้านหน้าของบ้านหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งรับแสงเต็ม ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีจำกัดแสงอาทิตย์ที่ร้อนระอุและมีพื้นที่รับลม เพื่อทำให้บ้านเย็นลง นักออกแบบจึงสร้างเปลือกปราการครอบบ้าน เป็นผนังเจาะช่องแสงเล็ก ๆ ต่างขนาดเรียงรายเกือบเต็มพื้นที่ เพื่อช่วยกั้นกรองความร้อนของดวงอาทิตย์ แต่มีการระบายอากาศและรับแสงสว่างที่เพียงพอ

SECTION_2

จากภาพโมเดลจะเห็นวิธีการออกแบบรูปทรงอาคาร ที่เป็นตึกหน้าแคบลึกยาววางซ้อนเยื้องกันเป็น 3 ก้อน ใส่ระบบเปลือกอาคารที่สามารถกันแดดและรับลมได้ มีฟาซาดช่องลมและสร้างพื้นที่กันชนปลูกต้นไม้ข้างหน้า ภายในตัดแบ่งพื้นที่ส่วนหน้า-หลังอาคารออก แทรกด้วยที่ว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง อาคารจึงบังเงากันเองและมีพื้นที่ว่างให้บ้านหายใจ ใส่ความเป็นธรรมชาติให้ท่วมท้นไปด้วยม่านต้นไม้สีเขียวได้อย่างแนบเนียน

ผนังเจาะช่องลมเล็ก ๆ เต็มพื้นที่

ช่องแสงช่องลมเล็ก ๆ หลายร้อยช่องรอบบ้าน

ทีมงานศึกษาวิเคราะห์ทิศทางลม เพื่อกำหนดทิศทางและขนาดการใส่ช่องเปิดที่เหมาะสม จากนั้นจึงออกแบบผังอาคารให้เปิดรับลมธรรมชาติได้เต็มที่ เพิ่มความโปร่งโล่งด้วยช่องว่างภายนอกและภายใน แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือ ช่องแสงช่องลมสี่เหลี่ยมขนาดต่าง ๆ เต็มพื้นที่ผนัง กว่า 60 % ของช่องเหล่านี้เปิดออกได้ (ประมาณเกือบ 300 ช่อง) เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ช่วยให้ลมสามารถไหลผ่านช่องว่างภายในอาคารได้จากทุกทิศทางอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่หน้าบ้าน คอร์ทกลาง โถงบันได และโถงทางเดิน รอบ ๆ บ้านจึงมีลมธรรมชาติไหลเข้าออกตลอดเวลา

ผนังหายใจได้

ทางเดินเข้าสู่ตัวบ้านเป็นช่องเล็ก ๆ วางแผ่นคอนกรีตเป็นสเต็ป รอบๆ แผ่นทางเดินโรยด้วยก้อนหิน จนสุดทางเดินจะพบกับต้นไม้ที่ยืนตระหง่านรอต้อนรับอย่างเป็นมิตร ให้อารมณ์ความเป็นธรรมชาติที่ใกล้ชิดตั้งแต่แรกเข้ามา

ห้องนอนเชื่อมต่อธรรมชาติ

ห้องนอนที่ไม่ได้มีแต่ผนังทึบ แต่แบ่งพื้นที่ใส่ผนังกระจกด้านหนึ่งและใส่ช่องแสงเล็ก ๆ ข้างเตียง เพื่อเปิดเชื่อมต่อพื้นที่พักผ่อนเข้ากับสวนเล็ก ๆ ที่จัดอยู่ด้านหลังห้อง เป็นการผสมผสานบ้านเข้ากับธรรมชาติในทุกจุด

แสงและเงาตกกระทบในบ้าน

อิฐช่องลมหรือบล็อกช่องลมเป็นวัสดุที่นิยมนำมาทำเป็นผนังอาคารในเขตร้อนชื้น  แต่ในบ้านหลังนี้เลือกก่อผนังแล้วเจาะเว้นช่องลมสี่เหลี่ยมทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ซึ่งจะทำผนังให้เป็นไปตามจินตนาการและการใช้งานได้ง่ายกว่า และที่สำคัญคือช่องว่างของบล็อกเล็กเกินกว่าที่จะใส่กลไกเปิด-ปิดแบบหน้าต่างได้ วิธีนี้จึงเหมาะกับบ้านที่ได้รับการศึกษามาอย่างดี ช่องเหล่านี้ยังสามารถสร้างมิติของแสงและเงาที่เป็นเอกลักษณ์เด่นให้กับอาคารได้อย่างน่ามอง

บ้านที่เต็มไปด้วยช่องเปิด

บ้านที่เต็มไปด้วยช่องแสงเล็ก ๆ

คลิกที่ภาพ เพื่อรับชมภาพขยายใหญ่

อ่างล้างหน้า

ผนังเต็มไปด้วยช่องแสง

บ้านที่เต็มไปด้วยรูพรุนของช่องแสงเล็ก ๆ ถึง 438 ช่อง  แต่ยังมีความเป็นส่วนตัวสูงด้วยการออกแบบให้มีบางจุดที่ปิดออกจากสายตาคนบางนอก มีพื้นที่กันชนปลูกต้นไม้บังพื้นที่ข้างใน รูปแบบของพื้นที่ใช้สอยที่เป็นเอกลักษณ์ แบบไม่มีบ้านหลังไหนเหมือน

ผนังเปิดกว้างรับลม

ลานสวนหินที่จัดอยู่หลายจุดของบ้านใช้หินธรรมชาติ (หินบลูสโตนขนาด 4×6 ซม. ที่ใช้กันทั่วไปในการผสมคอนกรีต) ซึ่งหาซื้อง่ายในท้องถิ่นและราคาไม่แพง นอกจากจะเพิ่มความเป็นธรรมชาติในบ้านแล้ว ยังช่วยซับน้ำฝนไม่ให้กระเด็นเข้าสู่ตัวบ้าน  สภาพภูมิอากาศของเมืองมีการกระจายตัวของปริมาณน้ำฝนที่เท่ากันในทุกฤดูกาล ดังนั้นในบ้านนี้จึงมีระบบเก็บน้ำฝนและระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนเพื่อนำน้ำกลับมาใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้

พื้นที่ปลูกต้นไม้เล็ก ๆ

เว้นช่องว่างกลางบ้าน ปลูกต้นไม้ให้บ้านสดชื่น

การออกแบบแผงกันแดดที่เหมาะสม จึงสามารถเปิดให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคารได้มาก ทั้งยังช่วยกระจายแสงธรรมชาติสู่ทุกพื้นที่ใช้งาน การสละพื้นที่ว่างกลางบ้านและหลาย ๆ จุดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ชัดเจนในการเพิ่มแสงและลมธรรมชาติที่เพียงพอ จึงแทบจะไม่ใช้ไฟไฟ้าส่องสว่างในช่วงกลางวัน ช่วยถนอมสายตาและประหยัดพลังงาน ลดการใช้เครื่องปรับอากาศในระหว่างวัน ส่วนในเวลากลางคืนไช้ระบบไฟ LED ประหยัดพลังงาน การใช้งานเครื่องปรับอากาศเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการเพิ่มความเย็นให้บ้านเมื่อสภาพแวดล้อมภายนอกไม่มีลม

ต้นไม้เป็นส่วนหนึ่งของบ้าน

ห้องทานข้าวเปิดเชื่อมสวน

แสงลอดผ่านช่องลม

บ้านที่ภาพลักษณ์ภายนอกเรียบนิ่งไร้สีสันใด ๆ  นอกจากสีขาวและต้นไม้สีเขียว ยังสร้างความประทับใจเป็นพิเศษสำหรับผู้คนที่ผ่านไปมา พื้นที่ภายในที่กลมกลืนและใช้งานได้จริงกับชีวิตประจำวัน สร้างสภาวะสบายให้ผู้อยู่อาศัย  โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี หลังจากอยู่อาศัยค่าไฟฟ้ารายเดือนอยู่ที่ประมาณไม่ถึง 300 บาท/เดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายถูกลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับบ้านหลายหลังที่มีขนาดและจำนวนคนเท่ากันในเวียดนาม

แปลนบ้าน

ELEVATION

SECTION_1 http://credit-n.ru/avtokredit.html http://www.tb-credit.ru/get.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด