เมนู

Yod Corporation โฮมออฟฟิศที่ขับเคลื่อนความสุขของคนทำงาน

ดีไซน์ออฟฟิศ

Home Office ที่หายใจร่วมกับธรรมชาติ

“ความสุขก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์”  แน่นอนที่สุดว่าบรรยากาศที่ดีในการทำงาน จะเป็นแรงจูงใจให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  พนักงานที่มีความสุขก็มักจะส่งต่อความรู้สึกดีและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งข้อนี้ คุณยอด เจ้าของบริษัท Yod Corporation เข้าใจเป็นอย่างดี เมื่อต้องการขยายพื้นที่ทำงานและมีความพร้อมจึงเริ่มโครงการ “Change” เปลี่ยนเพื่อสร้างความสุขในองค์กร โดยตั้งเป้าหมายให้บริษัทเป็น Happy Workplace ภายในมีพื้นที่ธรรรมชาติให้ผ่อนคลาย และเต็มไปด้วยฟังก์ชันที่ดึงดูดให้ทุกคนอยากมาทำงานทุกวัน ซึ่ง Eco Architect สถาปนิกฝีมือเยี่ยมที่เราคุ้นเคยกันดีกับผลงานการรีโนเวทรีสอร์ท@น่าน ได้เข้ามารับไม้ต่อในการปรับปรุงเปลี่ยนดีไซน์ภายนอกปรับฟังก์ชันภายในให้ตรงตามโจทย์ได้อย่างน่าติดตาม

ออกแบบEco Architect
เนื้อหาบ้านไอเดีย

ก่อนและหลังรีโนเวท

ออฟฟิศที่ balance ระหว่างบ้านกับงาน

เมื่อพูดถึง “งาน” คนส่วนใหญ่จะนึกถึงความรับผิดชอบที่ค่อนข้างหนัก ในหนึ่งสัปดาห์บางคนใช้ชีวิตอยู่ที่ทำงานมากกว่าที่บ้านเสียอีก การต้องแบกรับความตึงเครียดอย่างน้อย  8 ชั่วโมง/5 วัน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย หลายองค์กรจึงหาวิธีลดทอนความกดดันจากงานที่อาจมาเบียดเบียนชีวิตส่วนตัว ด้วยการสร้าง balance โลกทั้งสองใบให้สมดุล ผ่านการสร้างบรรยากาศที่ดีในออฟฟิศให้ที่นี่เป็นสถานีขับเคลื่อนความสุข เมื่อกลับบ้านก็พกพาความสุขนั้นไปด้วย ซึ่งองค์กรระดับโลกขนาดยักษ์อย่าง Apple, Google พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีผลจริง ๆ และ Yod Corporation ก็คาดหวังผลเช่นเดียวกัน

Before : อาคารเป็นทาวน์เฮาส์คูหาเดียวผนังติดกันสองด้าน ช่องแสงและช่องลมจึงมีน้อย ซึ่งเป็นจุดด้อยทำให้อาคารประเภททาวน์เฮาส์ขาดแสงช่วงกลางอาคาร อับชื้น ร้อน และไม่มีพื้นที่สีเขียว งานหนักของสถาปนิกในอันดับแรกคือต้องพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปพร้อมๆ ไปกับงานดีไซน์ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่ใช้งานภายในอาคาร

yod-corporation หลังรีโนเวท

ก่อนทำการปรับปรุงคุณยอด เจ้าของบริษัท ต้องการขยายพื้นที่ทำงานให้มีมากขึ้น จึงซื้อทาวน์เฮาส์ข้าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 1 คูหา แบ่งสัดส่วนการใช้งานให้ 2 ชั้นแรกเป็นสำนักงานของบริษัท และชั้นที่ 3 เป็นที่อยู่อาศัยของคุณยอดและครอบครัว ก่อนอื่นสถาปนิกต้องจัดการข้อจำกัดเรื่องแสงและระบบการไหลเวียนอากาศภายในให้หายใจร่วมกับธรรมชาติ เริ่มจากการสร้างช่องเปิดขนาดใหญ่ด้านหน้าเพื่อรับแสงธรรมชาติและลมให้กระจายเข้าสู่ภายในอาคารได้ดีขึ้น แทรกระหว่างช่องว่างด้วยพื้นที่สีเขียวให้ต้นไม้ทำหน้าที่เสมือนปราการปกป้องอาคารจากรังสีความร้อนในช่วงกลางวัน จากนั้นเปลี่ยนหน้ากากอาคารใหม่เป็นบานระแนงที่เปิดปิดใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น ระแนงที่มีช่องทึบสลับว่างยังช่วยกั้นกรองแสงและสร้างความเป็นส่วนตัวให้พื้นที่ใช้ชีวิตชั้นบนไปพร้อม ๆ กันด้วย

ฟาซาดบานเปิดได้

คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขยายใหญ่


โชว์รูมต้อนรับลูกค้า

พื้นที๋โชว์รูมในชั้นล่างเป็นห้องกระจกให้เห็นกิจกรรมภายในชัดเจนตั้งแต่ด้านหน้า ภายในตกแต่งด้วยกระจกใสใส่ลูกเล่นแสงไฟซ่อนฝ้าสวยงาม ผนังใช้สีขาวดุสะอาดตาและขับให้สินค้าบนชั้นเด่นออกมา พื้นปูด้วยกระเบื้องลายหินอ่อนเพิ่มความหรูหรา ถัดจากห้องนี้จะเป็นห้องออกกลังกายและโซนออฟฟิศด้านใน

ห้องออกกำลังกาย

ที่ทำงานในฝันมีที่งีบพักกลางวัน

“ถ้าในออฟฟิศมีห้องให้นอนพักได้สักนิดก็คงจะดี” ความคิดนี้น่าจะเคยผุดขึ้นมีหัวคนทำงานบ้างในตอนที่รู้สึกอยากพัก แต่ใครจะคิดว่าจะเป็นไปได้จริงที่ Yod Corporation จากโจทย์ที่ว่าอยากให้ที่แห่งนี้เป็นเสมือนบ้านอีกหลังหนึ่งที่พนักงานสามารถใช้ชีวิตได้ และมีมุมให้พักผ่อนชาร์จพลังก่อนกลับมาทำงาน  แนวความคิดในการออกแบบ Happy Workplace จึงมีส่วนกำหนดฟังก์ชันการใช้งานให้ที่นี่ต่างจากออฟฟิศอื่น ๆ คือ มีทั้งมุมนั่งพักดื่มกาแฟ มีสเปซที่สามารถหลบไปงีบยามง่วงและล้า หลังเลิกงานมีห้องยิมให้ห้องออกกำลังกาย เช้า ๆ ก่อนมาทำงานหรือหลังออกกำลังเสร็จก็อาบน้ำที่นี่ได้ อยากทำกิจกรรมปาร์ตี้ปิ้งย่าง หิวระหว่างคิดโปรเจ็คก็มีครัวรองรับ ทุกกิจกรรมทำได้เหมือนใช้ชีวิตอยู่ในบ้านของตัวเอง

yod-corporation ก่อนและหลังรีโนเวท

ฉากกั้นไม้ระแนง

ด้วยลักษณะของอาคารทาวน์เฮาส์ที่ผนังติดกันทั้งสองด้าน ทำให้ช่องแสงกลางอาคารน้อย จะเห็นจากภาพภายในก่อนตกแต่งที่มืด ทึบ อย่างชัดเจน สถาปนิกจึงรื้อผนังบางส่วนออกให้แสงกระจายเข้ามาภายในได้มาขึ้น และเพิ่มหลอดไฟส่องสว่าง

ฉากกั้นระแนง

ห้องทำงานก่อนและหลังรีโนเวท

แสง ธรรมชาติ ผนังโล่ง ๆ เปิดจินตนาการให้ไหลลื่น

หากต้องการพนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญมากคือเลิกยึดติดกับการทำงานรูปแบบเก่า โดยเฉพาะห้องสี่เหลี่ยมปิดทึบทุกด้านที่ไม่มีแสง ไม่มีธรรมชาติ มองไปทางไหนก็มีแต่ผนังซึ่งปิดกั้นการเติบโตของจินตนาการ สถาปนิกจึงเปลี่ยนผนังให้เป็นกระจกต่อเชื่อมมุมมองออกสู่ภายนอก ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นขึ้นเพื่อดึงธรรมชาติให้ยิ่งใกล้ชิด ในช่วงที่รู้สึกว่าสายตาเริ่มล้า สมองเริ่มตันคิดงานชิ้นใหม่ ๆ ไม่ไหลลื่น การได้ทอดสายตาออกไปมองพื้นที่สีเขียวข้างนอก ปลดปล่อยจินตนาการทะลุผ่านผนังใส ๆ พักสายตาและพักสมองให้คลายเครียดแล้วค่อยกลับมาทำงาน จะเห็นว่าประสิทธิผลในการทำงานต่างกันอย่างชัดเจน

บรรยากาศห้องทำงานสบาย ๆ

ห้องทำงานบรรยากาศธรรมชาติ

แสงธรรมชาติมีผลทำให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลาย การตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่สะดวกสบาย แสงไฟสว่างพอเหมาะพอดี มีอุปกรณ์การทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ได้มีผลในการสร้างบรรยากาศเท่านั้น แต่จะมีผลในการเปลี่ยนทัศนคติที่อยู่ภายในของพนักงาน เมื่อรู้ว่าผู้ที่เป็นเจ้าของเป็นห่วงและลงทุนในความเป็นอยู่ของพนักงาน ย่อมทำให้เกิดกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ห้องทำงานส่วนตัว

ครัวก่อนและหลังรีโนเวท

บ้านบนชั้น 3 พื้นที่ที่ตอบทุกโจทย์ชีวิต

ในพื้นที่ชั้นสามเป็นบ้านส่วนตัวของครอบครัวคุณยอด เดิมบริบทของอาคารไม่ได้เหมาะสมกับฟังก์ชั่นและสไตล์อย่างที่ตั้งใจไว้จึงต้องมีบางจุดที่ตัดใจทุบ ทุบ และทุบเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า ซึ่งผลที่ได้ก็คุ้มค่ากับการทุ่มเท เพราะคุณยอดมองว่า “ผ่านมาแล้ว 13 ปีจากจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัทจนวันนี้ผมเพิ่งได้มีโอกาสสร้างบ้านในอุดมคติ ดังนั้นทุกรายละเอียดต้องใช่และตอบโจทย์ของความสุขที่ลงตัวในแบบที่เราต้องการ”

ปรับปรุงทาวน์เฮาส์เป็นโฮมออฟฟิศ

ห้องนั่งเล่นพักผ่อน

ครัวและห้องทานข้าวหลังรีโนเวท

โทนตกแต่งสงบ อบอุ่น และผ่อนคลาย

พื้นที่ใช้งานส่วนรวมของบ้านเพดานสูงจัดแบบ open plan ไม่มีผนังกั้นเป็นห้องโถงโล่ง ๆ กว้าง ๆ ประกอบด้วยฟังก์ชัน มุมนั่งเล่นดูทีวี มุมทานข้าว และครัวที่เรียงต่อกันกันไป ทำให้ทุกคนในครอบครัวสามารถเข้ามาทำกิจกรรมที่หลากหลายได้พร้อม ๆ กัน โดยไม่รู้สึกว่าบ้านอึดอัดคับแคบ Mood&Tone ในการตกแต่งเน้นงานไม้โทนสีอ่อน ผนังสีขาว ชุดโต๊ะสไตล์โมเดิร์นมินิมอล แทรกของตกแต่งที่สื่อถึงความอบอุ่นและเป็นธรรมชาติได้กลิ่นอายบ้านในแถบสแกนดิเนเวียน หลังจากทำงานเหนื่อย ๆ เมื่อขึ้นมาถึงห้องนี้ก็ได้รับพลังงานดี ๆ ชวนให้ผ่อนคลาย เหมือนได้ชาร์ตพลังชีวิตทุก ๆ วัน

มุมนั่งเล่นพักผ่อน

ผนังที่มี 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นฟาซาดบานระแนงที่ช่วยกั้นกรองแสงให้เข้าสูภายในได้ในปริมาณที่พอดี และยังช่วยปิดบังพื้นที่ภายในจากสายตาบุคคลภายนอก ระหว่างนั้นมีที่ว่างเป็นทางเดินเล็ก ๆ แล้วเป็นผนังชั้นในที่ติดประตูบานเฟี้ยมสามารถเปิดมุมมองได้เต็มที่ บานประตูเป็นกระจกใสทำให้แม้จะดึงประตูมาปิดตลอดแนวผนังก็ยังสามารถซึมซับความสดชื่นจากต้นไม้ที่จัดอยู่ภายนอกได้ อาคารสว่างและโปร่งขึ้นกว่าเดิมและอยู่สบายขึ้น เพราะได้แสงธรรมชาติ (Daylighting) และอากาศจากภายนอกที่ไหลถ่ายเทเข้าสู่ภายใน เกิดเป็น Comfort Zone ในหลายๆ ด้านทั้ง Thermal Comfort, Visual Comfort และ Indoor Air Quality

สวนเล็ก ๆ ช่วยกรองแสง

แนวต้นไม้ที่จัดเอาไว้ตรงฟาซาดส่วนที่เป็นระแนง เป็นปราการธรรมชาติช่วยป้องกันรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ (Solar Shading) ได้เป็นอย่างดี พร้อม ๆ กับให้ความสดชื่นของธรรมชาติด้วย เท่ากับได้ประโยชน์หลายต่อในจุดเดียว

ห้องนอนตกแต่งโทนสีขาวน้ำตาล

ไฟ LED ใต้เตียง

ห้องนอนที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย เตียงวางฟูกหนา ๆ วางอยู่บนฐานไม้เหมือนห้องสไตล์ญี่ปุ่นที่ดูอบอุ่น  ผนังเหนือหัวเตียงบิวท์ตู้เรียบเนียนไปกับผนังด้านอื่น ๆ ที่เป็นสีขาว ทำให้มีพื้นที่จัดเก็บในแนวตั้งอย่างเป็นสัดส่วน ไม่ต้องวางตู้หรือชั้นเพเิ่มให้กินพื้นที่ แต่ความน่าสนใจอยู่ที่ผนังด้านข้างเตียงที่เปิดผ้าม่านออกมาเป็นเหมือนตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มีต้นไม้อยู่ข้างใน แต่เมื่อเปิดแสงในในช่วงกลางคืนจะเห็นลูกเล่นของไฟซ่อนใต้เตียงที่ทำให้เตียงดูเบาและลอย

ห้องน้ำผนังกระจก

จัดสวนในห้องน้ำ

ห้องน้ำท้าทายที่ความใส

ห้องน้ำสร้างความท้าทายด้วยการออกแบบให้แวดล้อมด้วยกระจกใส  จัดพื้นที่ปลูกต้นไม้ใบเขียวสดเอาไว้ให้รู้สึกแนบชิดธรรมชาติ ทุกครั้งที่เข้ามาทำธุระส่วนตัวจะได้เปิดมุมมองสายตาอย่างเป็นอิสระออกรับวิวภายนอก เหมือนกำลังนั่งอยู่กลางแจ้ง แต่ไม่ได้เปลือยอย่างโจ่งแจ้งทั้งหมดเพราะมีแนวระแนงและต้นไม้คอยบังอยู่ และกระจกติดฟิล์มสีหากมองจากด้านนอกจะมองเข้ามาไม่เห็นกิจกรรมข้างใน

ก่อนและหลังรีโนเวท

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย :  ทาวน์เฮาส์หรือตึกแถวมีข้อจำกัดที่เหมือน ๆ กันคือ การขาดพื้นที่รับแสงในช่วงกลางอาคาร โดยเฉพาะอาคารหลายชั้นที่มีพื้นเพดานปิดทึบคั่นอยู่ ทำให้ภายในบ้านมืด ทึบ ชื้น อากาศไม่ถ่ายเท การติดต่อระหว่างชั้นทำได้ผ่านบันไดเท่านั้น สถาปนิกที่เข้ามารีโนเวทอาคารจึงต้องการกลวิธีในการเปิดช่องว่างให้บ้านรับแสงและลมได้มากขึ้น อาทิ การทุบผนังด้านหน้าและด้านหลังให้เปิดกว้างขึ้น ใส่ประตูหน้าต่างขนาดใหญ่ ภายในรื้อผนังส่วนที่ไม่ได้ใช้งานออกเพื่อให้แสงเดินทางได้ดี หรือเจาะเพดานเปิดการเชื่อมต่อระหว่างชั้น เพิ่มการไหลเวียนอากาศตามธรรมชาติในอาคาร และยังสามารถติด่อสื่อสารระหว่างชั้นได้ง่ายขึ้น อาจจะใส่ช่องแสง skylight ให้ตัวอาคารสามารถรับแสงได้จากด้านบนอีกหนึ่งช่องทาง 

แสงไฟในอาคารยามค่ำ http://credit-n.ru/offers-zaim/fastmoney-srochnyi-zaim-na-kartu.html http://www.tb-credit.ru/zaimy-online.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด