เมนู

5 วัสดุสร้างบ้าน ความธรรมดาที่มีเสน่ห์

วัสดุก่อสร้าง พื้นถิ่นไทย

วัสดุสร้างบ้านไทย

ในยุคที่โลกต้องการสิ่งใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ชีวิตที่ต่างไป จึงก่อเกิดนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ในวงการวัสดุก่อสร้างก็เช่นเดียวกันครับ ปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายให้เป็นตัวเลือกมากขึ้น ช่วยให้งานออกแบบบ้านขยายข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้มากมาย และจุดนี้เองอาจทำให้ใครหลายคนมองข้ามวัสดุธรรมดาสามัญที่หาซื้อได้ง่าย ก่อสร้างได้ง่าย ราคาถูก และสามารถสร้างสรรค์ความสวยงาม บ่งบอกเอกลักษณ์วิถีไทยได้อย่างชัดเจน

ความเป็นจริงแล้วค่านิยมในงานออกแบบ เป็นสิ่งที่วนลูปกลับไปมาได้เสมอ อย่างแบบบ้านในชนบทไทยที่ปัจจุบันกลับมาเป็นกระแสให้พูดถึงอีกครั้ง ทำให้ผู้คนหันมามองบ้านอารมณ์วิถีไทยที่ดูอบอุ่น เหมือนที่เราได้เห็นผ่านตาตามแบบฉบับ “โคก หนอง นา โมเดล” ซึ่งเน้นการจัดการพื้นที่ให้เหมาะกับพื้นที่การเกษตร ผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ  จึงมีการหยิบยกวัสดุบ้าน ๆ ซึ่งมีอยู่เดิมแล้ว กลับมาประยุกต์ใช้ผ่านการดีไซน์ใหม่ ให้คงกลิ่นอายชนบทแต่ร่วมสมัยได้อย่างมีเสน่ห์ สำหรับคนที่เห็นคุณค่าและโหยหาบ้านที่ดีไซน์ธรรมดา จากวัสดุธรรมดา เนื้อหานี้บ้านไอเดียมี 5 วัสดุ ที่ทำให้บ้านดูสวยร่วมสมัยเหมาะกับบริบทแบบไทย ๆ ทั้งยังใช้ต้นทุนก่อสร้างไม่เยอะและช่างท้องถิ่นทำงานได้ง่ายมาฝากกันครับ

สนับสนุนโดยSCG Building Materials
ภาพประกอบ : บ้านไอเดีย @บ้านข้างวัด

บ้านไม้

1. วัสดุไม้

เมืองไทยผูกพันกับไม้มานานเพราะเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในอดีต มีให้เลือกใช้หลายชนิดทั้งไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง อาทิ ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ เนื้อไม้ให้ความรู้สึกอบอุ่นทั้งทางสายตาและทางการสัมผัส  ส่วนไหนของบ้านที่กรุทับตกแต่งด้วยไม้จะสะท้อนความเป็นธรรมชาติได้ในทันที คุณสมบัติของไม้จะไม่ดูซับความชื้น ทำให้อากาศภายในบ้านโปร่งโล่งลดความชื้นรอบ ๆ ตัวบ้านได้ดีจึงเหมาะกับบ้านเขตร้อนชื้น การนำไม้ใช้ตกแต่งบ้านสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ตีเกล็ดแนวนอนหรือตีชิดทับแนวตั้ง ทำประตูและหน้าต่างแบบบานฝาไหล ซึ่งเป็นงานช่างพื้นถิ่นทางเหนือแต่อาจจะปรับให้รายละเอียดน้อยลง หรือจับคู่กับวัสดุอื่น ๆ จะช่วยดึงเสน่ห์ของบ้านยุคเก่าออกมาได้อย่างน่ามอง

2. อิฐแดง

วัสดุพื้นถิ่นที่มาทีหลังงานไม้แต่ยังมีคนใช้มาถึงปัจจุบัน คือ อิฐแดงหรืออิฐมอญ ทำจากดินเหนียวผสมแกลบเผาในอุณหภูมิสูง ราคาถูกก้อนละไม่กี่บาท สามารถหาซื้อได้ตามท้องถิ่นต่าง ๆ จึงมักจะถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังงานก่อผนัง แล้วเก็บงานให้เรียบร้อยด้วยการฉาบเรียบแล้วทาสีทับให้สวยงาม

อิฐแดงทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ทนแดด ทนฝน ได้ดี  แต่ก็เป็นวัสดุที่สะสมความร้อนและหน่วงความร้อน จึงต้องมีวิธีปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพอากาศร้อนแบบบ้านเรา เช่น การก่อผนัง 2 ชั้น หรือสลับกับอิฐช่องลมให้ระบายอากาศได้ดี เป็นต้น  อิฐแดงยังมีสีและให้ผิวสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์แบบ Rustic เมื่อลองนำมาก่อเรียงเป็นแถวเปลือย ๆ ไม่ฉาบทับแต่ยาแนวให้หนาขึ้นจนเห็นความต่างตัดกันของสีส้มกับสีคอนกรีต  หรือสร้างแพทเทิร์นใหม่ ๆ ก็จะสร้างจุดโฟกัสสายตาให้บ้านไม่แพ้ผนังแบบอื่นเลย

3. บล็อกช่องลม

บล็อกช่องลม วัสดุสุดคลาสสิคที่เรามักจะเห็นบ้านก่ออิฐยุคศตวรรษที่ 70-80 ใช้ตกแต่งบริเวณรั้ว ห้องครัว ห้องน้ำ เพื่อใช้เป็นช่องทางระบายอากาศ กลิ่น และครัว แต่หากเรานำมาตีความใหม่ บล็อกช่องลมสามารถใช้เป็นฟาซาดหรือติดตั้งในส่วนของจั่วบ้านและผนัง ทำให้บ้านมีช่องทางหายใจโปร่งสบายมีอากาศใหม่ ๆ ไหลเวียนเข้าสู่ภายในได้ตลอด ช่องว่างเล็ก ๆ ยังช่วยระบายความชื้น และรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่พรางสายตาจากผู้คนที่ผ่านไปมาภายนอก พร้อมกับสร้างมิติให้กับบ้านแบบไม่ต้องเสริมแต่ง

4. ปูนเปลือย

ปูนเปลือย เป็นวัสดุฉาบผิวที่ให้ความรู้สึกเรียบและดิบ ในบ้านยุคเก่าช่องหนึ่งจะเห็นบ้านคนจีนนิยมทำพื้นปูนขัดมันวาววับดูต่างจากพื้นไม้หรือกระเบื้องและดูแลง่ายกว่า เหมาะกับคนที่ต้องการความสวยแบบไม่ต้องเยอะ จึงเริ่มมีความนิยมฉาบผนังบ้านทั้งภายนอกและภายใน เพื่อเพิ่มลุคเท่ให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่ในความเรียบและง่ายนี้ ถ้าใช้ปูนเปลือยเพียงอย่างเดียวก็อาจดูแข็งกระด้างจนเกินไป ก็สามารถนำประผสมผสานร่วมกับวัสดุอื่น ๆ อย่าง ไม้ อิฐ บล็อกช่องลม เหล็ก และกระจก ให้มีหลากหลายอารมณ์ เป็นเหมือนงานศิลป์ที่ไม่ดูเชย

5. หลังคาลอนคู่

หลังคาเป็นส่วนสำคัญที่สื่ออารมณ์ของบ้านได้อย่างชัดเจน วัสดุหลังคาที่อยู่คู่บ้านไทยมายาวนานหลายยุคหลายสมัย ต้องยกให้ “กระเบื้องลอนคู่” เป็นวัสดุหลังคาที่มีความเรียบง่ายที่มีความแข็งแรงทนทานและราคาไม่แพงนัก รูปลอนของหลังคาแบบคลาสสิค ช่วยเติมเสน่ห์ให้ความรู้สึกที่คุ้นเคยจากสมัยรุ่นปู่ย่าตายาย

คุณสมบัติของแผ่นกระเบื้องยังมีความยืดหยุ่นด้านงานดีไซน์ สามารถทำองศาต่ำได้ 15-45 องศา หากองศาความลาดเอียงมากขึ้น จะช่วยระบายน้ำฝนให้ไหลตามแนวลอนลงสู่พื้นได้เร็วขึ้น ไม่มีความชื้นสะสมบนหลังคา จึงเหมาะกับบ้านที่มีฝนตกชุกเขตร้อนชื้นทางภาคใต้ ในขณะเดียวกันหากนำมาใช้กับภาคเหนือที่มีปริมาณฝนไม่มากนัก สามารถทำองศาต่ำเพื่อช่วยให้เกิดความอบอุ่นในฤดูหนาวได้ ด้วยความยืดหยุ่นของคุณสมบัติจึงเหมาะกับใช้ร่วมกับบ้านสวน บ้านริมน้ำ บ้านหลังคาจั่ว

หลังคาลอนคู่ เอสซีจี

สำหรับหลังคาลอนคู่ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนา เพื่อให้ตอบโจทย์กับบ้านไทยและสภาพอากาศมากยิ่งขึ้น อย่าง หลังคาลอนคู่ เอสซีจี ที่ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่คู่ไทยมายาวนานกว่า 80 ปี และได้มีสูตรแผ่นกระเบื้องลอนโดยใส่ปูนเอสซีจีคุณภาพเยี่ยมและเส้นใยพิเศษที่เรียกว่า “ไฟเบอร์ไฮบริดพลัส” (Fiber Hybrid+ Technology) ทำให้แผ่นกระเบื้องเหนียวทน เป็นลอนคู่ที่มีแผ่นหนาที่สุดในตลาดถึง 5.5 มม. มีความแข็งแรงต้านทานการหักงอได้มากกว่าลอนคู่ไฟเบอร์ซีเมนต์ทั่วไปถึง 47%  และที่สำคัญสำหรับบ้านในประเทศไทย คือคุณสมบัตินำความร้อนต่ำทำให้บ้านไม่ร้อน และเสียงไม่ดังเวลาฝนตกเมื่อเทียบกับเมทัลชีททั่วไป ตอบรับกับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ไม่มีแร่ใยหินซึ่งเป็นส่วนผสมอันตรายที่มีขนาดเล็ก ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินหายใจและมะเร็งปอด

การเลือกวัสดุในแต่ละองค์ประกอบของบ้าน ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของบ้านให้สื่อสารออกมาได้ตรงตามที่ชอบได้ หากต้องการบ้านที่ยังคงกลิ่นอายของวิถีชีวิตเอาไว้ใน การนำ 5 วัสดุเหล่านี้มาปรับแต่งใช้งานจะสะท้อนแนวความคิดของผู้เป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน สำหรับผู้อ่านที่ต้องการติดตั้งหลังคาลอนคู่ สามารถศึกษาข้อมูลพร้อมกับชมไอเดียบ้านที่ใช้กระเบื้องหลังคาลอนคู่เพิ่มเติมได้ที่ www.scgbuildingmaterials.com/th/product/roof-roman-tile  หรือ SCG HOME contact center  : 0-2586-2222

อ่านบทความ5 คุณสมบัติดี ๆ ที่ทำให้หลังคาลอนคู่เอสซีจี อยู่คู่บ้านไทยกว่า 80 ปี

http://credit-n.ru/calc.html http://www.tb-credit.ru/microkredit.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด