เมนู

หลงรักความเก่า แต่ขอปรับให้เข้ากับยุคใหม่

รีโนเวทบ้านเก่า

รีโนเวทอาคารจีนโบราณ

บ้านเก่าที่สร้างด้วยอิฐ หลังคาเป็นลอน และซุ้มประตูโค้งๆ กลายเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอารยธรรมในเมืองหลวงโบราณอย่างปักกิ่ง อาคารโบราณหลายๆ หลังที่นี่ได้รับการบูรณะและฟื้นฟูศักยภาพจนกลายเป็นสิ่งใหม่ ในรูปแบบของคาเฟ่ บ้านพักอาศัย หรือหอศิลป์ โดยทีมงานปรับปรุงอาคารมักจะไม่รื้อทิ้งออกทั้งหมด แต่จะยังคงสิ่งที่ยังใช้งานได้และไม่ทิ้งรากเหง้าเดิม ในขณะที่มีบางส่วนใส่วัสดุและเทคนิคใหม่ๆ เข้าไปอย่างกลมกลืน เพื่อคงเสน่ห์ของภูมิปัญญาจีนเอาไว้ เนื้อหานี้เราก็มีอีกเรื่องราวของเสน่ห์บ้านเก่าที่ถูกฟื้นชีพขึ้นมาใหม่อย่างน่าสนใจให้ชมกันครับ

ออกแบบ: Days in YARD Studio
ภาพถ่าย: ZouleiYiqingHaipeng
เนื้อหาบ้านไอเดีย

ประตูทางเข้าสไตล์บ้านจีนโบราณ

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ระหว่างรีโนเวท

ระหว่างการปรับปรุง จะเห็นว่าทีมงานคงเหลือเสาไม้ โครงหลังคา กระเบื้อง และอื่น ๆ ที่ยังใช้งานได้ แล้วเสริมสร้างความแข็งแรงของอาคารตั้งแต่ฐานรากถึงหลังคา รวมถึงรื้อผนังที่ไม่จำเป็นออกบางส่วน ทั้งนี้การรีโนเวททั้งหมดโครงการต้องทำอย่างระมัดระวังทั้งการศึกษาเรื่องโครงสร้าง ทิศทางแสง ลม วิว รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย อาทิ ถ้าหันหน้าไปทางถนนทางด้านทิศเหนือ บ้านจะสามารถใช้แสงธรรมชาติได้ แต่ต้องระวังเรื่องข้อห้ามทางสถาปัตยกรรมในการวางแผนและออกแบบ เช่น “การฉีกผนัง” หรือ “การเจาะรู” ทางด้านทิศตะวันออก/ตะวันตกมีอาคารสูงสองแห่ง ซึ่งหมายความว่าต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่จะมีต่อการรับแสงธรรมชาติ ตลอดจนการบดบังทัศนียภาพที่อาจเกิดขึ้น

ผนังและทางเดินแต่งหินแบบบ้านจีนโบราณ

รีโนเวทบ้านจีนโบราณ

บ้านโบราณของจีนจะนิยมสร้างเป็นสี่เหลี่ยมล้อมลานโล่งตรงกลาง ที่นี่ก็ทำแบบนั้นเช่นกัน โดยพื้นที่ของลานนี้คือ 168 ตารางเมตร และ 110 ตารางเมตร เป็นส่วนของพื้นที่ใช้สอยอเนกประสงค์ล้อมรอบ ซึ่งไม่ถือว่ากว้างนัก ดังนั้น จึงต้องหาวิธีเปลี่ยนพื้นที่แคบและจำกัดให้กลายเป็นพื้นที่กว้างขวางและอเนกประสงค์ ขั้นตอนแรกคือการทำให้พื้นที่เปิดกว้าง (โปร่งใส) และสะดวกสบายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ประตูบานเลื่อนกระจกที่ทำให้ดูเมือนบ้านไร้ผนัง ประตูแบบนี้ยังควบคุมอุณหภูมิ ป้องกันฝน และระบายอากาศ นอกจากนี้ยังทำรางน้ำฝนและพื้นที่รับน้ำฝนระบายออกจากคอร์ทไม่ให้ความชื้นสะสม เป็นอยู่ร่วมกันระหว่างการก่อสร้างแบบจีนดั้งเดิมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่น่าชื่นชม

ห้องประตูบานเลื่อนเชื่อมต่อคอร์ทยาร์ด

ผนังตกแต่งหินแบบบ้านโบราณ

ทีมงานยังมีแผนการใช้ “ลานเป็นสถานที่พบปะ” ได้อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น เริ่มแรกคือการเปิดพื้นที่ในระดับล่าง เพื่อรวมฟังก์ชันชีวิตประจำวันเข้ากับสวน ให้ภายในและภายนอกสามารถแทรกซึมและเชื่อมต่อถึงกันได้ เฉลียงที่มีพื้นที่ค่อนข้างมากจึงไม่มีผนังเปิดต่อเนื่องไปยังคอร์ท โซนนี้จะมีห้องครัว 2 ห้อง ทั้ง 2 ห้องได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติเต็มที่ วางโต๊ะนั่งเล่นดื่มน้ำชาไว้ดื่มด่ำกับสวนได้ในช่วงเช้า จากจุดนี้จะมีทางยกระดับเล็กน้อยต่อเนื่องเข้ากับห้องนั่งเล่น  ห้องน้ำชา  สตูดิโอ (สำหรับการวาดภาพ) ที่ยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ และห้องบันทึกเสียง

ซุ้มทางเดิน Arch โค้ง

ห้องจัดแสดงดนตรีเล็ก ๆ

หนึ่งในผู้สนับสนุนโครงการนี้ พร้อมด้วยเพื่อนบางคนในแวดวงวัฒนธรรมกรุงปักกิ่ง ได้จัดการแสดงแชมเบอร์มิวสิคหลายครั้ง เพราะปักกิ่งมีสถาบันและองค์กรดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย วัฒนธรรมเมืองจึงเป็นวัฒนธรรมทางดนตรี สถาปนิกเองก็เป็นนักดนตรีเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เมื่อออกแบบอาคารแห่งนี้ สถาปนิกจึงใส่ใจในเรื่องห้องสำหรับแสดงดนตรีแชมเบอร์ (วงดนตรีขนาดเล็กตั้งแต่ 2–4 คน) ที่ต้องมีการออกแบบผนังป้องกันเสียงสะท้อนและแสงที่สวยงาม ดูนุ่มนวลอบอุ่นเสริมบรรยากาศที่เข้ากับเสียงเพลง

ห้องแสดงดนตรีเล็ก ๆ

โถงบันไดขึ้นสู่ชั้นลอย

หลังคาจั่วไม้แบบโบราณตกแต่งไฟซ่อน

อีกด้านหนึ่งของห้องนั่งเล่นจะมีช่องทางบันไดนำทางขึ้นสู่ชั้นข้างบน ด้วยหลังคาจั่วที่ค่อนข้างสูง ทำให้สามารถแบ่งพื้นที่ใต้หลังคาให้เป็นสตูดิโอทำงานศิลปะเล็ก ๆ ที่สามารถมองลงไปเห็นความเคลื่อนไหวในชั้นล่างได้ ทั้งในบริเวณลานกลางบ้าน ห้องต่างๆ ที่อยู่ภายใน โดยไม่ขาดปฏิสัมพันธ์

ตกแต่งไฟซ่อนในห้องใต้หลังคา

ช่องแสง skylight

ห้องใต้หลังคาจะมีข้อเสียที่ ฤดูหนาวจะมืดและเย็น ส่วนฤดูร้อนก็จะร้อนจัดจนอยู่ไม่ได้ สถาปนิกจึงแก้ปัญหาด้วยการทำช่องแสง skylight รับแสงบนหลังคา ให้ความอบอบอุ่นและสว่าง และจะมีฉนวนกันความร้อนพร้อมช่องทางระบายอากาศ ภายในจึงอยู่อาศัยทำงานศิลป์เงียบๆ ได้สบายๆ

มุมทำงานบนห้องใต้หลังคา

 

 

 

 

แปลนอาคาร

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด รีโนเวทบ้าน


โพสต์ล่าสุด