เมนู

บ้านริมทะเล เหมาะกับเขตร้อนชื้นตั้งแต่หลังคาถึงรากฐาน

บ้านสองชั้นริมทะเล ไม่กลัวไอแดดและลมมรสุม

ใครที่บ้านอยู่ใกล้ภูเขามานานแล้ว อยากจะเปลี่ยนบรรยากาศไปสร้างบ้านอยู่ริมชายฝั่งทะเลบ้างครับ ถ้าใครสนใจอยากมีบ้านหลังที่สองเอาไว้พักตากอากาศ และอยากเก็บไอเดียดี ๆ เอาไว้ทำบ้านที่พักผ่อนได้สบาย ๆ ลองดูตัวอย่างการออกแบบบ้านสองชั้นมีใต้ถุนในประเทศอินเดีย ประเทศเพื่อนบ้านที่อากาศร้อนชื้นไม่แพ้บ้านเรากันดูนะครับ ที่นี่สถาปนิกตีโจทย์บ้านชายทะเลที่สามารถรับมือสภาพอากาศที่รุนแรงได้ดี ทนการกัดกร่อน รับประกันความแข็งแรงและการใช้งานได้ดีครับ

ออกแบบplaygroupstudio
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านสองชั้นเรียบง่ายริมชายหาด

คลิกที่ภาพ เพื่อรับชมภาพขนาดใหญ่

บ้านสองชั้นริมชายหาด

ความท้าทายหลัก ๆ ของบ้านหลังนี้คือ การรักษาฐานล่างตัวบ้านเดิมเอาไว้ แล้วสร้างโครงสร้างใหม่ที่เติมความสมบูรณ์ให้บ้าน ในขณะที่ยังคงฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานของโครงสร้างตามแบบดั้งเดิม ดูเหมือนจะง่ายแต่ไม่ใช่เสียทีเดียวเพราะตัวอาคารเดิมจะเป็นแนวเฉียงเล็กน้อย สถาปนิกจึงต้องคำนวณรายละเอียดทุกองศาให้ทั้งสองอาคารประสานกันได้พอดี ทั้งการใช้วัสดุ การรับน้ำหนัก มุมมองของอาคารใหม่และเก่า


ผังการปรับปรุงอาคาร

ภาพส่วนต่าง ๆ ของบ้าน ชั้นล่างสุดเป็นฐานอาคารเดิม ชั้นที่สองเป็นส่วนที่สร้างขึ้นมาใหม่ครอบอาคารเดิมเอาไว้ ส่วนของหลังคาของเดิมรื้อออกใหม่หมด และใส่โครงหลังคาใหม่ที่เหมาะสมกับการใช้งานในสภาพภูมิอากาศแบบชายฝั่ง

บ้านสองชั้นเปิดใต้ถุนโล่งบางส่วน

เคาน์เตอร์ครัวบริเวณใต้ถุนบ้าน

เนื่องจากตัวบ้านอยู่ใกล้กับชายหาดมาก จึงต้องทำให้บ้านให้แข็งแกร่งซึ่งจะสามารถทนต่อแรงลมทะเล ไอเค็ม และลมมรสุมได้ ผนังของอาคารเดิมใช้หินศิลาแลงขนาดใหญ่ในการก่อสร้างทำให้บ้านแข็งแรงแต่ดูหนาหนัก สถาปนิกจึงทุบบางส่วนออกใส่กระจกเพื่อให้เกิดความโปร่งและสามารถเชื่อมต่อกับส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้ดีขึ้น ชั้นบนใช้โครงสร้างคอนกรีต ชั้นล่างนี้เพิ่มเสาออกมาด้านข้างเพื่อใช้รับน้ำหนักชั้นสอง ทำให้ชั้นล่างมีพื้นที่ว่างใต้อาคารมากขึ้น เป็นใต้ถุนบ้านที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย

ที่นั่งเล่นริมหน้าต่าง

ห้องนอนติดกระจกบริเวณชั้นล่าง ช่วยเปิดมุมมองให้สามารถเชื่อมต่อความสดชื่นของสวนรอบ ๆ บ้านเข้าสู่ภายในได้ง่าย ๆ

ประตูเปิดได้ 360 องศา

รายละเอียดในการก่อสร้างและการตกแต่งแต่ละส่วนน่าสนใจแม้ในจุดเล็ก ๆ อย่างราวจับบันไดที่ทำจากท่อนไม้ดัดโค้งตามแนวบันได เข้ากับมือจับไม้ชนิดเดียวกันที่ติดอยู่บนบานสวิงที่เปิดได้ 360 องศา บริเวณช่วงรอยต่อระหว่างอาคารใหม่และอาคารเก่าจะเห็นกระจกใส ที่นอกจากจะเชื่อมรอยต่อของสองอาคารแล้วเอาไว้ ยังเป็นช่องทางรับแสงสว่างเข้ามาในอาคารได้อีกทางด้วย

ราวจับบันไดทำจากท่อนไม้

ชั้นบนเปิดเพดานโล่ง

ห้องนั่งเล่นบริเวณชั้นสองจัดให้ดูโล่งโปร่งสบาย แต่ดูโอ่โถงด้วยเพดานสูงและการบิวท์ที่นั่งปูนเปลือยขนาดใหญ่วางทับด้วยเบาะรองนั่งสีครีม เบาะรองคอทำจากหนังสีน้ำตาลเข้ม สีของเฟอร์นิเจอร์เข้ากับผนังอิฐสีน้ำตาลแดง และเพดานสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งดูเผิน ๆ จะคิดว่ากรุเพดานด้วยไม้อัด แต่จริง ๆ แล้วเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำแว๊กซ์สีแดงและสีดำที่เป็นส่วนผสมจากสมุนไพรพื้นเมืองมาผสมกันแล้วทาลงไปบนพื้นผิว ให้สีและลวดลายดูเหมือนไม้

มุมนั่งเล่นริมระเบียงบ้าน

ห้องพักผ่อนสังสรรค์ใต้หลังคา

ในสภาพอากาศแบบชายฝั่ง ซึ่งไม่มีทางเลี่ยงลมและฝนแถมยังต้องเผชิญกับไอร้อนในบางฤดู การเลือกหลังคาแบบลาดเทเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะนอกจากจะระบายน้ำฝนได้ดีแล้ว ยังช่วยเรื่องการระบายอากาศได้ด้วย จากภาพนี้เราจะเห็นว่าโครงหลังคาลาดเอียงและยกตัวขึ้นค่อนข้างสูง ทำให้ความร้อนลอยตัวขึ้นได้ดี

ส่วนข้างของตัวบ้าน

ความพิเศษของหลังคาบ้านนี้อยู่ที่การรวมข้อดีของหลังคาแบบปั้นหยาเข้ากับแบบเพิงหมาแหงน ถ้าดูจากด้านข้างจะเห็นรูปทรงหลังคาเป็นเพิงหมาแหงน แต่ถ้าดูโครงสร้างจริง ๆจะครอบคลุมบ้านทั้งสี่ด้านแบบปั้นหยา ซึ่งจะช่วยปกป้องตัวบ้านได้ดีทั้งสี่ด้าน เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบมรสุม สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของหลังคานี้คือ วัสดุที่ใช้เป็นหลังคาคอนกรีต “ไม่ใช่” ไม้ เพื่อความทนทานต่อการกัดกร่อน และการจัดองศาการเอียงเพื่อให้เปิดจะทำได้อิสระมากกว่า ช่วยลดข้อจำกัดของหลังคาปั้นหยาที่มักจะไม่มีช่องทางระบายลม โดยที่ไม่ลดความแข็งแรงของหลังคาบ้าน

บ้านสองชั้นหลังคาทรงแหงน

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด