เมนู

Common Loft Space พื้นที่ร่วมระหว่างบ้านและร้านอาหาร

จากบ้านสู่ร้านอาหาร 

บ้านเชื่อมต่อถึงร้าน ร้านเชื่อมต่อถึงโลก

” ผมจินตนาการถึง  สถานที่ที่ทุกคนดื่มด่ำได้กับอาหาร พูดคุยหัวเราะ สถานที่ที่เปิดกว้างเป็นอิสระอย่างไร้กังวลสำหรับธรรมชาติและผู้คน, สถานที่ที่เราจะได้เชื่อมต่อกับโลก ” ประโยคเปรยสั้นๆที่อ้างถึงความปรารถนาที่เด็ดเดี่ยวและมีวิสัยทัศน์นี้ เป็นของเจ้าของบ้านหลังหนึ่งในเมือง Babahoyo ประเทศเอกวาดอร์  จากประโยคสั้น ๆ สู่ความฝันอันแน่วแน่ เจ้าของบ้านได้จับมือกับสถาปนิกจาก Natura Futura Arquitectura ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างความแปลกใหม่เชิงสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสไตล์ Industrial Loft เพื่อดึงคำพูดที่ล่องลอยในอากาศให้ปรากฎเห็นตัวตนอย่างชัดเจนในความจริง

ออกแบบ : Natura Futura Arquitectura
ภาพถ่าย : Juan Alberto Andrade
เรียบเรียง : บ้านไอเดีย

บ้านสองชั้นสไตล์ลอฟท์

แต่เดิมบ้านหลังนี้เป็นเพียง farm house ที่ใช้เป็นเพียงที่อยู่อาศัยของครอบครัว ต่อมาเมื่อเจ้าของบ้านได้เริ่มหยิบจับธุรกิจการขายอาหารอาหรับและเริ่มคิดฝันที่จะขยับขยายกิจการโดยการทำร้านอาหารเพื่อสร้างธุรกิจของครอบครัวในบริเวณหน้าบ้าน โจทย์ที่ได้มอบให้สถาปนิกคือ สามารถเปิดเป็นร้านอาหารที่ไม่สูญเสียการเชื่อมต่อกับบ้าน สถาปนิกจึงออกแบบให้หน้าบ้านหรือส่วนร้านอาหารเป็นปัจเจกออกมาจากโซนในบ้าน เพื่อยังคงสงวนความเป็นส่วนตัวของบ้านไว้ โดยที่เน้นโครงสร้างแบบเปิด เพื่อไม่สร้างความรู้สึกปิดกั้นและสร้างภาวะความโล่งสบาย

ไดอะแกรม

Industrial Loft เป็นอีกหนึ่งสีสันที่นำมาปรับใช้กันได้ดีกับความโล่ง สถาปนิกเลือกหยิบจับวัสดุที่โชว์พื้นผิวและเนื้อแท้โดยไม่เน้นการตกแต่งเพิ่มมากมาย เนื่องจากเป็นพื้นที่เปิดโล่งจึงเน้นวัสดุที่ไม่ต้องความสะอาดบ่อยครั้ง อีกทั้งยังต้องเผชิญกับลมและแดดที่ลามเลียอยู่ตลอดเวลา โครงสร้างหลักจึงเลือกใช้เป็นคอนกรีตและเหล็กโดยให้ความสำคัญในเรื่องของความแข็งแรงและความทนทาน ผนังอิฐโชว์แนวภายในสร้าง texture ที่แตกต่างของวัสดุ ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามที่สอดรับกับโครงสร้างในสไตล์ Industrial Loft

ตกแต่งภายในด้วยผนังคอนกรีต

โต๊ะอาหารสีขาว

ผนังคอนกรีตแบบเปลือย
ดิบเรียบง่ายด้วยส่วนผสมของโครงสร้างเหล็กสีดำและผนังคอนกรีตลวดลายจากการฉาบโดยตั้งใจ

ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของสัจจะวัสดุในร้านอาหารแห่งนี้คือท่อนไม้สักที่ไม่ปรุงแต่งเพิ่มเติมอะไร โดยใช้การก่อสร้างที่อาศัยแรงงานและวัสดุภายในท้องถิ่น ซึ่งลักษณะการออกแบบเช่นนี้ สถาปนิกตั้งชื่อให้ว่า บ้านไม้ต่อขา’ ทีมออกแบบเน้นการใช้ท่อนไม้สักนี้ในการสร้างภาพของเสาที่รับกับหลังคาโครงสร้างเหล็ก โดยเชื่อมกับคานและฐานโครงสร้างเหล็กอีกที จัดวางอยู่ตรงกลางของโครงสร้างคล้ายม่านเปิดของบานประตู มุ่งเน้นเพื่อการตกแต่งมากกว่าการรับน้ำหนัก ซึ่งการรับน้ำหนักเชิงโครงสร้างนั้นใช้เสาที่ถูกซ่อนภายใต้ผนังอิฐเป็นหลัก

กำแพงสีขาว

ร้านอาหารที่หยิบเอาส่วนผสมที่ลงตัวของวัสดุสู่กระบวนการการถักทอฝันของเจ้าของบ้าน ด้วยการออกแบบที่สะท้อนความเข้าใจในความต้องการ วัสดุที่เหมาะกับการใช้งาน และความเหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ทำให้ร้านอาหารแห่งนี้สามารถสื่อสารเจตนารมณ์ของเจ้าของบ้านได้ชัดเจนมากขึ้น ร้านแห่งนี้จึงไม่ใช่แค่เพียงอาหารที่แน่วแน่ด้วยอุดมการณ์ แต่ยังเป็นก้อนความฝันที่กำลังมีชีวิตอีกด้วย

ร้านอาหารสไตล์ลอฟท์

 

แบบแปลน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด