เมนู

5 วัสดุก่อสร้างกันร้อน เพื่อบ้านเย็นประหยัดพลังงาน

5 วัสดุกันร้อน ประหยัดไฟเบอร์ 5

การก่อร่างสร้างบ้าน เป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อให้บ้านเป็นที่อยู่อาศัยไว้สำหรับพักกาย พักใจ พักผ่อนอย่างมีความสุข แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปีในประเทศไทย หากบ้านไม่ได้ผ่านการออกแบบบ้านให้สอดรับกับธรรมชาติ ไม่วางแผนงานก่อสร้างให้ดี บ้านที่คาดหวังไว้ว่าจะเป็นสถานที่ที่ให้เป็นร่มเงา อาจกลายเป็นเตาอบดี ๆ ได้เช่นกันครับ เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” พาไปรู้จักกับวัสดุก่อสร้างเพื่อบ้านเย็นที่หาซื้อได้ง่าย มีจำหน่ายตามร้านค้าวัสดุก่อสร้างและศูนย์จำหน่ายวัสดุก่อสร้างทั่วไป เพียงปรับเปลี่ยนเลือกใช้วัสดุตามคำแนะนำในเนื้อหานี้ รับประกันได้ว่า อุณหภูมิภายในบ้านของผู้อ่าน ย่อมลดลงกว่าบ้านทั่วไปอย่างแน่นนอนครับ

สนับสนุนโดย : Q-CON

วัสดุก่อสร้าง เพื่อบ้านเย็น

บ้านร้อนเกิดจากอะไร

ต้นเหตุของบ้านร้อนส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการออกแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ และอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเลือกวัสดุที่ไม่เหมาะสม ไม่เอื้อต่อการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน บ้านที่ดีจึงต้องออกแบบให้อากาศภายในบ้านเกิดการถ่ายเท เพื่อสร้างกลไกการระบายความร้อนให้กับบ้าน พร้อมกับเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตมาเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านโดยเฉพาะ โดยในเนื้อหา ผู้เขียนคัดสรรมาให้ 5 จุดสำคัญ ดังนี้

เริ่มจากหลังคาสะท้อนความร้อน

วัสดุหลังคาที่ดีควรมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ซึ่งการสะท้อนความร้อนของหลังคาบ้านแบ่งได้ 2 ส่วน ครับ ส่วนของวัสดุหลังคาหรือกระเบื้องหลังคาที่มีการเคลือบสีสะท้อนความร้อนมาให้ จะสามารถป้องกันแสงแดดได้ดีกว่ากระเบื้องหลังคาที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบสี แต่หากวัสดุหลังคาที่ติดตั้ง ไม่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนก็ไม่ต้องกังวลไปครับ ปัจจุบันมีแผ่นสะท้อนความร้อนติดตั้งใต้หลังคา แผ่นสะท้อนความร้อนเป็นเสมือนเกราะป้องกัน ช่วยลดความร้อนจากแสงแดด ลดการกระจายความร้อนเข้าสู่โถงหลังคา

หลังคาคอนกรีต SCG Neustile X-Shield HeatBLOCK สะท้อนความร้อนได้

โถงหลังคาสูง มีฉนวนกันร้อน

รูปทรงหลังคาบ้านที่เหมาะสมในประเทศไทย ควรเป็นหลังคาที่มีโถงหลังคาสูงโปร่ง เพราะโถงหลังคาเปรียบเสมือนพื้นที่กักเก็บความร้อนก่อนกระจายเข้าสู่ภายในบ้าน ยิ่งมีโถงหลังคาใหญ่มากเท่าไหร่พื้นที่กักเก็บความร้อนจะยิ่งมากขึ้น แต่หากมีพื้นที่กักเก็บน้อย ความร้อนจะไหลผ่านเข้าภายในบ้านได้อย่างรวดเร็ว

โดยปกติบ้านทั่วไปจะนิยมทำฝ้าเพดานเพื่อความสวยงาม นอกจากความสวยงามแล้ว ฝ้าเพดานยังเป็นส่วนป้องกันความร้อนจากโถงหลังคาได้อีกชั้นด้วยครับ และหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ควรมีฉนวนกันความร้อนติดตั้งไว้บนฝ้าเพดาน จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการกันร้อนได้อีกหลายเท่าตัว

ฉนวนกันร้อน SCG-Stay-Cool

ติดตั้งฉนวนกันร้อน Stay Cool

ฝ้าชายคาระบายอากาศได้

มวลความร้อนที่สะสมใต้โถงหลังคาจำเป็นต้องมีทางออก เพื่อให้โถงหลังคามีอากาศใหม่เข้ามาถ่ายเทอยู่เสมอ มิเช่นนั้นหากความร้อนสะสมในปริมาณมากขึ้น จะค่อย ๆ ถ่ายเทเข้าสู่ภายในบ้าน และการถ่ายเทที่ดีควรออกแบบให้ถ่ายเทออกสู่นอกบ้านครับ ซึ่งหากพิจารณาองค์ประกอบของหลังคาแล้ว ส่วนที่เหมาะสมมากที่สุดคือ “ฝ้าชายคา” ฝ้าชายคาที่ดีควรเป็นฝ้าที่สามารถระบายอากาศได้ เพื่อให้มวลอากาศร้อนภายในโถงหลังคาได้ถ่ายเทออก และยังเป็นช่องลมเข้า ให้อากาศใหม่ได้มาแทนที่อากาศร้อนเดิม

จุดที่ต้องระมัดระวังในการนำฝ้าชายคาที่มีรูระบายอากาศมาใช้ รูดังกล่าวไม่เพียงแค่เป็นช่องลมเท่านั้น แต่อาจจะเป็นช่องทางเข้าของสัตว์และแมลงต่าง ๆ ได้ จึงแนะนำให้หาตะแกรงมาติดทับไว้อีกชั้นครับ หรือเลือกใช้ฝ้าระบายอากาศที่มีตะแกรงป้องกันติดตั้งมาให้พร้อมใช้งาน เพิ่มความสะดวกให้กับงานติดตั้ง

ฝ้าชายคา ระบายอากาศ กันแมลง

ฝ้าชายคาสมาร์ทบอร์ด ระบายอากาศได้

สีทาผนังสะท้อนความร้อน

นอกจากหลังคาบ้านแล้ว ส่วนที่ได้รับแสงแดดรองลงมาเป็นส่วนผนังบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่ไม่ได้ออกแบบให้มีชายคายื่นยาวจะยิ่งได้รับแสงแดดผ่านผนังบ้านมากเป็นพิเศษ สีทาผนังบ้านที่เหมาะกับบ้านเย็น ควรเลือกสีโทนอ่อนครับ เพราะสีโทนอ่อน เช่น สีขาว สีครีม หรือสีใด ๆ ที่มีความอ่อนใกล้เคียงสีขาว จะมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้ดีกว่าสีโทนเข้ม

ส่วนสีโทนเข้ม เช่น สีเทา ดำ หรือสีใด ๆ ที่มีความเข้มมืด จะมีคุณสมบัติดูดซับความร้อน หากผู้อ่านต้องการทาสีบ้านด้วยสีโทนเข้ม แนะนำให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สีทาบ้านที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้ สีชนิดดังกล่าวจะมีส่วนผสมของเซรามิก มีความเกลี้ยงเรียบเนียนของผิวสีที่ดีกว่าสีทั่วไป จึงสามารถสะท้อนความร้อนได้ครับ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สีที่ได้รับฉลากเบอร์ 5 อาทิ สีเบเยอร์คูล, สี TOA ซุปเปอร์ชิลด์

ผนังบ้านเย็นด้วยอิฐมวลเบา

การทำผนังบ้านเย็นในอดีต อาศัยการก่ออิฐมอญ 2 ชั้น แต่วิธีดังกล่าวส่งผลให้เกิดความล่าช้า ค่าแรงช่างมากขึ้น โครงสร้างบ้านรับน้ำหนักมากขึ้น ปัจจุบันเจ้าของบ้านจึงนิยมเลือกวัสดุอิฐมวลเบามาทดแทนอิฐมอญ ข้อดีของอิฐมวลเบาด้วยขนาดก้อนที่ใหญ่จึงสามารถก่อผนังได้อย่างรวดเร็ว ลดค่าแรงคนงานไปได้มาก ทั้งยังน้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ ช่วยให้ลดต้นทุนค่าโครงสร้างไปได้ครับ

ปัจจุบันอิฐมวลเบาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในไทย เป็นอิฐมวลเบา Q-CON มีขนาด 20 ซ.ม. x 60 ซ.ม. และมีความหนาให้เลือกตั้งแต่ 7.5 ซม. – 25 ซม. ยิ่งมีตัวเลขความหนามาก คุณสมบัติกันความร้อนจะยิ่งมากขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของอิฐมวลเบา Q-CON สามารถกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญถึง 4-8 เท่า จึงช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากขนาดเครื่องปรับอากาศที่เล็กลง และลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30%

อิฐมวลเบา Q-CON

วัสดุต่าง ๆ ที่แนะนำในเนื้อหานี้ ไม่ได้แนะนำกันโดยไม่มีหลักฐานอ้างอิงนะครับ แต่ทุกวัสดุล้วนผ่านมาตรฐานการรับรองจากกระทรวงพลังงาน ได้รับฉลาก Energy Savivg เบอร์ 5 ความหมายของฉลากดังกล่าว คล้าย ๆ กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ที่หากเครื่องไหนได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เครื่องนั้นจะประหยัดค่าไฟ วัสดุก่อสร้างก็เช่นกันครับ เมื่อสามารถช่วยให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นขึ้นได้ เครื่องปรับอากาศจะทำงานเบาลง ผู้อยู่อาศัยสบายกาย สบายใจ ไม่ต้องกังวลกับค่าไฟสิ้นเดือนอีกต่อไป ขอให้มีความสุขกับการใช้ชีวิตภายในบ้านเย็นกันนะครับ http://credit-n.ru/kredity-online-blog-single.html http://www.tb-credit.ru/zaim-bez-otkaza.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด