เมนู

บ้านนอร์ดิก ณ สระบุรี เพิ่มเส้นสายความเข้มด้วยเมทัลชีทสีดำ

บ้านนอร์ดิก สระบุรี

บ้านสไตล์นอร์ดิกวิถีไทย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสบ้านสไตล์นอร์ดิกเป็นที่นิยมอย่างมาก อาจเป็นเพราะอารมณ์ของบ้านที่แตกต่างจากสไตล์อื่น เมื่อพบเห็นแล้วทำให้สะดุดตา เหมาะกับประยุกต์ใช้ร่วมกับคาเฟ่และบ้านพักอาศัย อย่างบ้านที่ จ.สระบุรีหลังนี้ คุณวิชัย เถื่อนวงษ์ เจ้าของบ้านสร้างบ้านนอร์ดิกโดยทำการใส่ความเป็นตัวตนเข้าไปในจุดต่าง ๆ ทั้งวัสดุ ทั้งฟังก์ชัน บ้านไอเดียจึงขออนุญาตมาเยี่ยมเยียน เพื่อนำไอเดียและแชร์ประสบการณ์ในการสร้างมาฝาก เผื่อผู้อ่านท่านใดกำลังสนใจบ้านสไตล์นอร์ดิก จะได้ศึกษาข้อมูลไปพร้อม ๆ กันครับ

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand
เจ้าของบ้าน : คุณวิชัย เถื่อนวงษ์
ก่อสร้าง : ยิ่งเจริญ เรสซิ่ง รับสร้างบ้าน
เนื้อหา | ถ่ายภาพ : บ้านไอเดีย

บ้านนอร์ดิก สระบุรี

กว่าจะมาเป็นบ้านนอร์ดิก

คุณขวัญ เจ้าของบ้าน เล่าให้ทีมงานฟังว่า “แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะสร้างเพียงออฟฟิศหรือโกดังไว้เป็นที่ทำงานของร้านสกรีนแก้วสระบุรี เป็นธุรกิจส่วนตัวที่คุณขวัญและภรรยาร่วมทำอยู่ แต่เมื่อได้พิจารณาหลาย ๆ ด้านแล้ว จึงตัดสินใจที่จะสร้างเป็นบ้านพักอยู่อาศัยไปด้วยเลย เผื่อไว้มาพักผ่อนนอนเล่นในวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะที่ดินที่สร้างเป็นที่ดินเดิมของครอบครัว อยู่ใกล้กับบ้านคุณแม่และพี่ ๆ น้อง ๆ อีกทั้งยังใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองมายังบ้านหลังนี้เพียงประมาณ 10 นาทีเท่านั้น เมื่อตัดสินใจเช่นนี้ โจทย์การออกแบบจึงเปลี่ยนไป จากโกดังขยายเป็นบ้านชั้นเดียว 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ”

บ้านอร์ดิก สระบุรี

ทำไมถึงสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิก

ด้วยความชอบในเส้นสายของนอร์ดิกที่กำลังเป็นนิยมและด้วยลักษณะหลังคาจั่วที่ตอบโจทย์สภาพอากาศเมืองไทย และด้วยจากความต้องการเดิมที่จะสร้างออฟฟิศเป็นหลัก สถาปนิกจึงทำการดีไซน์บ้านให้เหมือนเป็นบ้านหลังคาจั่วสองหลังที่เชื่อมโยงกันด้วยโรงจอดรถ โดยเพิ่มลูกเล่นด้วยความแตกและโทนสีของวัสดุ เป็นตัวแบ่งแยกฟังก์ชันให้เห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ภายนอก

ผนังเมทัลชีทสีดำ

ผนังเมทัลชีทสีดำ สะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น พื้นที่โซนนี้จัดฟังก์ชันให้เป็นพื้นที่ทำงานสกรีนแก้ว เส้นสายที่ต่อเนื่องและลอนที่คมชัด ช่วยเสริมความเป็นนอร์ดิกได้อย่างชัดเจน โดยคุณขวัญเลือกใช้เมทัลชีท แบบลอนสแนปล็อค ซึ่งมีข้อดีในด้านการติดตั้ง เพราะเป็นการซ่อนหัวสกรูไม่ให้เห็น ผนังจึงดูสวยเรียบ ไร้รอยต่อ แถมยังสวยเฉียบด้วยสันลอนที่สูง โดยเลือกเมทัลชีทยี่ห้อ บลูสโคป แซคส์ คูล สีสไปเดอร์ แบล็ค ความหนา 0.35 มม. 

ผนังเมทัลชีทสีดำ

เส้นลอนของแผ่นเมทัลชีท ยิ่งทำให้บ้านดูโฉบเฉี่ยวยิ่งขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ การเลือกใช้เมทัลชีทยังสอดรับกับบ้านนอร์ดิกเป็นอย่างดี เพราะเป็นสไตล์ที่เน้นหลังคาแบบไร้ชายคา จึงง่ายที่ผนังจะถูกแสงแดดและฝนสาดอยู่เสมอ ด้วยตัววัสดุที่ออกแบบมาให้ง่ายต่อการดูแล ทนทานต่อแสงแดด สีไม่ลอกล่อน ไม่ขึ้นคราบราดำ ผ่านร้อนผ่านฝนไปหลายปี บ้านก็ยังดูสวยอยู่เสมอ ซึ่งเมทัลชีทบลูสโคป แซคส์  มีการรับประกันสีไม่ซีดจางนาน 5 ปีและรับประกันไม่ผุกร่อนจนทะลุ 12 ปี ลดความกังวลของเจ้าของบ้านไปได้เลยครับ

บ้านหลังคาเมทัลชีท

ส่วนตัวบ้านอีกด้านที่ทาสีฉาบเรียบนั้น เป็นพื้นที่พักผ่อนของครอบครัว ภายในแบ่งออกเป็น  ห้องนั่งเล่น ห้องครัว พร้อมทั้งห้องนอน 2 ห้อง และห้องน้ำอีก 2 ห้อง ปัจจุบันยังอยู่ในกระบวนการตกแต่งภายใน จึงยังไม่ค่อยมีภาพการตกแต่งมาฝากครับ

โซนพักอาศัยเลือกโทนสีสว่าง

ห้องนั่งเล่นโถงสูงตามแนวจั่ว รอการตกแต่ง

ห้องครัวตกแต่งบางส่วนแล้ว แต่ยังขาดเฟอร์นิเจอร์โต๊ะอาหาร

บันไดเหล็ก

ไม่เพียงแค่พื้นที่พักอาศัยและสำนักงาน บ้านนอร์ดิกหลังนี้ยังออกแบบหลังคาจอดรถให้กลายเป็นดาดฟ้านั่งเล่น โดยทำทางขึ้นด้วยบันไดเหล็กไว้ตรงโรงจอดรถหน้าบ้าน ช่วงเช้าและยามเย็นเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับนั่งเล่นรับลมชมวิว ทั้งยังช่วยให้การเซอร์วิชงานหลังคาในอนาคตเป็นไปอย่างง่ายดายด้วยครับ

หลังคาเมทัลชีท

เมื่อขึ้นมาชั้นดาดฟ้า จะเห็นได้ชัดว่า อาคารฝั่งซ้ายเป็นหลังคากระเบื้อง ส่วนฝั่งขวาเมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ ส่วนพื้นที่หลังคาตรงกลางที่เชื่อมต่อกันระหว่างหลังคากระเบื้องกับเมทัลชีท เป็นพื้นที่ที่รองรับน้ำฝนปริมาณมาก ทั้งยังมีองศาความลาดเอียงต่ำ หลังคากระเบื้องจะไม่รองรับ จึงจำเป็นต้องใช้แผ่นหลังคาเมทัลชีทในการมุง เพราะรองรับองศาต่ำถึง 5 องศา โดยเฉพาะการติดตั้งแบบคลิปล็อค หลังคาไร้รอยต่อ ป้องกันปัญหาการรั่วซึมในอนาคตได้ดีกว่าหลังคากระเบื้อง

หลังคาโรงจอดรถ

หลังคาเมทัลชีทสีดำ

บ้านนอร์ดิกใช้เมทัลชีทร้อนไหม ? 

หลังคาของบ้านหลังนี้ได้แยกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นหลังคากระเบื้องและอีกส่วนเป็นหลังคาเมทัลชีทบลูสโคป แซคส์  สีสไปเดอร์ แบล็ค เช่นเดียวกันตรงผนังด้านหน้า จากการสอบถามคุณขวัญ พบว่าภายในบ้านไม่ได้ร้อน อาจเนื่องด้วยการออกแบบหลังคาแนวจั่วสูง จุดสูงสุดถึง 7 เมตร ซึ่งช่วยป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี และแม้หลังคารวมทั้งผนังของบ้านหลังนี้จะเลือกใช้เป็นโทนสีดำเข้ม แต่ด้วยเทคโนโลยี Cool Coating เพิ่มโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษ จึงมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้ดีแม้จะเป็นสีเข้มก็ตาม

มีเพียงจุดเดียวที่คุณขวัญได้บอกเล่ากับทีมงานว่ารู้สึกเสียดาย นั่นคือสเปกของเมทัลชีท เดิมทีไม่มีความรู้ว่าต้องสเปกแบบไหน โดยบ้านหลังนี้ใช้ความหนา 0.35 mm มีผลให้วัสดุมีความบางเกิดเป็นคลื่นลอน หากใครจะสร้างใหม่โดยเฉพาะนำมาใช้ร่วมกับผนัง แนะนำเพิ่มสเปกความหนามากขึ้น 0.5 ขึ้นไป และลอนสแนปล๊อค ที่มีเสริมความแข็งแกร่งที่ท้องลอน จะได้รูปลอนที่สวยเรียบกว่าครับ

บ้านอร์ดิก สระบุรี

แม้บ้านนอร์ดิกจะเป็นบ้านแถบยุโรป ซึ่งอาจไม่สอดรับกับอากาศเมืองไทยที่มีแดดจัด ฝนชุกเท่าไรนัก แต่หากรู้จักปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความเป็นไทย หยิบยกวัสดุที่สามารถป้องกันปัญหาทั้งในเรื่องความร้อน เรื่องความสวยงามมาใช้ได้อย่างตรงจุด  ก็จะทำให้บ้านนอร์ดิกอยู่สบายขึ้น และช่วยลดภาระการดูแลในระยะยาวได้เป็นอย่างดีเลยครับ สำหรับผู้อ่านท่านใดที่กำลังวางแผนสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิก สนใจเมทัลชีท บลูสโคป แซคส์ สามารถศึกษาข้อมูลวัสดุหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก บลูสโคป ได้โดยตรงที่

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : zacsroof.nsbluescope.com   | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด