เมนู

7 ฟังก์ชัน ปรับบ้านให้กรองฝุ่นพิษ PM 2.5

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5

บ้านนี้ ไม่มีฝุ่นพิษ

ทราบกันหรือไม่ว่า ปัญหาฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ไม่ได้เกิดขึ้นปีนี้เป็นปีแรก แต่เกิดขึ้นสะสมมานานทุก ๆ ปี เพียงแต่เหตุปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศของปีก่อน ๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดการสะสมตัวเท่ากับปีนี้ โดยฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การเผาทางการเกษตร เป็นต้น ฝุ่นเหล่านี้มีอยู่ทุก ๆ วันครับ เพียงแต่เมื่อถึงฤดูหนาวของทุกปีเราจะเห็นปัญหาชัดเจนขึ้น

เนื่องด้วยฤดูหนาวจะเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้พื้นที่ต่ำอย่างกรุงเทพมหานครลมไม่พัด เมื่อลมไม่พัดอากาศจึงนิ่ง มลพิษที่สะสมตัวก็จะถูกขังในชั้นอากาศที่เราอยู่อาศัย (หากใครนั่งเครื่องบินบ่อย ๆ จะสังเกตได้ว่า เหนือชั้นบรรยากาศไปแล้ว ท้องฟ้าแจ่มใสครับ)

ปัญหามลพิษสะสมใน กทม. จะยังคงอยู่สภาพนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าฤดูกาลจะเปลี่ยนผัน หรือรอให้เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ให้มีฝนตกและลมพัดผ่านเข้ามาถึงจะช่วยให้อากาศโดยรวมดีขึ้น ส่วนการช่วยเหลือทางภาครัฐโดยการออกนโยบายควบคุมต้นตอของมลพิษ ก็พอจะทุเลาลงไปได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามฝุ่นที่สะสมของเดิมยังมีอยู่มาก จำเป็นต้องรอฤดูกาลเป็นหลัก

ผู้เขียน : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์
ภาพสวนKim Yung Hee

ป้องกันฝุ่น มลพิษเข้าบ้าน

ภาพข่าว Thai PBS

สำหรับผู้อ่านที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อาจจะคุ้นชินกับปัญหาเหล่านี้ เนื่องด้วยจังหวัดเชียงใหม่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ ประจวบกับช่วงปลายฤดูหนาวตลอดจนฤดูแล้งของทุก ๆ ปี ชาวสวน ชาวนา จะทำการเผาไร่และมีการเผาป่า ส่งผลให้หมอกควันลอยตัวมาปกคลุมบนพื้นที่ต่ำ และด้วยลักษณะของภูมิศาสตร์ที่เป็นแอ่งกระทะ ทำให้หมอกควันที่สะสมยากจะพัดออกไปได้ ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันที่ยากจะแก้ไขในทุก ๆ ปี สิ่งเดียวที่สามารถทำได้คือ หาวิธีป้องกันตนเอง ให้สามารถอยู่ภายในบ้าน ภายในอาคารได้อย่างปลอดภัย ซึ่งบ้านไอเดียนำแนวทางป้องกันมาฝากให้ผู้อ่านที่เป็นโรคภูมิแพ้ประยุกต์ใช้กันครับ

ชั้นบรรยากาศ

ชั้นบรรยากาศ หมอกควันจะปกคลุมเฉพาะชั้นล่าง

1. กรองฝุ่นด้วยต้นไม้ใบมีขน

โดยธรรมชาติของต้นไม้ สามารถกรองฝุ่นได้ทุกชนิดครับ แต่ชนิดที่สามารถกรองฝุ่นได้ดีต้องมีลักษณะใบที่หนา ผิวหยาบ สาก หรือใบมีขนครับ ด้วยความสากของใบนั่นเองจะช่วยกักเก็บฝุ่นไม้ให้เข้าสู่ภายในบ้าน เปรียบเสมือนกับจมูกของเราจะมีขนภายในจมูกคอยป้องกันฝุ่นในขั้นต้นได้ ต้นไม้พันธุ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้เป็นไม้รั้ว อาทิ ชาดัด โมก คริสตินา อโศกอินเดีย สน ไทรเกาหลี คำหมอกหลวง การเวก พวงครม และอีกหลาย ๆ สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามหากไม่มีต้นไม้ที่แจ้งไว้ในเนื้อหา ปลูกต้นอะไรก็ได้ครับ ขอให้ปลูกกันเยอะ เพราะไม่เพียงแค่ช่วยกรองฝุ่นเข้าบ้าน หากทุก ๆ บ้านต่างช่วยกันปลูกต้นไม้ ย่อมทำให้สภาพอากาศ สภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

Before After จัดสวนในพื้นที่แคบ 2 เมตร

จุดสำคัญในการปลูกต้นไม้ คือ อย่ามองข้ามพื้นที่แคบ ๆ 2 เมตร โดยปกติบ้านเดี่ยวทั่วไปจะต้องเว้นระยะร่นรอบ ๆ บริเวณบ้าน อย่างน้อย 2 เมตร หลายคนจึงคิดว่าไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ จัดสวนไม่ได้ ตัวอย่าง Before & After นี้ เป็นตัวอย่างการจัดสวนโดยคุณคิม สมาชิกกลุ่มบ้านไอเดีย ลืมพื้นที่ 2 เมตรไปเลยใช่ไหมครับ

2. กรองฝุ่นด้วย เครื่องพ่นไอหมอก

การติดตั้งหัวพ่นไอหมอกไว้ภายในสวน เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงมากในเมืองเชียงใหม่ เพราะไม่เพียงแค่กันฝุ่นขนาดเล็กได้ แต่ยังช่วยเพิ่มความเย็น ความชุ่มฉ่ำให้กับบริเวณรอบ ๆ บ้าน ช่วยปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นสบายอยู่เสมอ การติดตั้งเครื่องพ่นไอหมอกสำหรับป้องกันฝุ่นเข้าบ้าน เหมาะกับติดบริเวณที่มีช่องเปิดเยอะ ๆ เช่น โซนประตูหน้าบ้าน โซนหน้าต่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเหล่านี้เล็ดลอดเข้าสู่ประตูหน้าต่างบ้านของเราครับ หรือเลือกติดตั้งเฉพาะบริเวณข้างห้องที่ใช้งานบ่อย ๆ อาทิ ห้องนั่งเล่นในยามกลางวัน ห้องทำงาน เป็นต้น

tropical rainforest garden

ไอหมอกช่วยจับตัวฝุ่นขนาดเล็ก ไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน

3. ผนัง 2 ชั้น ปรับใช้ตามสถานการณ์

มาถึงหัวข้อนี้อาจจะรู้สึกดูเวอร์ไปนิด แต่บ้านหลายหลังในเชียงใหม่ทำกันจริงแล้วครับ อย่างที่เกริ่นนำไว้ข้างต้น เชียงใหม่ต้องประสบปัญหาหมอกควันทุก ๆ ปี ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถจัดการควบคุมใด ๆ จากนโยบายรัฐได้ การออกแบบบ้านจึงต้องมีฟังก์ชันเสริมเพื่อปรับการใช้ชีวิตใหม่ในช่วงฤดูหมอกควัน

ห้องน้ำออกแบบโปร่งด้วยปิดด้วยระแนง แต่มีประตูกระจกอีกชั้นเพื่อกันมลพิษ

ในเดือนมิถุนายน ถึงมกราคม อากาศเชียงใหม่จะดีมาก การอยู่อาศัยจึงนิยมรับอากาศจากภายนอก จึงเน้นการออกแบบลักษณะโปร่งโล่ง รับลมได้ ฟังก์ชันรับลมนี้จะใช้ประมาณ 8-9 เดือนครับ และเมื่อถึงฤดูหมอกควันไฟป่า จะใช้ฟังก์ชันเสริมด้วยบานประตูหน้าต่างแบบกระจก ปิดช่องรับลมให้สนิท เพื่อให้การใช้ชีวิตภายในบ้านสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายปอด

ห้องนั่งเล่นเห็นธรรมชาติ

ใต้ถุนบ้าน มีบานกระจกปิดอีกชั้น ไว้รับลมในยามอากาศดี ๆ และปิดป้องกันมลพิษ ทั้งยังป้องกันยุงในยามใกล้ค่ำได้ดีอีกด้วยครับ

ช่องลมทำจากอิฐบล็อค

บล็อกช่องลมช่วยรับลม ในขณะเดียวกันหน้าต่างกระจก ปิดกั้นอากาศจากภายนอกได้ ทั้งยังช่วยป้องกันความเย็นจากแอร์ไหลออกในหน้าร้อน

4. มีม่านไว้ ย่อมดีกว่าไม่มี

เดิมทีที่ผู้เขียนย้ายมาอยู่เชียงใหม่ช่วงแรกเริ่ม ได้ทำการดึงม่านภายในห้องต่าง ๆ ออกเกือบหมด เพราะต้องการเปิดห้องให้รับวิวทิวทัศน์ และรับอากาศดี ๆ แต่ผลที่ได้คือ เมื่อไม่มีม่าน ฝุ่นจากรถยนต์ที่ขับผ่านไปมาจะเข้ามาภายในห้องไวกว่าปกติ ปัจจุบันจึงเลือกปิดด้วยม่านขาวบางไว้ 1 ชั้น ด้วยคุณสมบัติของม่านขาวยังอนุญาตให้แสงแดดสามารถลอดผ่านมาได้ ทำให้เห็นบรรยากาศภายนอกบางส่วน และป้องกันฝุ่นต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย

6. พัดลมดูดอากาศ 

โดยปกติพัดลมดูดอากาศจะนิยมใช้เฉพาะภายในห้องน้ำและห้องครัว เพื่อดูดไล่กลิ่นไม่พึงประสงค์และอากาศเก่าเดิมที่ขังภายในห้อง หากเริ่มรู้สึกว่าอยู่ภายในบ้านมีอากาศแสบจมูก แสบตา นั่นอาจหมายถึงฝุ่นมลพิษจากภายนอกบ้าน เริ่มเข้าสู่ภายในบ้านบางส่วนแล้วครับ การติดตั้งเครื่องดูดอากาศเพิ่มในห้องที่อยู่อาศัยยาวนาน นับเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

7. เครื่องฟอกอากาศ กำจัดฝุ่น PM 2.5

อาจจะเรียกได้ว่า เป็นพระเอกม้ามืดในวงการเครื่องใช้ไฟฟ้าของปีนี้ก็ว่าได้ โดยปกติเครื่องฟอกอากาศมีจำหน่ายมานานนับ 10 ปี แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก แต่ปีนี้กลับเป็นสินค้าที่ขาดสต็อก หมดทุกร้าน เพราะด้วยคุณสมบัติของเครื่องฟอกอากาศ จะช่วยดูดอากาศพิษต่าง ๆ ทั้งสารเคมี กลิ่นไม่พึงประสงค์ และฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ได้อย่างอยู่หมัด โดยตัวเครื่องจะคอยบอกสถานะความปลอดภัยได้ด้วยครับ อย่างรุ่นในภาพประกอบนี้ สามารถบอกสถานะเป็นแสงสีฟ้า สีม่วง และสีแดง ตามลำดับความวิกฤติ เมื่อเปิดใช้งานไปสักระยะ อากาศจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ในวิกฤติ นั้นมีโอกาส

ในมุมส่วนตัวของผู้เขียนเอง รู้สึกว่า ในวิกฤติครั้งนี้มีโอกาสที่ดีครับ เพราะมลพิษในอากาศไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นนานมากแล้ว แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังยอมรับได้และอยู่กันด้วยความคุ้นชิน ในปีนี้เราต่างเจอปัญหาที่รุนแรง แต่ในขณะเดียวกันปัญหานี้ส่งผลให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้าใจถึงโทษภัยมากขึ้น รู้จักค่าฝุ่น PM 2.5 มากขึ้น สังคมเริ่มจับตามองต้นตอสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือตัวเราเองที่ต้องใช้รถเพื่อการเดินทาง ต้องพึ่งพาของใช้อุปโภค บริโภคจากโรงงานอุตสาหกรรม และจับตามองการทำงานของภาครัฐมากขึ้น

เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ เมื่อคนในสังคมเข้าใจปัญหาและตระหนักเห็นถึงความสำคัญ ย่อมก่อให้เกิดหนทางแก้ไข และเมื่อถึงวันนั้น เราจะมาสูดอากาศใหม่ที่ดีพร้อมกันครับ


ใต้ถุนบ้าน เปิดปิดได้

ตัวอย่างบ้านในเชียงใหม่ ออกแบบห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร ให้เปิด ปิด ได้ด้วยบานกระจกเข้ามุม ในวันที่อากาศดี ๆ จะเป็นเสมือนใต้ถุน ในวันที่อากาศไม่ดี เพียงแค่ปิดกั้น เปิดเครื่องปรับอากาศแทน ออกแบบโดย สถาปนิก ปันแปลน

http://credit-n.ru/offers-zaim/mgnovennye-zaimy-na-kartu-bez-otkazov-kredito24.html http://www.tb-credit.ru/zaim-online.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ความรู้ คู่บ้าน


โพสต์ล่าสุด