เมนู

ถังขยะอัจฉริยะ เปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นปุ๋ย

ถังขยะอัจฉริยะ

ถังขยะไฮเทค เปลี่ยนเศษอาหารเหลือทิ้งให้เป็นปุ๋ยโฮมเมด

ปัญหาขยะล้นเมือง ไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ ในเมืองไทย เพราะปริมาณขยะที่กองเท่าภูเขาเป็นแหล่งอาหารของหนู แมลงสาบ จึงเป็นพื้นที่ที่สะสมเชื้อโรคและก่อมลภาวะทางกลิ่น ขยะที่ปนเปื้อนลงน้ำก็ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้น้ำเน่าเสีย จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559 ของสํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ พบว่ามีปริมาณขยะรวมกันทั้งประเทศ 27.06 ล้านตันต่อปี เทียบเท่าตึกใบหยก 2 จำนวน 140 ตึก คิดเป็นประมาณ 74,130 ตันต่อวัน เฉลี่ยเป็นปริมาณขยะ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในจำนวนทั้งหมดมีขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้ คิดเป็นร้อยละ  64 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอาหารเหลือทิ้ง นั่นสะท้อนถึงการไม่มีมาตรการแยกขยะและจัดการกับขยะสดอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหานี้จะพาไปแนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดปัญหาขยะด้วย เครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร เป็นถังแยกขยะจากอาหารสดที่มีกระบวนการย่อยให้เศษขยะเหล่านั้นออกมาเป็นปุ๋ยภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากลดปริมาณขยะในแต่ละบ้านด้วยตัวเองแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ออกแบบwlabsinnovations
เนื้อหาบ้านไอเดีย

ขยะอาหารสด

ด้วยความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว หน่วยงาน Wlabs ของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า Whirlpool จึงพัฒนาเครื่อง Zera Food Recycler นวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยแก้ปัญหาเศษอาหาร ด้วยคอนเซ็ป Turn waste into wonderful หรือเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปในงาน CES 2017  Consumer Electronics Show งานแสดงนวัตกรรมประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของโลก และไม่พลาดคว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมมาครอง

เครื่องเปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ย

zera-food-recycler

Zera Food Recycler มีดีไซน์ตัวเครื่องสวยเรียบเฉียบดูทันสมัย ขนาดเล็กไม่กินพื้นที่มาก วางไว้ในครัวหรือจุดอื่นๆ ได้ไม่เกะกะ สามารถย่อยสลายอาหารได้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเปลือกผลไม้ หรือเศษอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม กลไลการทำงานของ Zera Food Recycler มีวิธีการทำงานแสนง่ายดาย คือจะมีแกนใบมีดช่วยตัดอาหารให้ชิ้นเล็กลงโดยใช้มอเตอร์ช่วยควบคุมการทำงาน ร่วมกับการใช้ออกซิเจน ความร้อน ความชื้น และตัวเร่งปฏิกิริยา จึงช่วยลดเวลาการทำงานของจุลินทรีย์ปกติให้ย่อยอินทรีย์วัตถุให้กลายเป็นปุ๋ยได้เร็วกว่าปกติหลายเท่าตัว

การทำงานของเครื่องย่อยเศษอาหาร

วิธีการใช้งานก็ง่ายมาก เริ่มจากเปิดฝาถัง นำตัวเร่งปฏิกิริยา Zera Additive Pack ซึ่งเป็นซองสีน้ำตาล ประกอบด้วย กาบมะพร้าวและเบกกิ้งโซดาใส่ลงไปในถัง จากนั้นก็ใส่เศษอาหารลงไปตามปริมาณไม่เกินที่เครื่องกำหนดไว้ เมื่อเศษอาหารเต็มถังก็เลื่อนฝาปิดแล้วกดปุ่ม start ให้เครื่องเริ่มทำงาน สำหรับคนที่ต้องทำงานนอกบ้านก็สามารถเลือกควบคุมการทำงานโดยใช้แอปพลิเคชันผ่านมือถือ smart phone ได้ด้วย เพียงเท่านี้ถังก็จะเริ่มกระบวนการปั่นและย่อยสลายเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ย

ตัวเร่งปฏิกิริยา Zera Additive Pack

ขั้นตอนแรก เริ่มจากใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา Zera Additive Pack ซองสีน้ำตาล

ใส่ขยะสดลงไปในถัง

ใส่ขยะสดลงไปในถัง

ขั้นตอนต่อไปใส่อาหารสดเหลือทิ้งในแต่ละมื้อ

กดปุ่มให้เครื่องทำงาน

กดปุ่ม Start ให้เครื่องเริ่มทำงาน ระหว่างกระบวนการย่อยไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นรบกวนเพราะภายในเครื่องได้ติดตั้งฟิลเตอร์ HEPA/ carbon เอาไว้เพื่อช่วยดับกลิ่น

ปุ๋ยที่ได้จากเครื่อง

หลังจากผ่าน 24 ชั่วโมงก็จะสร้างปุ๋ยแบบโฮมเมดเสร็จเรียบร้อย ทำให้การรีไซเคิลของเสียจากอาหารช่วยเสริมภูมิทัศน์และพืชได้ในเวลาเดียวกัน ปุ๋ยที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์ Zera ™สามารถนำไปในสนามหญ้า สวน พืชกระถางกลางแจ้ง ช่วยเพิ่มสารอาหารเข้าไปในดินโดยแทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่สร้างมลภาวะ ช่วยลดปริมาณขยะได้ถึงร้อยละ 95 ของปริมาณขยะทั้งหมด

ปุ๋ยโฮมเมด

ราคาขายถังขยะไฮเทคนี้ตั้งไว้ที่ $1,199 หรือประมาณ 40,200 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงราคาที่ค่อนข้างสูงจึงเหมาะกับครอบครัวที่มีกำลังซื้อ หรือเจ้าของบ้านหัวใจออร์แกนิคส์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษ์ด้วยการลดปริมาณขยะเปียก นิยมการปลูกผักปลอดสารพิษทานเอง เป็นความชาญฉลาดในการจัดการขยะในบ้านให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งต่อตัวเองและสังคม

นอกจากถังขยะรุ่นนี้ ปัจจุบันยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่กระบวนการย่อยสลายแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละบริษัท เช่น Oklin Composter สินค้านำเข้าจากออสเตรเลีย ใช้รูปแบบเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ราคา 69,000 บาท, Smart CARA เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารจากเกาหลี ลดแหล่งอาหารสัตว์ไม่พึงประงสงค์ในบ้าน ราคาประมาณ 35,000 บาท หรือจะสนับสนุนผลงานวิจัยของคนไทยกับผลงานชื่อ INNOWASTE ที่คว้ารางวัลแผนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม งานชิ้นนี้จะใหญ่ขึ้นมาขนาดเท่าเครื่องซักผ้า แต่มีจุดเด่นคือสามารถเปลี่ยนทั้งขยะเปียกและขยะแห้งให้เป็นปุ๋ยได้อัตโนมัติ  ใครถูกใจแบบไหนก็ลองหาข้อมูล แล้วเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการ เพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อมในบ้านและในโลกกันนะครับ
http://credit-n.ru/business-kredit.html http://www.tb-credit.ru/zaim-bez-otkaza.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ความรู้ คู่บ้าน


โพสต์ล่าสุด