เมนู

แต่งบ้านให้สนุก กับไอเดียการมองเห็นในหลายระดับ

แบบบ้านเล่นระดับ

บ้านสองชั้นจัดพื้นที่หลายระดับ

ถ้าให้นึกถึงบ้านเดี่ยวสองชั้นหรือทาวน์เฮาส์สองชั้น เชื่อแน่ว่าผู้อ่านคงจะเห็นภาพอาคารภายนอกที่ก่อผนังปิดทึบและมีช่องเปิดอย่างประตูหน้าต่าง ส่วนภายในจะเทพื้นเพดานปิดระหว่างชั้น มีบันไดเป็นตัวกลางนำขึ้นไปสู่ชั้นบน ซึ่งทำให้ระหว่างชั้นแทบจะมองไม่เห็นกัน วิวทิวทัศน์ภายนอกก็รับได้ในแต่ละระดับของบ้าน คือ ชั้นล่างมองเห็นวิวข้างล่าง ชั้นบนมองเห็นเฉพาะวิวที่สูงขึ้นไป ทำให้ขาดความต่อเนื่องทั้งทางพื้นที่และสายตา “บ้านไอเดีย” ขอนำเสนออีกแนวคิดในการสร้างบ้าน2 ชั้นให้มีหลายระดับการมองเห็นที่จะทำให้บ้านน่าสนุกและเชื่อมต่อกันง่ายขึ้นด้วย

ออกแบบScenario Architecture
เนื้อหา บ้านไอเดีย

บ้านผนังกระจกมองเห็นหลายระดับ

บ้านสองชั้นที่ต่อเนื่องทั้งพื้นที่และสายตา

บ้านหลังนี้เป็นของสถาปนิก Scenario ที่ซื้อโครงการบ้านเก่าใน Hackney ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาปรับปรุงขยายและปรับพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้นสำหรับครอบครัวที่กำลังเติบโต การยกเครื่อง Scenario House ทำให้นักออกแบบต้องเล่นทั้งสองบทบาทในความสัมพันธ์ คือ สถาปนิกกับลูกค้า เพื่อฝึกฝนสิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาพร้อม ๆ ทำความเข้าใจความต้องการในฐานะผู้อยู่อาศัย

คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขยายใหญ่

มุมมองบ้านผ่านชั้นลอย

ความท้าทายหลักของที่นี่คือ การเชื่อมต่อพื้นหลักทั้งทางกายภาพและทางสายตากับชั้นล่าง ด้วยเหตุนี้นักออกแบบจึงดีไซน์ลำดับพื้นที่แบบเปิดโล่ง ครอบคลุมทั้งห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องครัวให้เชื่อมต่อถึงกันได้หมด และค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไป โดยไม่ได้เทพื้นเพดานปิดทึบแยกระหว่างชั้นอย่างชัดเจน วิธีนี้ทำให้แต่ละพื้นที่สามารถมองเห็นกันได้ ไม่ถูกตัดขาดจากกัน จากชั้นล่างคุณพ่อคุณแม่ก็มองเห็นมุมทำงานอ่านหนังสือของเด็ก ๆ และชั้นลอยที่ขึ้นไปไม่กี่ขั้นบันได เมื่อเด็ก ๆ นั่งบนชั้นลอยมองลงไปจะเห็นพื้นที่ใช้ชีวิตข้างล่างทั้งหมด และยังทะลุผนังกระจกออกไปเห็นสนามหญ้า จากจุดเดียวกันนี้ก็เงยขึ้นไปเห็นห้องหนังสือผนังกระจกที่ชั้นบนและวิวนอกบ้านในมุมสูงขึ้นได้ด้วย

ครัวที่มองเห็นชั้นลอย

ค่อย ๆ ยกระดับไม่มีอุปสรรคระหว่างชั้น

การจัดฟังก์ชันใช้งานที่ค่อย ๆ ยกระดับขึ้น ทำให้เกิดพื้นที่ตัดแบ่งซอยย่อย ๆ มีทั้งส่วนที่เพดานต่ำและสูง สำหรับโซนทำอาหารจะอยู่ใต้กล่องกระจกที่ยื่นออกมาเป็นห้องหนังสือ ถัดลงไปเป็นมุมที่ว่างใต้ชั้นลอยที่เพดานค่อนข้างต่ำ จึงจัดเป็นพื้นที่นั่งเล่นและทำการบ้านของลูก ๆ สำหรับที่ว่าง Double Space เหนือมุมโต๊ะทานข้าว ช่วยทำให้บ้านดูไม่อึดอัด มีช่องว่างให้หายใจ และช่วยให้การไหลเวียนอากาศในบ้านทำได้ไหลลื่นขึ้น

ฟังก์ชันเก็บของที่บันได

ในบ้านที่พื้นที่ไม่มาก การบริหารพื้นที่เป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะมุมจัดเก็บที่ต้องมีอย่างเพียงพอ แต่ในพื้นที่น้อย ๆ หากวางตู้ ชั้น บนพื้นจะค่อนข้างกินพื้นที่ สถาปนิกจึงใช้ใช้วิธีใส่ฟังก์ชันตู้ ลิ้นชัก ช่องเก็บของใต้บันได เป็นหนึ่งกลวิธีการออกแบบที่ทำให้บ้านจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ

มุมนั่งเล่นบนชั้นลอย

มุมนั่งเล่นบนชั้นลอย

จัดระเบียบพื้นที่และช่องแสงรับความสว่าง

ห้องนั่งเล่นบนชั้นลอยนอกจากมองเห็นชั้นล่าง สนามหญ้า วิวเพื่อนบ้านที่เปิดออกไปถึงทิวทัศน์ท้องฟ้าหลังบ้าน ยังมีหน้าต่างอีกด้านที่สามารถมองเห็นวิวในมุมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นด้วย การทำช่องแสงทั้งด้านหน้าด้านหลัง และมีขนาดใหญ่ การลดผนังทึบใส่กระจกในห้องชั้นสอง ทำให้บ้านได้รับแสงธรรมชาติเพียงพอ ลดข้อจำกัดของบ้านทาวน์เฮาส์หรือตึกแถวที่มีผนังติด ๆ กันได้ดี

ห้องนอนเด็ก

หน้าผาจำลอง

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย :  การสร้างความเชื่อมต่อของพื้นที่ภายใน ทั้งแง่กายภาพและทางสายตา นอกจากการจัดวางแปลนแบบเปิด ใส่ตำแหน่งฟังก์ชันใช้งานให้มีความต่อเนื่งต่อกันได้หมดโดยไม่มีผนังทึบปิดกั้น วัสดุก็มีส่วนช่วยสร้างความต่อเนื่องทางสายตาเช่นกัน อย่างเช่น กระจกใสบริเวณผนัง ราวบันได แผงกันตก ที่ทำจากกระจกสามารถมองทะลุได้ จะช่วยให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นสัดส่วนแต่ไม่รู้สึกว่าถูกตัดขาด

แปลนบ้าน

Ground-Floor-3

Lower-Ground-Floor-2

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งบ้าน


โพสต์ล่าสุด