เมนู

สร้างบ้านชั้นเดียวด้วยหลังคาเมทัลชีท แต่กลัว “บ้านร้อน” ต้องออกแบบอย่างไร

หลังคาบ้านชั้นเดียวมุงเมทัลชีท

สร้างบ้านด้วยหลังคาเมทัลชีท

ความนิยมในการสร้างบ้านด้วยหลังคาเมทัลชีท หากให้คาดการณ์ภาพรวมจากที่เคยคุยกับสถาปนิกหลาย ๆ แห่ง ประมาณ 40% เลือกใช้เมทัลชีท 30% หลังคากระเบื้อง ที่เหลือเป็นวัสดุอื่น ๆ เช่น คอนกรีต, ชิงเกิ้ลรูฟ และซีดาร์ เมื่อเอ่ยถึงเมทัลชีท สามารถแยกลูกค้าได้ 3 กลุ่มหลัก ๆ กลุ่มแรก ไม่ชอบเลย ไม่เอาเด็ดขาด กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเลือกหลังคากระเบื้อง เน้นบ้านสไตล์ Tropical, Contemporary ออกแบบหลังคาจั่ว ปั้นหยา กลุ่มต่อมาอะไรก็ได้ หากพิจารณาแล้วเหมาะสมก็ใช้ และกลุ่มสุดท้าย หลังคาต้องเมทัลชีทเท่านั้น ลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เคยประสบปัญหาหลังคารั่วจากวัสดุอื่น ๆ บางคนอยากได้บ้านโมเดิร์นแต่ไม่อยากใช้หลังคา Slab , บางคนชอบความเรียบได้ลุคบ้านทันสมัย และบางคนเคยใช้เมทัลชีทมาก่อน จึงรู้สึกพึงพอใจอยากใช้ซ้ำอีก เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” พาไปชมตัวอย่างงานออกแบบบ้านชั้นเดียว บ้านที่เจ้าของขอสเปกหลังคาเมทัลชีทโดยเฉพาะ

ออกแบบ : Punplan
สนับสนุนโดย
 : BlueScope Thailand

บ้านชั้นเดียว หลังคาโมเดิร์น

เค้กอยากใช้เมทัลชีทค่ะ รู้สึกว่ามันดูเรียบง่าย ดูทันสมัยดี” เป็นประโยคแรก ๆ ที่คุณเค้ก เจ้าของบ้านได้บรีฟต์งานออกแบบให้กับทีมออกแบบ Punplan (ปันแปลน) ตอนนั้นทีมออกแบบได้ถามทวนพร้อมแจ้งข้อเสียแบบตรงไปตรงมาแล้วว่า หากเป็นบ้านชั้นเดียวเมทัลชีทอาจร้อนกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่ก็พอจะป้องกันได้ด้วยกระบวนการออกแบบและการเลือกวัสดุเมทัลชีท และอาจมีเสียงดังบ้างขณะฝนตก เจ้าของบ้านยืนยันเสียงเดิม พร้อมกับตอบว่า “ปัจจุบันที่บ้านหลังเดิมใช้อยู่ ปัญหาส่วนนี้เค้กมองว่าไม่ถึงกับเป็นปัญหา เสียงไม่ได้รู้สึกว่าดังมาก ยิ่งบ้านหลังใหม่เลือกวัสดุดีขึ้น ออกแบบให้เหมาะสมกันน่าจะใช้งานได้ดีกว่าเดิม

วางผังบ้านชั้นเดียว ให้สอดคล้องกับทิศแดด

งานออกแบบของปันแปลนทุกหลังใช้หลักการ Form Follows Function โดยให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการใช้งานเป็นลำดับแรก ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดสรรฟังก์ชันห้องต่าง ๆ ได้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ทั้งทิศทางลมและแสงแดดได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างบ้านหลังนี้ มีที่ดินรวมประมาณ 2 ไร่ ด้วยขนาดที่ดินที่มีมาก จึงสามารถควบคุมทิศทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นอิสระ การจัดวางผังแยกอาคารเป็น 4 ก้อน โรงจอดรถ, โซนห้องนั่งเล่น , โซนห้องครัว ซักล้าง และโซนห้องนอน

ผังบ้านชั้นเดียว ถ่ายเทอากาศดี

ภาพรวมตัวบ้านจากมุมบนหลังคา

โรงจอดรถ จัดวางไว้เป็นโซนแรกเพื่อความสะดวกในการใช้งานเข้าออก ประจวบกับหน้าที่ดินหันทางทิศตะวันตก โรงจอดรถจึงช่วยบดบังความร้อนให้กับตัวบ้าน ออกแบบให้เชื่อมต่อกับบ้านผ่านซุ้มทางเดินที่มีลมพัดผ่านได้ โดยทำเป็นขั้นบันไดและทางลาด เพื่อรองรับการใช้งานรถเข็น

แบบโรงจอดรถยนต์ 4 คัน

ทางลาดรถเข็น วีลแชร์

โซนห้องนั่งเล่น จัดพื้นที่แบบ Open Plan มีพื้นที่นั่งเล่น ทานอาหารและครัวเบาอยู่รวมกัน โดยห้องนั่งเล่นจัดโซนไว้ทางทิศเหนือของบ้าน ทำให้สามารถออกแบบด้วยกระจกบานกว้างได้ เพราะเป็นทิศเหนือเป็นทิศที่ได้ร่มเงาเกือบทั้งวัน จึงเหมาะกับพื้นที่พักผ่อน ส่วนโซนห้องครัว ซักล้างจัดไว้ฝั่งทิศใต้ของบ้าน แดดใต้จะค่อนข้างร้อนแรงในช่วงบ่าย จึงช่วยให้ผ้าแห้งไว และห้องครัวไม่อับชื้น แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ดีครับ

ออกแบบบ้านชั้นเดียว ไม่ร้อน

โซนห้องนอน จัดไว้โซนหลังสุดของบ้าน การอยู่อาศัยจึงได้ความเป็นส่วนตัวสูง โดยเฉพาะบ้านคุณเค้กมีสมาชิกอยู่รวมกันหลายคน เป็นปกติที่จะมีแขกมาบ้าน โซนห้องนอนจึงมีห้องนั่งเล่นอเนกประสงค์แยกไว้ให้ กรณีแขกใช้พื้นที่ห้องนั่งเล่นหลัก สมาชิกคนอื่น ๆ ยังมีพื้นที่ให้พักผ่อนอย่างเป็นส่วนตัว

ออกแบบให้อากาศหมุนเวียน

ข้อดีของการแยกอาคารออกแบบก้อนย่อย ๆ ตัวอย่างหลังนี้มีทั้งหมด 4 ก้อน จะช่วยให้เกิดพื้นที่ลมพัดผ่านตัวบ้าน ลมจึงกระจายได้ทั่วบริเวณ อีกทั้งการออกแบบลักษณะนี้จะไม่เกิดพื้นที่อับตันในงานผนัง ทุก ๆ ห้องสามารถทำหน้าต่าง 2 ด้านได้ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนอากาศแบบสมบูรณ์ ในทางกลับกันหากตัวบ้านเป็นก้อนเดียวกันทั้งหมด จะมีบางห้องจำเป็นต้องทำหน้าต่างด้านเดียว ซึ่งหากอิงหลักระบายอากาศแล้วจะต้องมีช่องลมเข้าและช่องลมออก หน้าต่างด้านเดียวลมจะไม่สามารถพัดผ่านหมุนเวียนได้ครับ

การออกแบบบ้านให้มีอากาศหมุนเวียน จะช่วยลดการสะสมอุณหภูมิความร้อนภายในบ้าน นับเป็นหัวใจสำคัญสูงสุดของการออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ครับ และนอกจากการออกแบบแล้ว ขณะอยู่อาศัยจริง ผู้อยู่อาศัยจำเป็นต้องเปิดหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้เกิดกลไกการระบายอากาศที่สมบูรณ์

ช่องลมผ่าน บ้านชั้นเดียว

ชายคายาว 3 เมตร

โถงหลังคายิ่งสูง บ้านยิ่งร้อนช้า

หากให้คะแนนรูปทรงหลังคามาตรฐานที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ดี ขอยกให้หลังคาจั่วเป็นอันดับ 1 ครับ เพราะตามหลักแล้ว “มวลความร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง” ความร้อนที่สะสมจึงไม่สัมผัสระดับอยู่อาศัยโดยตรง ประจวบกับหลังคาจั่วมีพื้นที่โถงหลังคามาก เมื่อความร้อนส่องตรงมาทางหลังคาบ้าน มวลอากาศร้อนจะค่อย ๆ สะสมบนฝ้าเพดาน แต่เป็นปกติที่ความชอบของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ตัวอย่างหลังนี้ดราฟท์แรกที่ปันแปลนนำเสนอ เป็นบ้านหลังคาจั่วสูงออกแบบตามหลัก Eco House ซึ่งจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยเย็นสบาย กันแดด กันฝน ระบายน้ำได้ดี แต่ด้วยสมาชิกในบ้านหลายท่านยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว อยากได้บ้านหลังคาแบนที่ดูทันสมัยจึงขอปรับเปลี่ยนดีไซน์ภายหลัง งานออกแบบจึงต้องให้ความสำคัญกับการระบายอากาศ ให้ภายในบ้านเกิดการหมุนเวียนของอากาศอยู่เสมอ และให้ความสำคัญกับการสเปกวัสดุหลังคามากกว่าเดิม

บ้านหลังคาจั่ว เมทัลชีท

ดราฟท์แรกออกแบบทรงจั่ว ช่วยป้องกันความร้อนได้ดีกว่าหลังคาแบน

เลือกสเปกเมทัลชีทให้บ้านเย็น

โดยทั่วไปบ้านที่ใช้เมทัลชีท ปันแปลนจะสเปกความหนาเริ่มต้นที่ 0.47 mm เป็นความหนาที่เหมาะกับบ้านพักอาศัย การใช้งานจริงจะแตกต่างกับความหนา 0.35 พอสมควรครับ เพราะยิ่งแผ่นเหล็กมีความหนามาก แผ่นหลังคายิ่งแข็งแรงไม่ยุบตัว กันแดดได้ดีขึ้นและป้องกันเสียงรบกวนจากเม็ดฝนได้ดีกว่า ส่วนสีจะขึ้นอยู่กับรูปทรงหลังคา หากเป็นหลังคาโมเดิร์นซ่อนเมทัลชีทจะเน้นเลือกโทนสีขาวหรือเทาอ่อน เนื่องด้วยรูปทรงดังกล่าวมองไม่เห็นวัสดุหลังคา สีโทนขาวจะมีค่าสะท้อนรังสีความร้อนได้ดีกว่าสีอื่น ๆ

ยิ่งหากเป็นเมทัลชีทจากบลูสโคป แบรนด์บลูสโคป แซคส์® คูล จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีเคลือบสี  Cool Coating Technology เป็นนวัตกรรมโมเลกุลเม็ดสีสูตรพิเศษ ที่ถูกผสมลงในเนื้อสีที่จะช่วยสะท้อนความร้อนออกไปบางส่วนก่อนที่ความร้อนจะเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งเมื่อเทียบกับเมทัลชีททั่วไปที่ไม่ได้ใช้เม็ดสีสูตรพิเศษนี้จะเกิดการดูดซับความร้อนและถ่ายเทเข้ามายังตัวบ้านมากกว่า  และบลูสโคป แซคส์® คูล ยังสะท้อนความร้อนได้ดีกว่า ทำให้บ้านเย็นกว่าเมทัลชีททั่วไปสูงสุดถึง 4 องศาเลยครับ*

*รับรองผลการตรวจวัดและบันทึกอุณหภูมิโดยศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (ศพว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ระหว่างห้องที่ติดตั้งด้วยเมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ คูล (BlueScope Zacs Cool) สีแดงมะขาม ความหนารวม 0.35 มม. และห้องที่ติดตั้งด้วยเมทัลชีททั่วไปที่มีความหนาและสีเดียวกัน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564

หลังคา BlueScope Zacs Cool

บลูสโคป แซคส์® คูล หนา 0.47 mm

อีกจุดสำคัญสำหรับการติดตั้งเมทัลชีทแบบซ่อน เพื่อทำบ้านหลังคาแบน จะต้องออกแบบหลังคาให้องศาต่ำเป็นพิเศษ โดยทั่วไปเมทัลชีทจะมีจุดเด่นด้านนี้ หากเป็นรุ่นทั่วไปติดตั้งด้วยสกรูสามารถทำได้ต่ำถึง 5 องศา แต่หากเป็นงานที่ปันแปลนออกแบบจะนิยมสเปกระบบคลิปล็อก ซึ่งรองรับได้ 2-3 องศาเลยครับ องศาหลังคาที่ต่ำลงจะช่วยให้งานซ่อนหลังคาดูแนบเนียนยิ่งขึ้น ตัวอย่างบ้านหลังนี้เลือกใช้เมทัลชีท บลูสโคป แซคส์® คูล หนา 0.47 mm. สี Asian White ติดตั้งด้วยระบบคลิปล็อก 

กันร้อนอีกชั้นด้วยฉนวน PU

แม้เมทัลชีทบลูสโคป แซคส์® คูล จะผลิตมาให้มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้ดีกว่าเมทัลชีททั่วไป แต่ถ้าอยากให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนที่ดีมากขึ้น แนะนำให้ใช้งานร่วมกับฉนวน PU ครับ แม้แต่วัสดุหลังคาชนิดอื่นๆ ก็เช่นกัน อย่างงานกระเบื้องก็ควรติดตั้งฉนวนครับ เพราะแดดเมืองไทยเป็นแดดที่ร้อนจัดมากไม่ว่าหลังคาไหน ๆ จึงต้องเผชิญกับบ้านหาบ้านร้อนเช่นกัน การออกแบบเพื่อป้องกันตั้งแต่ต้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก

ข้อดีของเมทัลชีท แม้จะร้อนเร็วแต่ก็เย็นเร็วเพราะไม่กักเก็บความร้อน หลังจากพระอาทิตย์ตกดินจึงไม่ก่อให้เกิดความร้อนสะสมซึ่งเป็นสาเหตุของบ้านร้อนอบอ้าวช่วงพลบค่ำ ส่วนฉนวนที่ปันแปลนสเปกไว้ให้ลูกค้า เป็นฉนวน PU หนา 2-3 นิ้ว ซึ่งมีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี นอกจากจะกันร้อนแล้ว ยังสามารถลดเสียงดังรบกวนขณะฝนตกได้ดีอีกด้วย


Bluescope-3

ผู้อ่านท่านใดสนใจวัสดุหลังคาเมทัลชีท บลูสโคป แซคส์® (BlueScope Zacs) สามารถศึกษาข้อมูลวัสดุหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญจากบลูสโคป ได้โดยตรงที่

เว็บไซต์ : www.zacsroof.nsbluescope.com/th/why-zacs/  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด