เมนู

เช็คให้ดีก่อนรับงาน เมื่อติดตั้งหลังคาบ้านด้วยเมทัลชีท

เช็คงานติดตั้ง หลังคาเมทัลชีท

ตรวจเช็คงานติดตั้ง หลังคาเมทัลชีท

หากจะเปรียบเทียบกระบวนการติดตั้งหลังคาบ้านด้วยวัสดุหลังคาแต่ละประเภท หลังคาเมทัลชีทนับเป็นวัสดุหลังคาที่มีการติดตั้งเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ทั้งยังดำเนินการได้อย่างรวดเร็วกว่าวัสดุอื่น ๆ มากครับ นั่นเป็นเพราะลักษณะของแผ่นหลังคามีความกว้าง สามารถสั่งตัดได้ยาวเป็นแผ่นเดียวกันตลอดความยาวของ Slope หลังคา และด้วยความเรียบง่ายนี้เอง เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ความผิดพลาดในงานติดตั้งมีน้อยกว่าวัสดุหลังคาประเภทอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความรอบคอบ ปลอดภัย เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” รวบรวมข้อมูลจุดที่ช่างมักทำผิดพลาดบ่อย เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถตรวจเช็คงานติดตั้งเบื้องต้นด้วยตนเองได้ครับ

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand
ผู้เขียน : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์

ช่างหลังคา เมทัลชีท

เช็คจำนวนแผ่นหลังคาเมทัลชีท

ก่อนเริ่มต้นงานติดตั้งหลังคาเมทัลชีท เจ้าของบ้านสามารถตรวจเช็คการทำงานได้ตั้งแต่ก่อนติดตั้ง โดยเฉพาะการตรวจเช็คปริมาณวัสดุให้เพียงพอ ไม่ขาด ไม่เกิน และวัสดุในงานติดตั้งจะต้องได้มาตรฐานเหมาะกับงานหลังคาบ้านโดยเฉพาะ สำหรับการคำนวณจำนวนแผ่นเมทัลชีทจะง่ายกว่าวัสดุหลังคาอื่น ๆ มากครับ เนื่องด้วยเมทัลชีทสามารถสั่งผลิตได้ตามแนว Slope ของหลังคา ดังนั้นจำนวนแผ่นหลังคาจึงสามารถคำนวณตามความกว้างได้เลย

คำนวณ ปริมาณ หลังคาเมทัลชีท

ออกแบบโดย : Punplan

ตัวอย่าง บ้านหลังนี้ออกแบบในลักษณะหลังคาจั่ว มีความยาวตามแนว Slope 5.5 เมตร ส่วนความกว้างตามแนวสันจั่ว 16 เมตร วิธีการคำนวณให้นำแนวกว้างสันจั่วมาหารกับขนาด 76  cm ซึ่งเป็นขนาดความกว้างมาตรฐานเริ่มต้นของวัสดุเมทัลชีท (อาจมีกว้างกว่านี้ได้ในรุ่นพิเศษ) ตัวอย่างนี้แนวสันจั่วกว้าง 16 เมตร หรือ 16,00 cm/76 cm = 21 แผ่น โดยหลังคาจั่วมีหลังคาสองด้าน ดังนั้นต้องสั่งซื้อเมทัลชีท ขนาดความยาว 5.5 เมตร จำนวน 42 แผ่น

เจาะยึดหลังคาด้วยสกรูที่ได้มาตรฐาน

ด้วยคุณสมบัติหลักของเมทัลชีท ที่สามารถสั่งผลิตในความยาวแบบต่อเนื่องได้ การติดตั้งเมทัลชีทจึงไร้รอยต่อลดโอกาสรั่วซึมได้ดีกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามการติดตั้งเมทัลชีทรุ่นมาตรฐานทั่วไปยังต้องใช้สกรูเจาะเพื่อยึดแผ่นหลังคาเข้ากับงานโครงสร้างหลังคา และจุดนี้เองมักเป็นปัญหาให้เกิดการรั่วซึมครับ

สกรูเจาะ หลังคาเมทัลชีท

ในมุมผู้เป็นเจ้าของบ้านสามารถตรวจเช็คได้จากการเลือกใช้สกรูที่ออกแบบมาเพื่องานหลังคาเมทัลชีทโดยเฉพาะ โดยการยึดสกรูสามารถยึดได้ทั้งแนวสันลอนหรือท้องลอน (ช่างไทยจะนิยมยิงสกรูที่สันลอน) ซึ่งจะยิงสกรูในรูปแบบใดนั้นจำเป็นต้องเลือกรูปแบบสกรูให้เหมาะสมกัน สกรูสำหรับติดตั้งหลังคาเมทัลชีทจะต้องมีชีลยางกันน้ำ ส่วนงานยิงสกรูควรปล่อยให้เป็นทักษะของช่าง เพื่อให้ช่างได้มีอิสระในการทำงาน เจ้าของบ้านเพียงเช็คความเรียบร้อยหลังจากติดตั้งเสร็จ โดยสังเกตตามแนวสกรูไม่ให้มีแสงลอดผ่านครับ

 องศาหลังคาน้ำไม่ไหลย้อน

งานติดตั้งหลังคาโดยทั่วไปแล้วจะแข็งแรงหรือไม่ โครงสร้างหลังคาเป็นส่วนสำคัญอย่างมากครับ โดยรุ่นวัสดุหลังคาจะต้องสัมพันธ์กับขนาดต่าง ๆ ในงานโครงสร้าง ทั้งระยะแป Slope น้ำไหล, ดั้ง, จันทัน, อะเส แต่แน่นอนว่าในมุมผู้เป็นเจ้าของบ้านย่อมตรวจเช็คงานโครงสร้างได้ยาก วิธีการตรวจเช็คเบื้องต้นจึงต้องตรวจที่แบบบ้าน เพื่อให้แบบบ้านกับสเปควัสดุหลังคารองรับกัน หากเป็นหลังคาจั่ว ปั้นหยา หรือหลังคาทรงไทยทั่วไปจะไม่ค่อยมีปัญหาครับ เนื่องด้วยหลังคารูปทรงเหล่านี้มักมี Slope หลังคาที่ชันซึ่งจะรองรับกับเมทัลชีททุกรุ่นอยู่แล้ว แต่หากเป็นหลังคาแบนหรือหลังคาซ่อน Slab จะต้องตรวจเช็คสเปคหลังคาที่รองรับกับองศาต่ำ เพราะหากสเปคหลังคาไม่เหมาะสมกันจะส่งผลให้น้ำไหลย้อนเข้าสู่ตัวบ้านในช่วงฝนตกได้

หลังคาเมทัลชีทไม่แอ่น ไม่ตกท้องช้าง

อีกหนึ่งวิธีตรวจเช็คงานโครงสร้างเบื้องต้น เจ้าของบ้านสามารถดูความแอ่นของหลังคาด้วยสายตาได้ระดับหนึ่งครับ วิธีการตรวจเช็คให้ยืนในระยะห่างจากตัวบ้าน เพื่อมองเห็นถึงภาพรวมของงานหลังคาทั้งหมด การยืนห่าง ๆ จะทำให้เราสังเกตเห็นความผิดปกติด้านรูปทรงของงานหลังคาได้ดีกว่ายืนในระยะใกล้ ๆ หรือหากพอจะอ่านแบบก่อสร้างได้ ให้ทำการตรวจเช็คระยะแปหลังคาเพื่อให้สเปคตรงกับแบบโครงสร้างหลังคาบ้าน

วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างหลังคาเมทัลชีท นิยมใช้ร่วมกับงานเหล็กชุบกัลวาไนซ์ ซึ่งจะดีกว่างานไม้ตรงที่หมดห่วงเรื่องปลวก และดีกว่างานเหล็กที่ไม่จำเป็นต้องทาสีกันสนิม เนื่องด้วยเหล็กกัลวาไนซ์มีการชุบสังกะสีด้วยเทคนิคทางไฟฟ้า จึงสามารถป้องกันการเกิดสนิมได้ดีกว่าโครงเหล็กทั่วไปและมีน้ำหนักเบา จึงช่วยลดภาระของงานโครงสร้างได้

เช็คจุดระบายน้ำให้หลังคาเมทัลชีท

การระบายน้ำเป็นสิ่งสำคัญในงานหลังคาบ้าน เพราะหากระบบระบายน้ำติดขัดอาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ให้กับบ้านได้ หากบ้านทำหลังคาเสร็จในช่วงหน้าฝนพอดีจะไม่ค่อยมีปัญหาภายหลังครับ เพราะสามารถทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง แต่หากติดตั้งงานหลังคาเสร็จแล้วไม่มีฝนตกลงมาเลย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจเช็คการระบายน้ำด้วยการฉีดน้ำบนหลังคาก่อนทำฝ้าเพดานเพื่อทดสอบการระบายน้ำว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด

ระบายน้ำ บนหลังคา

ภาพประกอบ : Punplan

การระบายน้ำในงานหลังคาเมทัลชีท มีตั้งแต่การปล่อยให้น้ำไหลลงสู่ชายคาได้เลย หรือบางหลังเลือกใช้วิธีทำรางน้ำ ทั้งสองแนวทางนี้สามารถตรวจเช็คได้ง่ายและพบปัญหาน้อย แต่หากเป็นบ้านทรงกล่องที่มีหลังคาแบน บางหลังเลือกใช้วัสดุเมทัลชีทมาแทนหลังคา Slab คอนกรีต ซึ่งการซ่อนหลังคาจำเป็นต้องออกแบบระบบระบายน้ำมาโดยเฉพาะ จำเป็นต้องตรวจเช็คด้วยการทดสอบการระบายน้ำอย่างเข้มงวด รวมทั้งแนวทางป้องกันใบไม้หรือเศษฝุ่นใด ๆ มาอุดตัน ให้ออกแบบโดยมี Roof Drain เพื่อส่งน้ำจากหลังคาไปสู่ช่องท่อ และควรอย่างยิ่งที่จะต้องมี Over Flow ใกล้ ๆ Roof Drain เพื่อใช้เป็นจุดระบายน้ำสำรองให้กับ Roof Drain หากวันใด วันหนึ่งน้ำไหลออกทาง Over Flow ให้สันนิฐานได้เลยว่า Roof Drain มีการอุดตันครับ

หากเจ้าของบ้านมีความรู้พื้นฐานในงานก่อสร้างบ้าง จะสามารถป้องกันความผิดพลาดในงานก่อสร้างได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งสามารถป้องกันในกรณีพบเจอผู้รับเหมาที่ต้องการโกงสเปควัสดุ หรือมีการใส่วัสดุไม่ครบ ไม่ได้มาตรฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ อย่างไรก็ตามเจ้าของบ้านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางตัวอย่างเหมาะสม โดยจะต้องให้ความไว้วางใจผู้รับเหมาเพื่อให้ผู้รับเหมาและช่างสามารถทำงานก่อสร้างได้อย่างเป็นอิสระ ไม่รู้สึกถึงความกดดัน หากพบจุดผิดพลาดจึงต้องระมัดระวังในท่าทีและการพูดคุย ให้ถามหาเหตุผลนั้น ๆ ก่อนเสมอ และอย่าเพิ่งเหมารวมว่าช่างจะผิดเสมอไป เพราะงานบางอย่างช่างอาจมีเทคนิคเฉพาะที่ดีกว่ามาตรฐานงานทั่วไปก็ย่อมเป็นได้ครับ การตรวจสอบจึงเป็นเสมือนการช่วยกันดูเท่านั้น มิได้หมายถึงการพยายามจับผิดในการทำงาน


BlueScope Zacs

BlueScope Zacs แบรนด์เมทัลชีทอันดับ 1 ในไทย ได้รับความไว้วางใจจากสถาปนิกและวิศวกรชั้นนำ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์ : https://bit.ly/2yMzgi7     | แฟนเพจ : BlueScope Thailand
http://www.tb-credit.ru/dengi-na-kartu.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด