เมนู

5 ลักษณะบ้านไทยประยุกต์ สวยอ่อนช้อยแบบล้านนา

บ้านไทยล้านนา

กระเบื้องหลังคาพรีม่า

การสร้างบ้านเรือนไทยสมัยก่อนในแต่ละพื้นที่ มักมีรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศและภูมิปัญญา นำมาก่อร่างสร้างเรือนให้สอดคล้องเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของชุมชนนั้น ๆ บ้านไทยในยุคก่อน จึงมักมีรูปร่าง ขนาด วัสดุ หน้าตา และฟังก์ชันการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน อย่างเช่น บ้านไทยสไตล์ล้านนาที่อยู่ในเขตสภาพอากาศครบทั้งร้อน ฝน และฤดูหนาว จะมีลักษณะพิเศษเป็นเรือนไม้มีใต้ถุนให้ลมไหลผ่านระบายความชื้นและป้องกันน้ำหลาก มีชานเรือนให้นั่งเล่นรับลม

บ้านไหนพอจะมีฐานะ นิยมทำเป็นเรือนกาแลประดับตกแต่งบ้านอย่างประณีต ซึ่งล้วนเป็นภาพจำที่ทรงคุณค่า แม้เวลาจะผ่านมาเป็นร้อยปีก็ยังมีคนที่ชื่นชอบและนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจ ประยุกต์ร่วมกับบ้านสมัยใหม่ เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” ขอเอาใจคนรักบ้านสไตล์ไทยล้านนา รวบรวมลักษณะเด่นของบ้านเมืองเหนือมาฝากกันครับ

สนับสนุนโดยSCG Building Materials

ภาพประกอบเฮือนสีมันตรา

5 ลักษณะบ้านไทยประยุกต์สไตล์ล้านนา

บ้านเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงสภาพของพื้นที่ สังคม และวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในรูปทรงและแผนผังของอาคาร แสดงให้เห็นภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่พักอาศัยอยู่ ซึ่งแต่ละภูมิภาคของโลกก็มีระเบียบวิธีการก่อสร้างแตกต่างกันไป สำหรับลักษณะบ้านไทยประยุกต์สไตล์ล้านนามี 5 จุดเด่นที่มองแล้วทราบทันทีว่าเป็นบ้านในภาคเหนือ

บ้านไทยประยุกต์

ภาพประกอบบ้านคุณพระ

1. ยกพื้นสูงไม่มากนัก

แบบบ้านล้านนาเดิมจะมีทั้งแบบบ้านมีใต้ถุนยกสูงในเขตที่ลุ่มหรือพื้นราบ และแบบใต้ถุนของตัวเรือนค่อนข้างต่ำ ซึ่งมักพบบนดอยหรือทิวเขา โดยความสูงของบันไดบ้านที่นิยมสร้างจะมีตั้งแต่ 5 ขั้นขึ้นไป ทำให้ลมสามารถไหลลอดผ่านเพิ่มความเย็น ลดความร้อนได้ ช่วยป้องกันตัวบ้านในฤดูน้ำหลากและยังใช้เป็นพื้นที่นั่งทำงาน พักผ่อน เก็บผลผลิตทางการเกษตร เป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง แต่ปัจจุบันบ้านยกพื้นสูงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าการยกพื้นขึ้นในระดับที่ไม่สูงมากนัก เพื่อให้ดูร่วมสมัยมากขึ้นแต่ยังคงแสดงเอกลักษณ์บ้านล้านนาให้เห็นเด่นชัด

2. นิยมออกแบบหลังคาทรงจั่วหรือมะนิลา

หลังคาเรือนล้านนาเดิมจะเป็นหลังคาจั่วหลังคาลาดชันคลุมต่ำ ดูเตี้ยกว่าเรือนฝาปะกนของภาคกลางและไม่มีหลังคากันสาด แต่ชายคาบ้านที่ยื่นออกมากันแดดกันฝน บ้านสไตล์ล้านนาประยุกต์มักดีไซน์หลังคาทรงจั่วหรือทรงมะนิลา (ปั้นหยาที่มีจั่ว) เพื่อให้ระบายน้ำฝนและอากาศร้อนได้ดี ทรงหลังคาลักษณะนี้จึงกลายเป็นหนึ่งในลักษณะบ้านทรงไทยประยุกต์ที่นิยมใช้ในทุกยุคสมัย

เชิงชายฉลุปิดหลังคา

3. มีไม้เชิงชายปกปิดหลังคา

เรือนไม้ล้านนาจะปิดเชิงชายให้ดูเรียบร้อยด้วยแผ่นไม้ยาวตลอดแนว แต่ในยุคหนึ่งมีการนำเอาระเบียบวิธีการตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายหรือไม้แกะสลักแบบบ้านขนมปังขิง (gingerbread) มาประดับจั่วหลังคาและเชิงชาย ซึ่งเป็นอิทธิพลช่างไทยภาคกลางที่แพร่หลายจากปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 6 จึงทำให้เริ่มมีการใช้งานแทนไม้แผ่นเรียบ บ้านสไตล์ล้านนาประยุกต์บางหลังที่ต้องการความรู้สึกอ่อนช้อยจึงใช้เชิงชายแบบฉลุลายแต่บางหลังที่ชอบความรู้สึกร่วมสมัยมักใส่แผ่นไม้เรียบ ๆ

4. ประดับด้วยกาแล

กาแลหรือกะแล เป็นส่วนประดับของบ้านล้านนาแบบเรือนกาแลที่มียอดจั่วเป็นกากบาท กาแลอยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว ลักษณะเป็นแผ่นไม้ 2 ชิ้นไขว้กัน มีทั้งไม้แผ่นสี่เหลี่ยมตัดปลายแหลมมาไขว้กันธรรมดาและแบบใส่ความคิดสร้างสรรค์แกะสลักปลายไม้ให้เป็นลวดลายกนกอ่อนช้อยงดงาม หากต้องการสร้างอัตลักษณ์แบบบ้านล้านนาประยุกต์ “กาแล” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด หรือถ้าไม่ใส่กาแลจะใส่เป็นแท่งไม้สี่เหลี่ยมหรือทรงกลมประดับไว้ตรงส่วนยอดของจั่วซึ่งเรียกว่าสะระไนแทนก็ได้เช่นกัน

หน้าต่างบ้านสไตล์ล้านนาประยุกต์

5. หน้าต่างบานเล็กหรือบานกระทุ้งป้องกันลมหนาว

หน้าต่างหรือปล่องในภาษาเหนือ คือช่วงฝาเรือนที่เจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งแบบมีกรอบ ไม่มีกรอบ และแบบบานกระทุ้ง จุดประสงค์เพื่อให้บ้านมีการไหลเวียนของอากาศ รับแสงสว่างเข้าสู่ภายในและมองออกนอกเรือนได้ หน้าต่างของเรือนกาแลมีขนาดเล็กประมาณ 10 x 18 ซม. นอกจากมีขนาดเล็กแล้วยังมีจำนวนน้อยด้วย อาจเป็นเพราะภาคเหนืออยู่ในละติจูดสูงอากาศค่อนข้างเย็น จึงป้องกันความหนาวเข้ามาทางช่องเปิด แต่บ้านเราในปัจจุบันอากาศร้อนจัดเกือบตลอดทั้งปี การทำหน้าต่างบานเล็กในจำนวนน้อย ๆ จะไม่สอดคล้องกับยุคสมัย อาจปรับเปลี่ยนเป็นการใช้หน้าต่างบานกระทุ้งขนาดไม่ใหญ่มากแต่ติดหลายบาน เพื่อให้การระบายความร้อนและการลดความชื้นยังคงทำได้ดี


กระเบื้องหลังคา รุ่นพรีม่า

การเลือกใช้วัสดุหลังคาก็เป็นส่วนประกอบของบ้าน ที่จะช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ความสวยงามเป็นไทยให้เด่นชัดขึ้น อย่างกระเบื้องรุ่นพรีม่า หนึ่งในวัสดุมุงหลังคาที่มีรูปลักษณ์เหมาะกับบ้านไทยประยุกต์ ด้วยดีไซน์กระเบื้องลอนพลิ้ว ขนาดสั้นเพียง 65 ซม. มีรูปลอนที่ถี่ จึงทำให้ผืนหลังคาดูประณีตและกระจายแรงได้ดี  อีกทั้งยังผลิตจากวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติการนำความร้อนต่ำ ช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน แข็งแรงทนทานต่อลมพายุและปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย เพราะไม่มีส่วนผสมของใยหิน มีให้เลือกทั้งกลุ่มสีธรรมชาติและกลุ่มสีทอประกาย เสริมภาพลักษณ์ให้บ้านแลดูน่ามอง มาพร้อมอุปกรณ์ชุดติดตั้งที่ครบครันได้มาตรฐานคุณภาพเอสซีจี

รายละเอียดเพิ่มเติม 

เว็บไซต์ : https://bit.ly/2TPmmGM

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด