เมนู

บ้านโมเดิร์น เคารพบรรยากาศเมืองเทศกาลดอกไม้ไฟ

แบบบ้านหน้าแคบสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านโมเดิร์นประยุกต์ให้ลงตัวกับเมืองเก่า

หากใครเคยดูการ์ตูนญี่ปุ่น จะคุ้นเคยกับการมีเทศกาลดอกไม้ไฟที่ทุกคนรอคอยในฤดูร้อน ที่ทำให้เมืองมีสีสันสนุกสนาน ในเมืองคาวาโกเอะ ซึ่งเป็นหนึ่งเมืองโบราณของประเทศญี่ปุ่น ที่รู้จักกันในชื่อว่า ลิตเติ้ลเอโดะ (Koedo Kawagoe)  ก็มีเทศกาลดอกไม้ไฟที่น่าตื่นเต้นไปทั่วทั้งเมือง  ในฤดูใบไม้ร่วงบ้านเรือนต่างประดับโคมไฟจำนวนมากที่หน้าบ้าน ช่างเป็นน่าอัศจรรย์แบบดั้งเดิมที่ทรงคุณค่า ความงดงามและเป็นเอกลักษณ์แบบนี้นี่เอง ที่ทำให้คนที่จะสร้างบ้านใหม่ๆ ในแถบนี้ต้องคิดมากขึ้นกว่าเพิ่ม เพื่อใส่ความเป็นตัวตนแบบใหม่ๆ ลงในบ้าน แต่ยังต้องรักษาบรรยากาศและกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปให้ลงตัว

ออกแบบ : K+S Architects
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านสามชั้นฟาซาดระแนงไม้

อย่างที่ทราบว่า คาวาโกเอะ เป็นศูนย์กลางในจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่ว่าเป็นเมืองเอโดะน้อย เพราะมีสถาปัตยกรรมยุคสมัยเอโดะถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี ทำให้สถาปนิกต้องกลับมาตั้งคำถามว่า อะไรคือความลงตัวระหว่างวิถีชีวิตของครอบครัว และความกลมกลืนกับเมืองคาวาโกเอะแบบดั้งเดิม ในท้ายที่สุดโครงการนี้มีคำตอบ เพื่อแสดงเคารพบรรยากาศของเมืองแบบดั้งเดิม และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนแห่งนี้ สถาปนิกจึงทำหลังคาทางเข้าประยุกต์จากแบบอาคารเก่าที่เรียกว่า Machiya (町屋/町家) และคุราซึคุริ (อาคารโกดังเก่า) บนชั้นสองมีฟาซาดไม้ระแนง หรือ  ‘Koshi’  ภายนอกบ้านที่หันไปทางถนนมีสวนเล็ก ๆ และม้านั่งคอนกรีตบนผนังลายไม้ดูเป็นมิตร เพื่อให้ผู้ที่เดินผ่านไปมานั่งเล่นและสนุกสนานร่วมกันในงานเทศกาลได้ ใส่เอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นลงไปได้ลงตัวในท่ามกลางสีดำและวัสดุแบบโมเดิร์น

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บันไดเหล็กสีดำโปร่งๆ

แนวคิดต่อไปในบ้าน คือการรักษาระยะห่างระหว่างครอบครัวเองและชุมชนของคาวาโกเอะ  ด้วยความที่บ้านนี้หน้าแคบลึกยาวเหมือนมาชิยะ จึงพยายามสร้างพื้นที่ไร้รอยต่อโดยไม่มีผนังที่ไม่จำเป็น สถาปนิกยังออกแบบ “Ma” (間)  ซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะสำหรับทำบางสิ่งบางอย่างในภาษาญี่ปุ่น เช่น “Shoku-no-MA” (พื้นที่รับประทานอาหาร) “Tuma-no-Ma” (พื้นที่ส่วนตัวสำหรับภรรยา) และ “Doma (พื้นที่กึ่งสาธารณะที่เป็นดินในสมัยก่อน) ซึ่งจะมีสเปซโล่งกว้าง และประตูที่เปิดปิดเชื่อมต่อกันได้แบบหลวมๆ เพื่อให้สมาชิกในบ้านสัมผัสได้ถึงความอิสระ แต่ก็รับรู้ขอบเขตของพื้นที่ในบ้านหลังนี้

ผนังเปิดกว้างเชื่อมต่อทางเดิน

ราวบันไดโมเดิร์นมินิมอล

ชั้นล่างจะมี โดมะหรือสเปซโล่งกว้างอเนกประสงค์ด้านหน้า ที่เชื่อมต่อระหว่างนอกบ้านกับในบ้าน ห้องน้ำ และห้องส่วนตัวของคุณสามีที่ด้านหลัง ส่วนชั้นถัดไปจะมีบันไดเหล็กโปร่งๆ นำทางค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไปยังจุดศูนย์รวมของบ้านที่ตกแต่งอย่างเรียบง่ายด้วยเส้นสายเรขาคณิตไม่ซับซ้อนโทนสีขาวตัดเส้นสายตาด้วยเหล้กสีดำบางๆ (แต่แข็งแรง) และมีงานไม้ตามประกบเพื่อสร้างความรู้สึกอ่อนโยน อบอุ่น ในทุกพื้นที่

บ้านโถงสูงมีชั้นลอย

ในบริเวณใจกลางบ้านไม่มีพื้นเพดานแยกชั้นที่ชัดเจน เพราะสถาปนิกใช้วิธีการเล่นระดับ ทำให้มีส่วนที่ถูกเป็นแท่นมีโถงสูงเหมือนลอยตัวเด่นตรงกลาง เป็นส่วนของห้องครัวและห้องทานข้าว ส่วนด้านหลังเป็นห้องส่วนตัวของคุณภรรยา ด้านหน้าทำเป็นมุมนั่งเล่นที่มีฉากไมระแนงคอยกั้นบังแสงและเพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของผู้คนที่ผ่านไปมา

ครัวโมเดิร์นมินิมอลเพดานสูงโปร่ง

โถงสูงมีหน้าต่างล้อมรอบ

บ้านนี้ไม่ขาดแสงแม้จะเป็นบ้านหน้าแคบลึกที่มีโอกาสพลาดจากแสงช่วงกลางอาคาร เพราะการออกแบบที่เปิดพื้นที่โล่งมีโถงสูงหลายเมตร ประกอบกับช่องแสงรอบ ๆ บ้านที่เอื้อให้ความสว่างส่องจากด้านบน ด้านข้าง กระจายเข้าสู่ทุกพื้นที่กิจกรรมภายใน บ้านจึงยังคงสว่างแม้ไม่ได้เปิดไฟฟ้าส่องสว่างในช่วงกลางวัน

บ้านหน้าแคบมีชั้นลอย

ส่วนบนสุดชั้นสาม เป็นพื้นที่ของห้องใต้หลังคา ซึ่งถูกยกขึ้นเป็นแท่นโปร่งๆ สามารถมองลงไปเห็นครัวที่อยู่กลางบ้านได้ มองทะลุช่องเปิดที่จัดวางแต่ละตำแหน่งให้มุมมองวิวธรรมชาติและวิวเมืองต่างๆ กัน ส่วนโซนด้านหลังเป็นลานสำหรับพักผ่อน

ช่องแสงสี่เหลี่ยมแนวนอนรอบบ้าน

นอกจากการจัดการภายในเดี่ยวกับฟังก์ชันการใช้งาน สถาปนิกยังโฟกัสไปที่การจัดการพลังงานให้บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีช่องทางรับแสงธรรมชาติและการระบายอากาศตามธรรมชาติจากหน้าต่างสูง บ้านนี้มีแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาสำหรับระบบทำน้ำร้อนและระบบระบายอากาศ ส่งลมอุ่นจากห้องใต้หลังคาไปยัง “โดมะ” ที่ชั้นหนึ่ง บ้านจึงสว่างอบอุ่นในฤดูหนาว และไม่ร้อนเมื่อคลื่นความร้อนมาเยือน

แปลนบ้าน

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บ้านที่สร้างบนเนื้อที่แคบลึก เหมาะจะจัดแปลนภายในแบบเล่นระดับ (Split Level) เพราะลักษณะของพื้นที่ใช้สอยภายในลดหลั่นกัน การเล่นระดับจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้านที่ค่อนข้างเล็ก เนื่องจากการเทพื้นจะมีการเหลื่อมของพื้นที่เป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วน โดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบจึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด และใช้บันไดเป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นที่ สร้างพื้นที่ว่างใจกลางอาคารให้แสงและอากาศไหลเวียนภายใน ลดข้อจำกัดของบ้านหน้าแคบได้ดี นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีลูกเล่น เติมมิติของพื้นที่ใช้งาน ดูน่าสนใจกว่าการวางระดับพื้นในระนาบเดียวกัน นอกจากใช้ประโยชน์ได้ดีแล้วยังสนุกสนานมากขึ้น

แปลนบ้าน แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด