เมนู

Mit Chit House ชีวิตแบบมิตรชิด ในบ้านโมเดิร์นเว้นคอร์ท

บ้านมิดชิด

บ้านโมเดิร์นในเมืองไทย

เพราะชีวิตของคนเราไม่ได้มีเพียงด้านเดียว อาจจะมีบางครั้งที่เราต้องการเปิดตัวตนให้เชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้ แต่ในบางอารมณ์ก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัวอยู่แบบเงียบ ๆ บ้านจึงต้องตอบโจทย์ความความซับซ้อนให้ออกมาเป็นรูปร่างอย่างสมดุล ทั้งดีไซน์และฟังก์ชัน การจัดวางระดับความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยตรงกับวิถีชีวิตมากที่สุด เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ในย่านสวนผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ที่สถาปนิกพยายามนำเสนอบ้านผ่านความท้าทายในการจัดการพื้นที่ให้มีทั้งการเชื่อมต่อ เข้าถึงธรรมชาติ และการใส่มุมมองจากภายนอกที่เน้นย้ำความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ยังรู้สึกได้ถึงความเป็นมิตร

ออกแบบ : Looklen
ภาพถ่าย : Varp Studio
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านโมเดิร์นโทนสีขาวเทา

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านโมเดิร์นโทนสีขาวเทา

บ้านโมเดิร์นสีขาวรั้วรอบขอบชิดหลังนี้ มีพื้นที่ใช้สอย 350 ตารางเมตร เป็นส่วนต่อขยายจากบ้านเดิมของครอบครัว ที่ตั้งใจสร้างบ้านหลังใหม่สำหรับลูกสาว 2 คน พร้อมกับเติมเต็มพื้นที่ส่วนกลางให้สมบูรณ์แบบ เพื่อให้ครอบครัวมีพื้นที่กิจกรรมร่วมกันแบบใกล้ชิดขึ้นกว่าเดิม ด้วยบริบทที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรเก่าที่รายล้อมด้วยสวนผลไม้ ให้บรรยากาศเงียบสงบแต่จะเปลี่ยวในช่วงกลางคืน เจ้ของบ้านจึงต้องการความมิดชิดเป็นส่วนตัวเพื่อความปลอดภัย ประตูบ้านและรั้วบางส่วนจึงเลือกวัสดุเป็นช่องตารางเล็ก ๆ ที่มีความโปร่ง ทำให้ยังคงมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้แบบไม่ถูกตัดขาด คำว่า “มิด-ชิด” นี้ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า “มิตร-ชิด” ซึ่งเป็นคอนเซ็ปหลักสองนัยยะที่ใช้สื่อสารความเป็นตัวบ้านได้ดีทั้งคู่

ภาพมุมมองบ้านจากด้านบน

มุมมองจากด้านบนของบ้านจะเห็นสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และวิธีการแบ่งพื้นที่ใช้งานที่ปิด-เปิดโล่งเปิดออกสู่ท้องฟ้าหลายจุด เป็นคอร์ทที่ทำให้บ้านรับบรรยากาศแบบกลางแจ้งเข้าสู่ภายในได้เต็มที่

บันไดทางเข้าสู่ตัวบ้าน

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

เมื่อเข้ามาสู่พื้นที่ตัวบ้านแล้ว เราจะพบกับ Next Station ของการแก้โจทย์อีกข้อหนึ่ง ซึ่งเจ้าของต้องการการอยู่อาศัยในธรรมชาติ มีพื้นที่สีเขียวที่เปิดพื้นที่ให้เข้าถึงง่ายๆ  และสามารถมองเห็นกันได้หมด การมองภาพให้ออกว่าจะสร้างพื้นที่ใช้สอยอย่างไรให้อยู่กับร่วมกับที่ว่าง สวน  ได้ในภาพรวมจึงค่อนข้างสำคัญ ในจุดนี้ทีมงานเริ่มต้นด้วยการวาง Layout ของบ้านใหม่ ให้มีลักษณะเป็นพื้นที่ใช้งานสลับแทรกด้วยคอร์ทยาร์ด

สเต็ปบันไดทางเข้าบ้าน

สวนเขียวๆ ในบริเวณบ้าน

ตัวอาคารหลักที่ต่อเติมถูกขยับให้อยู่ชิดกับรั้วบ้านฝั่งซ้าย เว้นพื้นที่ฝั่งขวาเปิดเป็นคอร์ทยาร์ดขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ทั้งแยกโซนการใช้งานและเชื่อมบ้านสองหลังเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังคอร์ตยาร์ดเล็ก ๆ ขนาด 3 x 3 เมตร และ 3 x 5 เมตร จำนวน 4 จุด กระจายตัวอยู่ในบ้าน ที่ทำหน้าที่เป็นดึงแสงและธรรมชาติเข้าสู่ตัวบ้าน

คอร์ทยาร์ดปลูกต้นไม้ในบ้าน

คอร์ทยาร์ดปลูกต้นไม้ในบ้าน

ห้องนั่งเล่นโถงสูงมองเห็นคอร์ทยาร์ด

คอร์ทยาร์ดขนาดเล็กที่แทรกอยู่ในส่วนต่างๆ ของบ้านห้อมล้อมด้วยผนังกระจกสูงหลายเมตร ดูเหมือนเป็นโชว์รูมที่มีต้นไม้เป็นตัวเอก ผนังกระจกใสรอบทิศทางนอกจากจะทำหน้าที่ดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสวน เพิ่มการระบายอากาศที่ดี  จึงรู้สึกเหมือนบ้านเต็มไปด้วยอิสระ และรายล้อมด้วยต้นไม้จนบางครั้งก็แทบจะแยกไม่ออกว่าบ้านสร้างอยู่ในสวนหรือจัดสวนอยู่ในบ้าน

คอร์ทยาร์ดปลูกต้นไม้ในบ้าน

พื้นที่ธรรมชาติที่ลดความแข็งกระด้างของตัวอาคารลง พร้อม ๆ กับเติมความรู้สึกเป็นมิตรเอาไว้ข้างใน ทีมงานสถาปนิกยังสร้างกรอบการมองเห็นสวนได้จากทุกมุมมองของบ้าน ให้สมาชิกครอบครัวสามารถซึมซับความสดชื่นอย่างเป็นส่วนตัวได้ เพียงมองทะลุกระจกออกไปก็เห็นความเขียวขจีของต้นไม้ในทันที โดยที่ยังไม่ต้องก้าวออกจากตัวบ้าน

จังหวะของช่องว่าง กระจกใส ผนังทึบ

บริเวณชั้น 1 ออกแบบแปลนในรูปแบบ Open Plan เพื่อให้เกิดความตื่อเนื่องและลื่นไหลของพื้นที่ รวมห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และครัวเข้าไว้ด้วยกันอย่างหลวมๆ ไม่ใช้การก่อผนังปิดทึบแยกสัดส่วนห้องต่างๆ แต่ใช้ผนังกระจกและการเล่นระดับบ้าน เพื่อแบ่งขอบเขตการใช้งานแต่ละฟังก์ชันแทน ความพิเศษของบ้านยังไม่หมดเท่านี้ เพราะนอกจากการเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งานในแนวนอนแล้ว ยังเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวตั้งของบ้านสูงสองชั้น (Double Space) บริเวณเหนือมุมนั่งเล่น  ทำให้บ้านยิ่งดูโอ่โถงและปฎิสัมพันธ์กันง่ายขึ้น

ห้องทานข้าว

ห้องทานข้าว

ลูกเล่นที่บันได

สถาปนิก Looklen มักใส่ลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่าสนใจลงในงานเสมอ อย่างเช่น บันไดชั้นล่างใช้วัสดุไม้เป็นขั้นบันไดสลับกับคอนกรีตดูเหมือนเปียโนคีย์บอร์ด หรือบันไดในชั้นบนแทนที่จะเป็นการทำบันไดแบบหักกลับทั่วไป แต่ทีมงานกลับออกแบบให้จุดต่อเชื่อมแยกลอยตัวออกจากกันดูท้าทายอย่างน่าสนใจ

ที่ว่างใจกลางบ้าน

ห้องนอนผนังกระจกมีผนังปิดให้เป็นส่วนตัว

ในส่วนของชั้น 3 เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัวที่สุด จึงถูกจัดให้เป็นห้องนอนที่ออกแบบมาอย่างดี คือมีสวนแบบส่วนตัวที่มองลงไปก็เห็น และยังออกแบบผนังคอนกรีตปิดบังพื้นที่พักผ่อน โดยทำช่องเปิดที่เอื้อให้แสง ลม ธรรมชาติ มีส่วนร่วมกับห้องนอนได้อย่างแยบยล ชุดของตัวผนังที่ไม่ได้ติดกันเป็นผืนเดียว แต่มีช่องเปิดในทิศทางต่างๆ กันนี้ ยังเป็นตัวช่วยลดความร้อนเข้าสู่ห้องนอนโดยตรงจากแสงอาทิตย์ ที่อาจทะลุเข้ามาเข้ามาในส่วนของผนังกระจก ทำให้ห้องนอนมีความเป็นอิสระใช้ชีวิตได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสายตาของเพื่อนบ้าน

ตกแต่งไฟนอกบ้านยามค่ำ

บรรยากาศบ้านยามค่ำที่เปล่งประกายเหมือนตะเกียงดวงใหญ่ ทำให้เห็นว่าบางส่วนของบ้านที่ดูปิดนั้นไม่ได้มิดจนทึบ ยังคงมีความโปร่งเบาที่อนุญาตให้บ้านเชื่อมต่อกับชุมชนได้ พร้อมๆ กับใช้พื้นที่ภายในที่จัดสรรมาเป็นอย่างดีเป็นตัวกลางในการใช้งานสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในบ้านให้ชิดใกล้กว่าที่เคย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด