เมนู

รู้จักกับมาตรฐานหลังคาเมทัลชีท ที่เหนือกว่ามาตรฐาน มอก.

มาตรฐานเมทัลชีท

เลือกหลังคาทั้งทีต้องเลือกที่มี “มาตรฐาน”

หากต้องซื้อสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างสักชิ้น ผู้อ่านมีหลักเกณฑ์ในการเลือกวัสดุอย่างไรบ้างครับ ในยุคนี้ที่ตลาดมีสินค้ามากมาย แม้แต่สินค้าแบบเดียวกันก็หลายเกรด หลายมาตรฐาน หากมองด้วยตาเปล่าบางครั้งก็แยกไม่ออกว่าชิ้นไหนคุณภาพดีกว่ากัน เพราะเราไม่สามารถเข้าไปดูขั้นตอนการผลิตว่าวัสดุดังกล่าวมีส่วนผสมใด มีกระบวนการผลิตอย่างไร ซึ่งหากเราไม่ทราบมาตรฐานของวัสดุก่อนเลือกซื้อ อาจได้รับสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง

วัสดุก่อสร้างในประเทศไทย มีมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพในการผลิต คือ มอก. หากวัสดุใดได้รับมาตรฐาน มอก. ก็นับได้ว่ามีคุณภาพเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว แต่สำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการมาตรฐานของวัสดุเหนือกว่ามาตรฐาน มอก. โดยเป็นมาตรฐานระดับสากลหรือระดับโลก เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” พาไปรู้จักกับมาตรฐานต่าง ๆ ของเมทัลชีทว่ามีมาตรฐานอะไร ให้เราได้เลือกใช้งานกันบ้าง

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand

Bluescope-Zacs-Roof-Colour

ในประเทศไทยสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ครอบคลุมไปจนถึงสินค้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ ประเภทอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ต้องผ่านการรับรองมอก. (Thai Industrial Standard) หรือ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” เป็นข้อกำหนดที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางควบคุมการผลิตให้ได้คุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด มี ความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ซึ่งจะประกอบด้วย เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบ เป็นต้น มาตรฐานมอก. มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการเป็นตัวช่วยตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้สินค้าที่ปลอดภัยต่อการใช้งานในราคาที่เป็นธรรมและคุ้มค่ากับการใช้งาน

มาตรฐาน มอก. ของเมทัลชีทมีอะไรบ้าง

1. มอก. 2228-2559 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อนแบบต่อเนื่อง สำหรับงานทั่วไป งานขึ้นรูป และงานโครงสร้าง

มอก. เลขที่ 2228-2559  เป็นมาตรฐานสำหรับเมทัลชีทที่ไม่เคลือบสี ซึ่งจะมีข้อกำหนดคุณสมบัติของแผ่นเหล็กทั้งความหนา ความกว้าง ความยาว และ ปริมาณของชั้นเคลือบ ผู้ผลิตต้องทำให้ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และตรงตามฉลากที่ระบุไว้บนตัวสินค้า โดยมาตรฐานนี้จะใช้กับเมทัลชีทที่มีความหนา ระบุ (ความหนาของแผ่นเหล็กกล้าก่อนเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสี) ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร และความกว้าง ไม่เกิน 1500 มิลลิเมตร

Bluescope เมทัลชีทเคลือบสี

2. มอก. เลขที่ 2753-2559 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อนและเคลือบสี

มอก.2753-2559 เป็นมาตรฐานของเมทัลชีทเคลือบสี ที่ผ่านข้อกำหนดต่าง ๆ อาทิ กระบวนการเคลือบสีที่สม่ำเสมออย่างน้อย 1 ด้าน และอบร้อน (baking) มีความหนาระบุ (ความหนาของแผ่นเหล็กกล้าก่อนเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสี) ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร และกว้างไม่เกิน 1,500 มิลลิเมตร

ต้องผ่านกระบวนการทดสอบคุณสมบัติด้านต่าง ๆ เช่น การทดสอบความทนด้วยละอองเกลือ ทดสอบความแข็งของสีเคลือบด้วยดินสอ ทดสอบแรงกระแทก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เมทัลชีทที่ได้มาตรฐานนี้ สีจะมีความคงทน ไม่ลอกร่อนโดยง่าย เมทัลชีทที่ได้ มอก. นี้ จะต้องแสดงมีรายละเอียดบนฉลากสินค้า คือ เลข ตัวอักษร ชนิด ประเภท ชั้นคุณภาพเหล็ก และสัญลักษณ์การเคลือบ ความหนาระบุและความหนาหลังเคลือบสี มวลเป็นกิโลกรัม  รหัสสีของผลิตภัณฑ์  เดือนปีที่ทำ และรหัสรุ่นที่ทำ ชื่อโรงงาน หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

โรงงานบลูสโคป

รู้จักกับ มาตรฐานเมทัลชีทระดับสากล

มอก. คือมาตรฐานที่ใช้ในขอบเขตของประเทศไทย แต่เมทัลชีทแบรนด์ชั้นนำ นอกจากจะควบคุมคุณภาพการผลิตตามมาตรฐาน มอก. แล้ว ยังเลือกที่จะควบคุมคุณภาพการผลิตตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลกด้วย โดยมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมทัลชีท จะมีด้วยกัน 3 ระบบหลัก คือ

  • ASTM   (American Society for Testing and Materials) เป็นมาตรฐานที่ผ่านการรับรองจากสมาคมเพื่อการทดสอบและวัสดุแห่งอเมริกา
  • JIS (Japaness Industrial Standards) มาตรฐานสากลประเทศญี่ปุ่นและเป็นมาตรฐานต้นแบบของมาตรฐาน มอก.
  • AS (Australia Standards) มาตรฐานสากลประเทศออสเตรเลีย ที่มีข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดเรียบตามมาตรฐาน

มาตรฐานสากล ช่วยควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีมาตรฐานกลาง ทั้งในเรื่องขนาด รูปลอน น้ำหนัก หน้ากว้าง ระยะการติดตั้ง รวมถึงการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในขั้นตอนการผลิต  เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงทนทาน มีความคลาดเคลื่อนน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่ออาคารที่นำไปใช้ในภายหลัง

Bluescope เมทัลชีทเคลือบสี

ทำไมต้องเลือกใช้เมทัลชีทที่ได้มาตรฐาน

ในมุมมองของผู้เขียนเอง มองว่า เมทัลชีทเริ่มต้นการผลิตและใช้งานมาจากต่างประเทศ และค่อย ๆ นิยมใช้ในประเทศไทยภายหลัง หากอิงกับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เราจะยิ่งมั่นใจได้ว่ามีการทดสอบการใช้งานจริงมาอย่างยาวนาน ได้เห็นปัญหาต่าง ๆ มาแล้วมากมายจึงรวบรวมมาเป็นมาตรฐานหลัก มีความน่าเชื่อถือระดับสากล

ที่กล่าวเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า มอก.มาตรฐานของไทยจะไม่น่าเชื่อถือนะครับ เพียงแต่อะไรก็ตามที่มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ใช้งานคงทนยาวนาน จะไม่จำเป็นต้องอิงมาตรฐานเดียว ยิ่งหากเมทัลชีทที่ควบคุมการผลิตด้วยหลาย ๆ มาตรฐาน ที่เป็นการควบคุมการผลิตที่เข้มงวด มาผนวกรวมกันก็จะยิ่งการันตีได้ว่า สินค้าชิ้นนั้น ๆ เชื่อถือได้อย่างแท้จริง

ผลเสียของการใช้แผ่นเมทัลชีทไม่ได้มาตรฐาน

จุดแรกที่ต้องดูเป็นหลักคือ มาตรฐาน มอก. ซึ่งจะควบคุมคุณภาพของวัสดุ ทั้งส่วนผสม ขนาดความหนาต่าง ๆ ส่วนนี้จะช่วยให้วัสดุที่ได้รับมาตรฐานมีความคงทนที่ดี ลดปัญหาการผุกร่อนรั่วซึมภายหลัง ยิ่งหากวัสดุมีการควบคุมการผลิตตามมาตรฐานสากลที่เข้มงวดนั้น อาทิ คุณสมบัติการควบคุมความกว้าง (Width Tolerance) ซึ่ง เป็นการลดโอกาส หรือความคลาดเคลื่อนเวลาขึ้นรูปลอนของเมทัลชีทได้ หากแผ่นเมทัลชีทสั้นหรือยาวเกินกว่าค่าความคลาดเคลื่อนที่ถูกกำหนดไว้ จะทำให้รูปลอนหลังคาเกิดการผิดพลาด ซึ่งเป็นสาเหตุของการรั่วซึมได้ หลังคาที่มุงด้วยแผ่นเมทัลชีท “สั้นเกินไป” จะทำให้การทับซ้อนของสันลอนตัวผู้และตัวเมียไม่เต็มลอน เกิดปัญหาน้ำไหลย้อนเข้าไปใต้หลังคาได้ กรณีที่แผ่นเมทัลชีท “ยาวเกินไป” จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการติดตั้ง โดยทำให้ปีกของสันลอนตัวผู้หรือสันลอนตัวเมียประกบกันไม่ดี เกิดช่องว่างและน้ำไหลย้อนได้เช่นกัน

ทั้งนี้ยังรวมไปถึงความกว้างและรูปลอนของแผ่นเมทัลชีทต้องได้มาตรฐานเท่ากันทุกแผ่น มิเช่นนั้นการทับลอนจะไม่สนิทก็เกิดปัญหาได้เช่นกัน  ดังนั้น การควบคุมความกว้าง (width tolerance) ของเมทัลชีท ความสั้นความยาวที่กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของความกว้างของเมทัลชีทไว้น้อยที่สุด จะทำให้รูปลอนหลังคาออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด และได้ผลงานหลังคาที่มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดเช่นกัน


เมทัลชีทเคลือบสี

BLUESCOPE Zacs ผลิตจากเหล็กกล้า รีดเย็นเคลือบโลหะที่ผสมระหว่างอลูมิเนียม 55 เปอร์เซ็นต์ ผสมสังกะสี ผลิตด้วยกรรมวิธีการจุ่มร้อนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีการผลิตและวิจัยพัฒนาอันทันสมัยจากบลูสโคป ประเทศออสเตรเลีย ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกด้านผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบ มีเครื่องหมาย มอก. 2228-2559 และมอก.2753-2559 ที่ตัวผลิตภัณฑ์ บ่งบอกถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมประเทศไทย

และยังควบคุมการผลิตความกว้างสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดเย็นตามมาตรฐาน AS1365-1996 ของออสเตรเลีย, ได้รับมาตรฐาน ASTM924/A924M-07 สำหรับเหล็กแผ่นเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสี โดยกระบวนการจุ่มร้อนของสหรัฐอเมริกา และ JIS 3321-2012 มาตรฐานสำหรับข้อกำหนดสำหรับเหล็กแผ่นโดยกระบวนการจุ่มร้อนของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถไว้ใจเลือกหลังคาเหล็ก BLUESCOPE Zacs ได้อย่างมั่นใจ รับประกันไม่ผุกร่อนยาวนานถึง 12 ปี รับประกันสีไม่ซีดจาง 5 ปี

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : https://bit.ly/3dFWgyZ  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด