เมนู

บ้านไร่สีดำหลังคาเมทัลชีท ทิศทางบ้านของเกษตรกรรุ่นใหม่

บ้านโรงนาเมทัลชีท

บ้านไร่สไตล์โมเดิร์น

บ้านไร่ในฝันของทุกคนเป็นอย่างไรกันบ้างครับ ขอเดาว่าหน้าตาคงต่างกันไปตามจินตนาการ แต่เชื่อว่ามีคนไม่น้อยยังชอบบ้านหลังคาจั่วสูงที่ให้ความรู้สึกแบบโรงนาเก่าๆ ซึ่งก็ดูคลาสสิคดีแต่ฟังก์ชันและวัสดุอาจไม่ตอบโจทย์ยุคสมัย บทความนี้ “บ้านไอเดีย” จะพาไปหาแรงบันดาลใจกันกับโครงการบ้านไร่ฝีมือสถาปนิกชาวญี่ปุ่น Takeshi Ikeuchi ที่ออกแบบสำหรับครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรุ่นใหม่ในมัตสึยามะ ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมใกล้เคียงและสร้างจุดร่วมทางสถาปัตยกรรมของพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ในที่สุดก็ได้ผลงานบ้านที่ชื่อ Farm House of Wind and Fire ที่ชวนให้หลงรักกับรูปลักษณ์ที่ทันสมัยแต่ไม่ละทิ้งความอบอุ่น

ออกแบบColife3
ถ่ายภาพ : Shuhei Miyahata
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

ช่องเปิดบนหลังคาเปิดปิดได้

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

แม้จะเป็นคนรุ่นหลังที่อายุเพียง 30 ปี และอยากมีบ้านให้ตอบโจทย์ทั้งการอยู่อาศัยและใช้งาน แต่ก็ยังอยากจะสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเช่นกัน อันดับแรก สถาปนิกจึงได้ตรวจสอบบ้านไร่เก่าในพื้นที่ พบว่ามีความต่อเนื่องคั่นกลางระหว่างสวนและลานด้านตะวันออกและตะวันตกเพื่อรับลมฤดูร้อน (ลมทะเลและลมบก) ที่พัดเข้ามาในบริเวณนี้ ทีมงานจึงวางแนวอาคารให้รับลมได้ดี และเปิดช่องขนาดใหญ่หัวท้าย ให้บ้านเป็นเหมือนอุโมงค์ลมที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

บ้านหลังคาจั่วเมทัลชีทสีดำกลางทุ่งนา

บ้านหลังคาจั่วสีดำกลางทุ่งนา

บ้านสร้างบนนาข้าวเก่า ลดการใช้วัสดุและตกแต่งแบบไฮเทคราคาแพงให้เหลือน้อยที่สุด โดยเน้นที่วัสดุธรรมชาติแทน เช่น พื้นไม้ซีดาร์ ผนังไม้ซีดาร์ท้องถิ่นหนา 30 มม. เผาพื้นผิวด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “ยากิสึกิ” จนกลายเป็นสีดำ ชั้นที่ไหม้เกรียมจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเนื้อด้านใน โดยไม่ต้องทาสีหรือผ่านการอาบน้ำยาใด ๆ  ทำให้ขั้นตอนการก่อสร้างง่ายขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษาบ้านในอนาคตด้วย หลังคาเหล็กเมทัลชีทสีดำเรียบๆ เข้ากับหมวกหรูหราเหนือตัวอาคาร และเพดานฉาบปูน Ikeuchi แบบโค้งเพิ่มสัมผัสที่สวยงามและเป็นธรรมชาติไม่มีรางน้ำและท่อระบายน้ำที่เกะกะ ด้วยการวางแนวกรวดใต้ชายคาเพื่อช่วยซับและระบายน้ำ แสดงให้เห็นทิศทางใหม่สำหรับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชุมชนชนบทในมัตสึยามะ

บ้านหลังคาจั่วเมทัลชีทสีดำ

บ้านหลังคาจั่วสีดำติดระแนงไม้กันแสงแดด

ช่องเปิดที่ด้านหน้าอาคารทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ช่วยให้ลมฤดูร้อนพัดผ่านอย่างอิสระเพื่อทำให้ภายในเย็นลงอย่างเป็นธรรมชาติ ในขณะที่บานเกล็ดระแนงช่วยป้องกันแสงแดดอันร้อนระอุในฤดูร้อนและแสงยามบ่าย สีน้ำตาลของไม้ยังทำให้มุมมองบ้านดูอบอุ่นขึ้นตามแบบอย่างของบ้านรุ่นก่อน ส่วนพื้นที่ทำการเกษตรถูกวางไว้ทางด้านตะวันออก/ด้านภูเขา เพื่อเตรียมรับลมจากทางตะวันตกเฉียงเหนือในฤดูหนาว แต่ด้วยวิธีการออกแบบบ้านอย่างเข้าใจบริบท ทำให้ในฤดูหนาว ลมเหนือที่หนาวเย็นจะถูกปิดกั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังช่วยให้อากาศถ่ายเทตามธรรมชาติได้

ตกแต่งบ้านสบายๆ ในชั้นล่าง

ห้องนั่งเล่นชั้นล่างประตูกระจกโปร่งใส

ภายในบ้านดูธรรมดาและเป็นธรรมชาติ ด้วยวัสดุหลักทำจากไม้ ตัดกับผนังโทนสีขาวที่เป็นเสมือนฉากหลังของบ้าน ประตูบานเป็นบานเลื่อนติดกระจกใส เปิดรับกระแสลมที่พาดผ่านทุ่งนาเข้ามาเติมความเย็นสบายในบ้านได้ทั้งวัน ความหอมของกลิ่นดิน ต้นข้าว ความสดชื่นจากน้ำ วิวท้องนา ท้องฟ้า ชวนให้ผ่อนคลาย เหมาะกับการเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ให้สัมผัสกับสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นอย่างงดงาม

ผ้าม่านสีขาวน่ารักอบอุ่น

หลังคาจั่วตีฝ้าตามแนวหลังคา

บ้านมีบางส่วนที่เจาะเพดานขึ้นไปเชื่อมต่อกับชั้นใต้หลังคาในแนวตั้ง ซึ่งจะมีข้อดีตรงที่ทำให้คนที่อยู่ชั้นบนกับชั้นล่างยังสามารถมองเห็นและสื่อสารกันได้ง่ายๆ การเปิดช่องว่างยังทำให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและไหลออกไปตามช่องเปิดบนหลังคาที่สร้างเอาไว้รับกัน บ้านจึงมีอากาศใหม่ไหลเวียนแข้าและออกตามกระบวนการธรรมชาติตลอดเวลา

ระเบียงทางเดินบนชั้นสอง

ช่องแสงบนหลังคาเปิดปิดได้

ช่องเปิดขนาดใหญ่บนผนังคา ซึ่งจริงๆ แล้วตรงนี้เป็นเหมือนระเบียงบ้านให้ออกมานั่งชมวิวได้ ด้านในมีบานเลื่อนกระจกที่สามารถเปิดและปิดได้อย่างยืดหยุ่นตามสถานการณ์ อาจจะดูแปลกที่อยู่ ๆ บนหลังคามีช่องว่าง แต่ทุกปัญหาที่คาดว่าจะเกิดไม่ว่าจะเป็นการรั่วซึมหรือฝนสาด สถาปนิกได้ทำการศึกษา คิดคำนวณ และเตรียมรับมามาแล้วอย่างดี

โถงบันไดขนาบด้วยทางเดิน

ห้องใต้หลังคา

ชั้นบนมีส่วนของห้องเก็บเสื้อผ้า มุมอ่านหนังสือ แบ่งพื้นที่หนึ่งเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ วางอุปกรณ์สำหรับงานหัตกรรมที่คุ้นเคยตั้งแต่เจเนอเรชันก่อน ๆ ทำให้รู้สึกว่ายังได้สืบสานต่อภูมิปัญญา แม้ว่าแทบจะไม่มีใครใช้แล้วก็ตาม

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : Shou sugi ban หรือ Yakisugi เป็นวิธีการถนอมไม้แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมของญี่ปุ่น วิธีการคือ นำไม้ซีดาร์ (ซึ่งจะมีคุณสมบัติทนทานใช้งานภายนอกได้อยู่แล้ว) การเผาผิวไม้ด้วยเปลวไฟ ให้กลายเป็นสีดำเหมือนถ่าน เพื่อให้เปลงไฟสร้างการเปลี่ยนแปลงสภาพและสารเคมีภายในไม้  ผลที่ได้คือเนื้อไม้มีคุณสมบัติที่แข็งแรง แกร่ง ทนทานสภาพอากาศได้มากขึ้น และที่สำคัญคือเทคนิคเผาไฟบนผิวหน้าไม้แบบนี้ ช่วยให้ไม้ทนไฟได้นานขึ้น เพราะไม้ที่เคยผ่านการเผามาแล้วเมื่อเจอไฟจะทำให้ติดช้าลงกว่าเดิมนั่นเอง

แปลนบ้าน

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด