เมนู

บ้านยกใต้ถุนสูง หนีน้ำท่วม สวยอบอวลด้วยความร่วมสมัย

บ้านยกพื้น ป้องกันน้ำท่วม

Contemporary House

น้ำท่วมไม่ได้มีแค่เมืองไทย ในออสเตรเลียก็มีบางโซนที่เสี่ยงกับอุทกภัยเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นบ้านบางหลังยกพื้นสูงเหมือนบ้านในไทย อย่างบ้านนี้ในย่านชานเมืองของบริสเบนที่ภูมิประเทศเป็นเนินเขาของแพดดิงตัน ทำให้มีน้ำไหลหลากลงลำธารปริมาณมากในสภาพอากาศที่ฝนตก ซึ่งไซต์นี้อยู่คร่อมจุดต่ำจุดหนึ่งที่น้ำต้องไหลผ่านพอดี โดยกฎระเบียบชุมชนจะมีเขตยกเว้นที่กำหนดไว้สำหรับการก่อสร้าง อย่างการระบายน้ำบนผิวดิน การท่อระบายน้ำใต้ดิน และการเปิดพื้นที่ให้น้ำไหลผ่านลงระบบระบาย เจ้าของบ้านจึงใช้วิธีการยกระดับพื้นที่อยู่อาศัยขึ้นให้ตัวบ้านไม่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำ

ออกแบบJellway
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านร่วมสมัยยกสูงสีขาว

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ครั้งแรกที่ได้เห็นอาคารนี้ทำให้นึกถึงบ้านร่วมสมัยในแถบบ้านเรา ที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วลักษณะสถาปัตยกรรมก็ได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านแถบเอเชียจริง ๆ ในช่วงต้นปี 2560 ก่อนเริ่มโครงการนี้ สถาปนิกได้เดินทางไปปีนัง เกาะเล็กนอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ซึ่งเจ้าของบ้าน Boon & Sarah เติบโตและเรียนที่นี่ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการสรุปแบบบ้านของพวกเขา โดยสถาปนิกออกแบบบ้านออกเป็น 3 ส่วนต่อเชื่อมกันเป็นรูปร่างตัว U โครงสร้างแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็นกล่องขนาด 3.6 ม. มีเสาเหล็กในแต่ละมุมที่ยกตัวบ้านขึ้นเหนือพื้นดินในระดับต่างๆ ผนังภายนอกบ้านเลือกสีขาวตกแต่งระแนง ดูเรียบง่ายถ่อมตัวในพื้นที่ 136 ตร.ม.

บ้านถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนตามความยาวของที่ดิน พื้นยกสูงทำให้เหมือนกระท่อมสมัยก่อนสงครามหลายหลังในเมือง การแยกตัวจากกันนี้ทำให้เกิดช่องว่างในการรับกระแสลม แสงอาทิตย์ได้ลึกลงไปในแต่ละส่วนของบ้าน และสามารถจับภาพวิวจากมุมมองที่หลากหลาย

บ้านยกสูงสีขาวระแบียงติดระแนง

หลังคาเป็นทรงปั้นหยาคล้ายพีระมิด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับบ้านในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งปกติจะเป็นข้อกำหนดทางสถาปัตยกรรมให้บ้านในชุมชนต้องไปในทิศทางเดียวกันนั่นเอง สำหรับจุดสูงสุดของแต่ละหลังคาในบ้านนี้หากมองจากด้านบนจะเห็นว่ามีช่องแสงสกายไลท์ที่ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบอัตโนมัติ การเปิดและปิดเพื่อระบายอากาศร้อนและรับลมผ่านหน้าต่างรอบ ๆ ที่ออกแบบบไว้ในขนาดต่างๆ ให้บ้านเปิดรับแสง ลม และวิว

พื้นที่ใช้งานนั่งเล่นใต้ถุนบ้าน

ชานเล็ก ๆ ก่อนเข้าบ้าน

พื้นที่ด้านล่างของบ้านได้หลากหลายฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็นใช้เป็นที่จอดรถหรือพื้นที่นั่งเล่น ทานขนมพร้อมชมวิวหน้าบ้าน หรือทักทายเพื่อนบ้าน เมื่อก้าวลงไปที่สนามหลังบ้านด้านล่างจะสร้างการเชื่อมต่อที่มองเห็นได้จากศูนย์กลางของบ้าน เมื่อเดินขึ้นบันไดไปจะนำไปสู่ประตูทางเข้าบ้านออกแบบเป็นบานสไลด์แบบ pocket door ซ่อนอยู่ข้าง ๆ ดูเผิน ๆ เหมือนเป็นผนังที่ทำให้บ้านดูปลอดภัยและน่าสนุก

ประตูสไลด์ pocket door

บันไดเล่นระดับช่องแสงระดับสายตา

เมื่อเข้าสู่ภายในจะพบกับพื้นบ้านที่ปูด้วยไม้สีน้ำตาลเข้มสวย มุมนั่งเล่นวางโซฟาสไตล์ร่วมสมัยเอาไว้ให้พักสลาย ๆ หลังกลับมา ในมุมนี้เราจะเห็นความน่าสนใจหลาย ๆ อย่าง ทั้งการเล่นระดับพื้นที่บ้านมีบันไดเล็ก ๆ นำทางขึ้นไป ช่องแสงที่ติดตั้งอยู่ในระดับสายตาเวลานั่ง และประตูที่เลือกเลื่อนเปิดผนังได้เต็มความกว้าง ทำให้เห็นมุมมองช่วงครัวที่เชื่อมต่อทิวทัศน์ของต้นไม้ใหญ่ดอกสีส้มสดได้เต็มที่

ผนังกระจกยาวตลอดแนวผนัง

ครัวและห้องทานข้าวโทนสีน้ำตาลดำ

พื้นที่ครัวขนาดกะทัดรัดถูกจัดให้ต่อเนื่องมาจากมุมนั่งเล่นโดยไม่มีผนังแบ่งกั้น โทนสีที่เลือกใช้เป็นสีเทาและงานไม้แท้สีน้ำตาลเข้ม ตัดเส้นสายตาด้วยสีดำ ทำให้บริเวณนี้ดูคมเข้มคนละอารมณ์กับผนังสีขาวนอกบ้าน

ครัวโทนสีน้ำตาล เทา ดำ

บ้านอบอุ่นด้วยแสงธรรมชาติ

ผนังบานเกล็ดฝ้า

ในบ้านนี้เราจะเห็นการใช้ประตู หน้าต่าง ช่องแสง หลาย ๆ รูปแบบที่ทำให้บ้านรับความสว่างและลมพร้อมเติมมิติของแสงเงาได้อย่างน่าสนใจ อาทิ ประตูบานเลื่อนทึบแบบ pocket door ประตูบานเลื่อนกระจก หน้าต่างบานเกล็ด หน้าต่างม่านเลื่อนขึ้นลงได้ ช่องแสงในระดับสายตา และ Skyight

ห้องน้ำโทนสีขาวมี skylight

ห้องนอนต่อเชื่อมกับสวน

ส่วนที่เป็น private ของบ้านอย่างห้องนอนและห้องน้ำจะวางที่ระดับสูงสุดบนไซต์ จุดที่น่าสนใจในท่ามกลางดีไซน์และวัสดุง่าย ๆ คือ หน้าต่างที่เป็นบานเลื่อนทึบแบบกำหนดเองที่เลื่อนผ่านแผงกระจกที่มีพื้นผิวฝ้าด้านล่าง เจ้าของห้องสามารถเลือกระดับของความเป็นส่วนตัวได้เองด้วยกลไกการเลื่อนแผงขึ้นและลง หน้าต่างแบบนี้ช่วยให้ห้องนอนแต่ละห้องรู้สึกเหมือนระเบียงเมื่อเปิดออก ในเวลากลางวันแสงอาทิตย์ระยิบระยับภายนอกจะส่องเข้ามาในห้องผ่านภูมิทัศน์สวน แล้วตกกระทบกับพื้นผิวกระจกด้านล่าง ส่วนเวลากลางคืนแสงไฟจากสวนจะทะลุผ่านกระจกเข้ามา ยิ่งทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความเพลิดเพลินผ่อนคลายชวนให้นอนสบาย

ผนังห้องเลื่อนเป็นม่านได้

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ข้อดีของการออกแบบบ้านรูปทรงตัว U คือ ทุกห้องจะมีมุมมองเห็นซึ่งกันและกัน พื้นที่ว่างตรงกลางทำหน้าที่ดักลมและแสงธรรมชาติให้กระจายในตัวบ้านได้ง่าย พื้นที่กลางแจ้งส่วนกลางใช้จัดสวน ทำสระว่ายน้ำ ให้บ้านมีโซนกิจกรรมร่วมกัน ส่วนบ้านที่มีใต้ถุนบ้านจะช่วยให้ลมผ่านลดความชื้นใต้อาคารใด้ดี สามารถป้องกันน้ำท่วมถึงตัวบ้าน ใต้ถุนที่สูงจะมีพื้นที่ใช้งานข้างใต้เป็นโรงจอดรถหรือพื้นที่นั่งเล่นเย็น ๆ ได้อีกด้วย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด