เมนู

อาคารร้างเราไม่ทิ้ง ปรับดีไซน์กลายเป็นห้องสมุดให้ชุมชน

ห้องสมุดชุมชน

ห้องสมุดชุมชนจากอาคารร้าง

“ห้องสมุด” ใครลืมสิ่งนี้ไปแล้วบ้างครับ ถ้าเป็นสมัยก่อนเราจะคุ้นเคยว่าห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ ที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักจะเข้าไปนั่งเลือกมุมเงียบๆ อ่านหนังสือกันได้ทั้งวัน แต่ในโลกที่แทบทุกคนมีโทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งให้ความรู้ออนไลน์ที่ทันสมัย รวดเร็ว และมีขุมทรัพย์ความรู้ที่มหาศาล ทำให้ห้องสมุดมีผู้ใช้บริการน้อยลงไปทุกที แต่ที่ประเทศจีนยังมีให้เห็นอยู่ในหลายแห่งครับ โดยเฉพาะจุดที่เป็นชนบทค่อนข้างห่างไกลเทคโนโลยี เนื้อหานี้พาไปชมห้องสมุดที่ปรับปรุงจากอาคารเก่า แต่ดีไซน์ออกมาได้น่าประทับใจ เหมือนงานศิลป์ตั้งแสดงกลางธรรมชาติเลยครับ

ออกแบบ : Atelier XI
ภาพถ่ายzhang chao
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

ห้องสมุดสไตล์โมเดิร์นจากอาคารเก่า

สตูดิโอสถาปัตยกรรมจีน Atelier Xi ได้สร้างห้องสมุดในมณฑลเหอหนาน สำหรับหน่วยงานเทศบาลในชนบท Xiuwu County เสร็จสมบูรณ์ โดยมีจุดโดดเด่นที่ปริมาตรคอนกรีตโค้งเหมือนคลื่น โผล่ออกมาจากซากปรักหักพังของอาคารเก่าที่ถูกทิ้งร้าง ในตอนแรกสถาปนิกได้รับโจทย์ให้ออกแบบอาคารสาธารณะขนาด 300 ตารางเมตร สำหรับการศึกษาด้านวัฒนธรรมและศิลปะของเทศมณฑล อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงพื้นที่ให้บริการที่กว้างและความยากลำบากในการเดินทาง ทีมงานจึงเสนอข้อเสนอให้แบ่งอาคารออกเป็นชุดอาคารขนาดเล็กในที่ต่าง ๆ เพื่อให้บริการชุมชนท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น

ห้องสมุดดีไซน์โมเดิร์น

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ปรับปรุงอาคารเก่าเป็นห้องสมุด

ห้องสมุดคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น

อาคารแต่ละหลังในซีรีส์จะสร้างขึ้นโดยใช้คอนกรีตหล่อในที่ และมีรูปแบบออร์แกนิคส์สไตล์ที่ตั้งใจสะท้อนสภาพแวดล้อมที่อาคารนั้น ๆ ตั้งอยู่ สำหรับอาคารห้องสมุดนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน Sunyao Old Village ซึ่งเป็นชุมชนบนภูเขาที่เคยอาศัยในถ้ำและอาคารที่ทำจากอิฐฉาบโคลน แต่หมู่บ้านค่อยๆ ถูกทิ้งร้างตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 เนื่องจากประชากรย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในบริเวณใกล้เคียง สถาปนิกจึงเลือกสร้างบทสนทนาระหว่างของใหม่และชิ้นส่วนที่มีอยู่แล้ว เช่น ประตูไม้ ซุ้มหน้าต่าง ผนัง ส่วนที่เติมเข้าไปที่ชั้นบนเป็นผนังและหลังคาคอนกรีตรูปทรงลูกคลื่นก่อตัวเป็นดาดฟ้ากลางแจ้งอย่างเป็นธรรมชาติ เลียนแบบภูมิประเทศและภูเขาอันไกลโพ้น ในขณะเดียวกัน เส้นโค้งส่วนที่ตัดผ่านผนังส่วนที่เหลือจะเชื่อมต่อทางเข้าชั้นหนึ่ง เฉลียง และชั้นดาดฟ้า

ผนังและเพดานโค้งๆ

สถาปนิกพยายามใช้วัสดุและสร้างบรรยากาศที่นำเสนอความทรงจำ ทำให้ผู้คนนึกถึงมรดกของสถานที่ไปพร้อมกัน แต่ทีมพบว่าไม่มีช่างฝีมือที่มีทักษะแบบดั้งเดิมที่จำเป็นในการทำกำแพงดินอัด อาคารนี้จึงต้องใช้คอนกรีตแทนในหลายๆ ส่วน และทำเส้นโค้งรวมกับผนังดินเดิมเชื่อมต่อภาพที่อยู่อาศัยในถ้ำ เนินเขาที่แห้งแล้ง ที่เต็มไปด้วยร่องรอยของกาลเวลา ในทางกลับกัน มันกลายเป็นพื้นที่ประติมากรรมแบบนามธรรมที่เหมือนเติบโตจากพื้นดินและสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า เป็น “วิธีการใหม่เพื่อให้โครงสร้างใหม่เติบโตขึ้นจากซากปรักหักพังเก่า”

ช่องเปิดและช่องแสงในอาคาร

บันไดกรุไม้

ภายในอาคาร ชั้นล่างขนาดกะทัดรัดสามารถใช้เป็นห้องฉายภาพและพื้นที่อ่านหนังสือ โดยมีชั้นวางหนังสือและม้านั่งรวมอยู่ด้วยกันเชื่อมต่อกับบันไดโค้ง ๆ เหมือนอัฒจันทร์นำทางขึ้นไปห้องดื่มชาเหนือห้องอ่านหนังสือชั้นล่าง

บันไดบนหลังคาเหมือนกำแพงเมืองจีน

บนหลังคาที่ออกแบบให้เป็นรูปคลื่นเส้นโค้ง มีบันไดทางเดินขึ้นไปชมวิวมุมสูงคล้ายกำแพงเมืองจีนย่อส่วน ความโค้งชันของพื้นที่ยังเป็นสไลเดอร์สำหรับเด็กโดยธรรมชาติ ให้ผู้มาเยือนตัวเล็กได้สนุกกับตัวอาคารได้อย่างเต็มที่ตั้งแต่ฐานล่างจนถึงหลังคา

ห้องสมุดสไตล์โมเดิร์นห้องสมุดสไตล์โมเดิร์น

ปริมาณคอนกรีตที่ยื่นออกมาตัดกับผนังดิน เป็นกรอบสี่เหลี่ยมที่มองเห็นภูมิประเทศได้จากภายใน ผ่านช่องเปิดขนาดใหญ่เต็มความสูงที่ปลายทั้งสองด้าน

ผนังคอนกีตโตชค้งๆ เจาะช่องแสงสวยๆ

รูปทรงที่ลื่นไหลของอาคารช่วยเสริมรูปแบบธรรมชาติของต้นไม้และภูมิทัศน์โดยรอบ มุมหนึ่งของผนังเดิมนำทางผู้เข้าชมไปยังสวนหินกรวดที่ด้านหลังของอาคาร ซึ่งหันหน้าเข้าหาหน้าผาที่อยู่ติดกันและที่อยู่อาศัยในถ้ำที่ดูเหมือนเป็นกระจกส่องสะท้อนกันและกัน ทางเข้าประตูเดิมกลายเป็นทางเข้าใหม่ซึ่งทำเครื่องหมายด้วยปริมาตรคอนกรีตสี่เหลี่ยมที่ยื่นออกมาเหมือนกล่องตัดกับกำแพงดินที่มีอยู่ บนผนังคอนกรีตยังมีช่องเจาะขนาดเล็กที่มีรูปร่างเหมือนบูมเมอแรงให้มิติของแสงเงาตกกระทบแปลกตาในตอนกลางวัน และเปล่งประกายสร้างฉากหลังด้วยแสงระยิบระยับตลอดทั้งคืน

มิติของแสงเงาผ่านช่องเปิดสวยๆ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การปรับปรุงรีโนเวทอาคารหรือบ้าน หากปรับปรุงเบา ๆ เช่น ทาสีบ้าน ซ่อมแซมจุดที่สึกหรอ การปรับปรุงลักษณะนี้จะไม่ยุ่งยาก เจ้าของบ้านสามารถเรียกช่างฝีมือเฉพาะทางมาดำเนินการได้ทันที หรือหากใครพอจะมีทักษะด้านช่างก็สามารถทำเองได้ แต่หากเป็นการปรับปรุงใหญ่ ที่มีการรื้อถอนหรือขยายเพิ่มพื้นที่ใช้สอย มีการปรับเปลี่ยนโฉมบ้านใหม่ ลักษณะนี้จะต้องมีสถาปนิกช่วยดูความเหมาะสมด้านดีไซน์ และจำเป็นต้องมีวิศวกรตรวจสอบโครงสร้างด้วยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและเทคนิคมาช่วย เพื่อให้ยังคงคุณค่าภูมิปัญญาดั้งเดิมเอาไว้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงซ่อมแซม

แปลนอาคาร

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด รีโนเวทบ้าน


โพสต์ล่าสุด